svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

พาณิชย์ดันโมเดลข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก

17 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงพาณิชย์ งัดแผน "ส่งมอบข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก" หวังใช้เป็นต้นแบบผลักดันสินค้าจีไอรายการอื่นออกสู่ตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น เน้นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้า พร้อมเร่งการขึ้นทะเบียนจีไอในจีน มาเลเซีย

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า  กรมฯได้ลงพื้นที่แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จัดกิจกรรม "ส่งมอบข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก" เพื่อผลักดันให้สินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(จีไอ) เป็นสินค้าต้นแบบและเป็นสินค้าตัวอย่างที่สามารถขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศและจะผลักดันให้สินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจีไอ รายการอื่นๆเดินตามรอยขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นต่อไป

 



พาณิชย์ดันโมเดลข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก


ทั้งนี้ในการช่วยขยายตลาดต่างประเทศให้กับสินค้าข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ กรมฯได้ผลักดันให้มีการขึ้นทะเบียน จีไอในตลาดสหภาพยุโรป (อียู) สำเร็จแล้วทำให้ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สามารถส่งออกไปยังตลาดอียูได้เพิ่มขึ้นและกำลังอยู่ระหว่างการขอจดทะเบียนจีไอในจีนและมาเลเซียที่เป็นตลาดเป้าหมายในการขยายตลาดของไทยรวมทั้งกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำคำขอจดทะเบียนจีไอในอินโดนีเซียโดยคาดว่าจะยื่นคำขอได้ในปีหน้า

 






"ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นสินค้าจีไอ ที่มีศักยภาพและถือเป็นต้นแบบสินค้าจีไอที่เป็นที่ยอมรับถึงคุณภาพมาตรฐานมีชื่อเสียงไปไกลถึงสหภาพยุโรป ด้วยเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์มีความหอมที่โดดเด่นต่างจากข้าวชนิดเดียวกันที่ปลูกนอกพื้นที่อีกทั้งยังคำนึงถึงการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานสากลทำให้ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ยังคงรสชาติ ความหอมอร่อยถูกใจผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ หากรักษาคุณภาพตามมาตรฐานจีไอไว้ได้ก็จะทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการ และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น ซึ่งสินค้จีไอ อื่นๆก็เช่นเดียวกัน มีโอกาสที่จะขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ"นายวุฒิไกรกล่าว

 






นายสินสมุทร ศรีแสนปางผู้นำในการตั้งกลุ่มศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด กล่าวว่าการเปลี่ยนรูปแบบการทำนาจากวิถีดั้งเดิมที่ปลูกโดยการหว่าน จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ3035กิโลกรัมต่อไร่ มาเป็นรูปแบบการทำนาหยอดที่ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 4 กิโลกรัมต่อไร่ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 320 กิโลกรัม เป็น 600 กิโลกรัมโดยที่สินค้าดังกล่าวยังคงคุณภาพตามมาตรฐานจีไอ จึงเป็นการช่วยลดต้นทุนได้อย่างมากและสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรส่งผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยทางกลุ่มมีแผนที่จะขยายกลุ่มผู้ผลิตตามแนวทางนาหยอดให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชนต่อไป

logoline