svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เทียบโมเดลส.ส.ร."ฝ่ายค้าน-รัฐบาล"

19 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เทียบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ "ฝ่ายค้าน-รัฐบาล" หลังผ่านวาระแรก ความต่างที่มา ส.ส.ร.-ระยะเวลาร่าง รธน.ใหม่ รอวัดพลังวาระ 2-3 แบบไหนจะผ่านความเห็นสมาชิก

ย้อนกลับมาที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรนมูญ 2 ร่างที่ผ่านวาระ 1 มีสาระสำคัญแตกต่างกันอย่างชัดเจน และต้องมาปรับเนื้อหาให้เป็นร่างเดียวในวาระที่ 2 ก็คือ "ที่มาของ ส.ส.ร." ที่ร่างของรัฐบาลกำหนดให้มี ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งแบบ "รวมเขตเบอร์เดียว" โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ส่วนอีก 50 คนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ แยกเป็น

- จากการเลือกโดยรัฐสภา 20 คน

- จากการเลือกโดยที่ประชุมอธิการบดี 20 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ 10 คน และมีประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน

- จากตัวแทนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งเลือกกันเองเหลือ 10 คน

กรอบเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน จากนั้นส่งให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ หากรัฐสภาเห็นชอบ ก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญไปประกาศใช้ โดยไม่ต้องลงประชามติ แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบ จึงนำไปทำประชามติสอบถามประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

เทียบโมเดลส.ส.ร."ฝ่ายค้าน-รัฐบาล"


ส่วนร่างของฝ่ายค้าน กำหนดให้มี ส.ส.ร.จำนวน 200 คน จากการเลือกตั้งทั้งหมดในแบบ "รวมเขตเบอร์เดียว" โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ตั้งขึ้นมาต่างหาก โดย ส.ส.ร. ซึ่งจะเน้นผู้ที่มีความชำนาญในการเขียนกฎหมาย ส่วนเนื้อหาสาระและหลักการต่างๆ ต้องมาจาก ส.ส.ร.

กรอบเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญ ใช้เวลา 120 วัน จากนั้นให้นำไปทำประชามติ เมื่อผ่านประชามติแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าถวายฯ เพื่อประกาศใช้ต่อไป

รายละเอียดเหล่านี้มีความแตกต่างกัน ซึ่งคณะกรรมาธิการฯที่พิจารณาในวาระ 2 จะปรับเนื้อหาให้กลายเป็นร่างเดียว และนำไปโหวตรายมาตราในที่ประชุมใหญ่ของรัฐสภาอีกครั้ง ในวาระ 2-3


เทียบโมเดลส.ส.ร."ฝ่ายค้าน-รัฐบาล"

logoline