svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สงสัยไทยปล่อยนักโทษอิหร่านช่วยออสเตรเลีย

26 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เจ้าหน้าที่ไทยเปิดเผยในวันนี้ ( 25 พฤศจิกายน ) ว่าทางการไทยอนุมัติเรื่องการส่งกลับไปยังกรุงเตหะราน ชาวอิหร่าน 3 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการวางระเบิดเมื่อปี 2555 ที่ไม่สมบูรณ์ในกรุงเทพมหานคร แต่การปล่อยตัวเกิดขึ้นในช่วงที่อิหร่าน ปล่อยตัวนักวิชาการสาวชาวออสเตรเลียวัย 33 ปีซึ่งถูกจำคุกในอิหร่านมานานกว่า 2 ปีในข้อหาเป็นสายลับ

แต่เจ้าหน้าที่ของไทยไม่ได้เปิดเผยถึงขั้นที่เรียกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนนักโทษ หรือบอกว่าออสเตรเลียมีส่วนเกี่ยวข้องในข้อตกลงเรื่องนี้ด้วย แต่สถานีโทรทัศน์ของรัฐอิหร่านระบุว่าเตหะรานปล่อยตัวไคลี มัวร์ - กิลเบิร์ต ชาวออสเตรเลียเชื้อสายเพื่อแลกเปลี่ยนกับชาวอิหร่าน 3 คนที่อยู่ในต่างประเทศ
นายชัชชม อรรฆภิญญ์ รองอัยการสูงสุด เปิดเผยกับทางสำนักข่าวเอพีว่าทางการไทยได้อนุมัติการโอนนักโทษภายใต้ข้อตกลงกับอิหร่าน " การโอนประเภทนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เราโอนนักโทษไปยังประเทศอื่นและในขณะเดียวกันก็รับคนไทยกลับมาภายใต้ข้อตกลงประเภทนี้ตลอดเวลา"
ส่วนที่ในออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสัน บอกว่าเขา" ตื่นเต้นและโล่งใจ" ที่มัวร์ - กิลเบิร์ตได้รับการปล่อยตัว
ข้อมูลเที่ยวบินที่ AP ได้รับมาแสดงให้เห็นว่า เครื่องบินที่ถูกบันทึกภาพได้ที่สนามบินเตหะราน มีการบินในสัปดาห์นี้ 2 ครั้งจากกรุงเทพ ไปยังเตหะราน จากนั้นก็ไปยังกรุงโดฮา ของกาตาร์
หมายเลขบนหางของเครื่องบิน เชื่อมโยงกับสายการบินเอกชนของออสเตรเลียชื่อ Skytraders ซึ่งระบุถึงตัวเองว่าเป็น" ผู้ให้บริการทางอากาศหลักแก่รัฐบาล" ส่วนพนักงานของบริษัทปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นกับทาง AP
แผนการวางระเบิดของชาวอิหร่าน 3 คนถูกเปิดออกมาในปี 2555 เมื่อเกิดเหตุระเบิดโดยไม่ได้ตั้งใจที่บ้านพักในกรุงเทพที่พวกเขาพักอยู่ เจ้าหน้าที่อิสราเอลและไทยบอกว่าแผนการดังกล่าวมุ่งเป้าไปที่นักการทูตอิสราเอลในกรุงเทพ แม้ว่าอิหร่านจะปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และคนเหล่านี้ไม่เคยถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย
ชาย 2 คนคือ เซอิด โมราดี และ โมฮัมหมัด คาร์เซอี ถูกตัดสินในประเทศไทยว่ามีความผิดในปี 2556  นายโมราดีถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาพยายามฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนคาร์เซอี ถูกตัดสินจำคุก 15 ปีในข้อหาครอบครองวัตถุระเบิด
โมราดี ช่างเทคนิคประจำโรงงานจากเตหะรานและอดีตทหารสูญเสียขาทั้งสองข้างขณะพยายามหนีออกจากบ้านพักบนถนนที่แออัดในกรุงเทพ เขาถือวัตถุระเบิดจากบ้านและทิ้งไว้ที่ถนนขณะที่ตำรวจพยายามจะหยุดเขา
ส่วนผู้ต้องสงสัยคนที่ 3 มาซุด เซดากัตซาเดห์ ถูกควบคุมตัวในมาเลเซียในปี 2560 และศาลของรัฐบาลกลางที่นั่นได้สั่งให้ส่งตัวกลับมาประเทศไทย

สงสัยไทยปล่อยนักโทษอิหร่านช่วยออสเตรเลีย

ด้านเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลยังไม่มีความเห็นเกี่ยวกับข่าวการปล่อยตัวชาวอิหร่าน
รายงานข่าวของอิหร่านเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักโทษ มีรายละเอียดน้อยมาก โดยกล่าวเพียงว่าชาวอิหร่านที่ได้รับการแลกเปลี่ยน เป็นนักเคลื่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจ และถูกคุมขังเนื่องจากพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรที่กระทำอิหร่าน
ในภาพข่าวที่ระบุว่าเป็นนักโทษที่มีการแลกเปลี่ยนตัว ที่ได้เข้าพบกับรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของอิหร่าน นักโทษคนหนึ่งเห็นไม่ชัดว่ามีขา
ขณะที่มอร์ริสันบอกว่าเขาได้พูดคุยกับมัวร์ - กิลเบิร์ตเมื่อวันพฤหัสบดี และเมื่อถามเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษ มอร์ริสันบอกว่า เขา" จะไม่พูดในรายละเอียดเหล่านั้น รวมถึงการยืนยันข่าวในทางใดทางหนึ่ง " แต่บอกว่าเขาสามารถรับรองได้ว่าไม่มีการปล่อยตัวนักโทษในออสเตรเลีย

สงสัยไทยปล่อยนักโทษอิหร่านช่วยออสเตรเลีย

ในแถลงการณ์ มัวร์ - กิลเบิร์ต กล่าวขอบคุณรัฐบาลและนักการทูตของออสเตรเลียที่ปล่อยตัวเธอตลอดจนผู้สนับสนุนที่รณรงค์ให้เธอได้รับอิสรภาพ
มัวร์ - กิลเบิร์ตเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นด้านตะวันออกกลางศึกษา ตอนที่ถูกจับที่สนามบินเตหะรานขณะที่เธอพยายามเดินทางออกจากประเทศ หลังจากเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการในปี 2561 และถูกตัดสินว่าเป็นสายลับ และถูกลงโทษจำคุก 10 ปี เธอปฏิเสธข้อกล่าวหามาโดยตลอด
เธอเป็นหนึ่งในชาวตะวันตกหลายคนในอิหร่านที่เจอข้อหาจารกรรม ซึ่งนักเคลื่อนไหวและผู้สืบสวนของสหประชาชาติเชื่อว่าเป็นความพยายามอย่างเป็นระบบในการใช้ประโยชน์จากการจำคุก เพราะเงินหรือเพื่อการต่อรองในการเจรจากับชาติตะวันตก ซึ่งเตหะรานออกมาปฏิเสธเรื่องนี้ ขณะที่มัวร์ - กิลเบิร์ตเขียนจดหมายถึงมอร์ริสันว่าเธอถูกจำคุก เพื่อการ" รีดไถ" จากรัฐบาลออสเตรเลีย

สงสัยไทยปล่อยนักโทษอิหร่านช่วยออสเตรเลีย

logoline