svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

วิจัยโปรตีนในยางคึกคัก! กยท.หนุน ม.อ.ตั้งศูนย์ศึกษา

27 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์ใต้ - นักวิชาการ-เกษตรกร-ผู้ประกอบการยางพารา เปิดเวทีระดมความคิด "การแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ" ทางออกหนุนการใช้ยางธรรมชาติ พร้อมขับเคลื่อนในด้านวิจัยยางพาราให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

27 พฤศจิกายน 2563  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่  24 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานี มีการสัมมนา เรื่อง "การแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ ทางออกเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยางธรรมชาติ" จัดโดยการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)โดยมี นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 155 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้ประกอบกิจการยางพารา ผู้นำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงเจ้าหน้าที่ กยท.และสื่อมวลชน            นายประพันธ์ บุณยเกียรติ กล่าวว่า วันนี้ถือว่าเป็นเวทีแรก เป็นครั้งแรกที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กยท. หรือนักวิชาการที่มีองค์ความรู้ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับยางพารา ตัวแทนเกษตรกร รวมถึงเจ้าหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการยาง ได้มาร่วมกันระดมความคิด แบ่งปันข้อเสนอในเรื่องของโปรตีนยางพารา ทุกท่านคงจะทราบดีว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก ประชากรในโลกนี้ เลี้ยงปากท้องด้วยยางพารามากกว่า 30 ล้านคน ขณะที่คนไทยหล่อเลี้ยงด้วยยางพารา 10 ล้านคน

วิจัยโปรตีนในยางคึกคัก! กยท.หนุน ม.อ.ตั้งศูนย์ศึกษา


ดังนั้น พวกเราทุกคนล้วนแต่เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยกันหาทางออก เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของยางทางการแพทย์ นั่นหมายรวมถึงถุงมือยางด้วย "วันนี้องค์ความรู้ของเราในปัจจุบัน สามารถที่จะทำยางพาราโปรตีนต่ำ ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ได้แล้ว" 

วิจัยโปรตีนในยางคึกคัก! กยท.หนุน ม.อ.ตั้งศูนย์ศึกษา

             

นายประพันธ์ กล่าว และว่า   ดังนั้น เราจะใช้เวทีในวันนี้ในการเริ่มสตาร์ทที่จะนำองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโปรตีนต่ำในยางธรรมชาติ เก็บรวบรวมองค์ความรู้นี้ไปสื่อสารในระดับนานาชาติในอนาคตการจัดงานในวันนี้ได้เนื้อหามากมายจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับยางพารา เกษตกร 10 ล้านคนที่ต้องพึ่งพิงยางพารา ฉะนั้นพวกเราช่วยกันขับเคลื่อนเช่นเดียวกับวันนี้ เชื่อว่าใน 3-5 ปี เรื่องของยางพาราต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน              ในงานมีการบรรยาย "แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจยางพาราที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดย นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการต่อด้วยการเสวนา "การแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ ทางออกเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยางธรรมชาติ" ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย มีผู้ร่วมรายการคือ นายเดชา มีสวน อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษสมาคมน้ำยางข้นไทย  ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ รศ.ดร.อาซีซัน แกสมาน ผู้อํานวยการสํานักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิจัยโปรตีนในยางคึกคัก! กยท.หนุน ม.อ.ตั้งศูนย์ศึกษา


              อีกหนึ่งหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือเรื่องการวิพากษ์อนาคตเทคโนโลยียางพาราด้วยเทคนิค Patent Landscape โดย ผศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายธิปไตย ศรีนวลขาว นักทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์              

