svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย

19 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

" เอสแอนด์พี"บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสหรัฐฯ ให้เครดิตประเทศไทย ที่ BBB+ ประเมินปัจจัย ทั้งหนี้รัฐบาล และสถานการณ์ทางการเมือง จะไม่ส่งผลกระทบไปถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ให้ความมั่นใจเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวใน 1-2 ปี

เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย






19 พฤศจิกายน 2563 นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัทสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส จำกัด หรือ เอสแอนด์พี ( S&P Global Ratings :S&P) จากสหรัฐ ซึ่งมีบทบาทกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย






1) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมอง ความน่าเชื่อถือ ของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) พิจารณา จากประเทศไทยมีความเข้มแข็งภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ หนี้รัฐบาลอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล และสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันไม่ส่งผลกระทบ อย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อีกทั้ง คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในช่วง 1 2 ปีข้างหน้า





เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย








2) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลัง อย่างรอบคอบ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง แม้ว่าการดำเนินนโยบายการคลังผ่านมาตรการต่างๆของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะทำให้การขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 2564 และหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่ส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการคลัง





3) เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตในระยะปานกลางได้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นร้อยละ 6.2 เป็นผลจากการภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ อีกทั้ง รัฐบาลยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และยังส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Public Private Partnership) เพื่อลดความเสี่ยงทางการคลังของรัฐบาลให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ






เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย







4) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สภาพคล่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง โดย S&P คาดว่าสภาพคล่องต่างประเทศ (External liquidity) ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับคงที่และไม่น่ากังวล นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพด้านราคา เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ




อย่างไรก็ตามประเด็นที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายนี้ กำลังให้ความสนใจ และติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง และเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง







เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย









เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย







สำหรับ อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ (Sovereign Credit Rating) คือ ความสามารถในการชําระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้ตรงตามกําหนดเวลา ซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือนี้ จะถูกกําหนดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยหลักสองประการ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจซึ่งจะบ่งบอกถึงความสามารถในการชําระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยและปัจจัยทางการเมืองซึ่งจะบ่งบอกถึงความเต็มใจ (Willingness) ในการชําระคืนหนี้เมื่อถึงกําหนดเวลาชําระคืน





เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย








อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงทางเครดิตที่นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลประเภทต่าง ๆ โดยเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ว่าจะสามารถชําระหนี้ได้เต็มจํานวนและภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือไม่ มีความเสี่ยงในการผิดนัดชําระหนี้ (Credit Default) หรือไม่และอย่างไร โดยอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศที่ดี จะช่วยลดต้นทุนดอกเบี้ยในการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ ยิ่งอันดับความน่าเชื่อถือสูง ต้นทุนในการออกตราสารหนี้รัฐบาลก็จะยิ่งต่ําลง จึงถือได้ว่าอันดับความน่าเชื่อถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการระดมทุนในตลาดเงินทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ




นอกจากนี้อันดับความน่าเชื่อถือยังสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองด้านเสถียรภาพและความโปร่งใสของฐานะการเงินการคลังของรัฐบาล ตลอดจนการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศในภาพรวม ประกอบกับสามารถนํามาเป็นดัชนีอ้างอิงหรือเป็นมาตรฐาน (Benchmark) สําหรับการพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้และตราสารหนี้ของภาคเอกชนได้อีกด้วย






เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย











ประเทศไทยได้ดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2530 โดยให้สถาบันJapan Bond Research Institute ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Rating and Investment Information, Inc.เป็นผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นรายแรก ต่อมาในปี2532 กระทรวงการคลังได้ให้บริษัท Moodys InvestorsService (Moodys) และ Standard and Poors (S&Ps) ซึ่งเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของประเทศ


เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ดําเนินการโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพื่อรองรับการขยายฐานการระดมทุนสู่นักลงทุนในตลาดเงินทุนสหรัฐอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดทุนรายใหญ่ของโลก หลังจากนั้นจึงได้จ้างบริษัท Fitch Ratings (Fitch)ซึ่งเป็นบริษัทจากทวีปยุโรปเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย เพื่อให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือมีการถ่วงดุลกันมากขึ้น






เอสแอนด์พีประเมินปัจจัยการเมืองไม่กระทบเศรษฐกิจไทย





logoline