วิจัยโปรตีนในยางคึกคัก! กยท.หนุน ม.อ.ตั้งศูนย์ศึกษา

ต่อมา 25 พฤศจิกายน  2563 มีการจัดประชุมในหัวข้อ พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมระหว่าง ม.อ. และกยท. ในการก่อตั้ง "ศูนย์การศึกษาการแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ" มีผู้เข้าร่วมทั้งในส่วนเจ้าหน้าที่กยท. นักวิจัยและนักวิชาการ ม.อ. จากทุกวิทยาเขต ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี              รศ.ดร.เจริญ  นาคะสรรค์ กล่าวว่า ในช่วงเช้าของวันแรกได้พูดถึงการที่จะทำให้เรื่องของการแพ้โปรตีนมี "ความชัดเจน" และได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ช่วงบ่ายมีการบรรยายตั้งแต่เรื่องการแพ้โปรตีน การค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สุดท้ายมาจบที่การจดสิทธิบัตร ซึ่งตนได้มีโอกาสได้ฟังเป็นครั้งแรกเหมือนกัน เนื่องจากการที่จะเข้าสู่ข้อมูลพวกนี้จะมีมูลค่าแพง               ในวันที่สองภาคนักวิชาการต้องเดินไปต่อ เราต้องมาเขียนเป้าหมายกันให้ชัดเจนว่า เราจะรวมกับกยท.ในรูปไหนอย่างไร เพื่อจะช่วยเหลือ ดูแล สนับสนุน ความเข้มแข็งของการทำงานในการพัฒนาเรื่องของการแพ้โปรตีนเป็นอย่างแรกก่อน เพราะเป้าหมายคือ ทำยังไงให้มีการใช้ผลิตภัฑณ์ถุงมือยางพาราธรรมชาติมากขึ้น

วิจัยโปรตีนในยางคึกคัก! กยท.หนุน ม.อ.ตั้งศูนย์ศึกษา

            "ข้อสรุปจากที่ประชุมในวันนี้ ทั้งกยท. และ ม.อ. จะร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกยท. และนโยบายของประธานบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย คุณประพันธ์ บุณยเกียรติ ที่จะให้การใช้ยางพารามากขึ้นไป"            รศ.ดร.เจริญ กล่าว และว่าสิ่งแรกคือ การค้นหาสายพันธุ์ยางพาราที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และมีความเสี่ยงที่ต่ำที่สุดหรืออาจจะไม่มี ซึ่งทางกยท. ได้สะสมสายพันธุ์ยางไว้แล้วกว่า 40 สายพันธุ์ นักวิจัยจะนำไปวิเคราะห์ว่าสายพันธุ์ใดที่มีโปรตีนที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ในลักษณะไหน อย่างไร และจะทำการวิจัยในทุกรูปแบบ              นอกจากเรื่องโปรตีนของการแพ้แล้ว จะดูเรื่องของการแปรรูป คุณสมบัติต่างๆ ทั้งจากตัวของยางและจากส่วนประกอบที่ไม่ใช่ยาง โดยนักวิจัยจะแบ่งกลุ่ม ไปปฏิบัติงานตามความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ตนเองถนัด และจะร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยต่อไป             โดยในที่ประชุม นักวิชาการ ม.อ. ทั้ง 5 วิทยาเขตได้ร่วมกันเสนอหัวข้อวิจัยต่างๆ พร้อมแผนการทำงาน ต่อที่ประชุม ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ กยท.ก็ได้ร่วมให้ข้อมูล รวมถึงแหล่งค้นคว้าวิจัยต่างๆ ซึ่ง รศ.ดร.เจริญ จะนำข้อสรุปที่ได้ไปเสนอคณะกรรมการการยางพาราแห่งประเทศไทย เพื่ออนุมัติงบประมาณมาพัฒนางานวิจัยตามเป้าหมายการจัดงานต่อไป              รศ.ดร.เจริญ กล่าวด้วยว่า การสัมมนาครั้งนี้ ได้การตอบรับที่ดีมากในแง่ของความตื่นตัวพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการทั้งจากองค์กรภาครัฐและเอกชน และหากโครงการดังกล่าวบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลไปสู่ประชาชน เกษตรกรชาวสวนยาง อุตสาหกรรมยางพาราและประเทศไทยได้อย่างมากมาย

วิจัยโปรตีนในยางคึกคัก! กยท.หนุน ม.อ.ตั้งศูนย์ศึกษา



logoline