svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"โคทม อารียา"แนะทางออกสมานฉันท์ ต้องเปิดกว้างรับฟังเหตุผล

12 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประธานมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม แนะการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อความปรองดอง ในการแก้ปัญหาการชุมนุม สิ่งสำคัญคือต้องมีความจริงใจ เปิดกว้างรับฟังเหตุผลของทุกฝ่าย

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 รศ.ดร.โคทม อารียา ประธานมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม ในฐานะอดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เปิดเผยถึงการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อความปรองดอ แก้ปัญหาการชุมนุม ว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่มีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ก็เกิดความขัดแย้ง และเกิดรัฐประหารขึ้นในขณะนั้นก็มีความสนใจเรื่องความปรองดอง ความสมานฉันท์
สุดท้ายก็มีคำสั่งหรือประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ เป็นคณะกรรมการชุดหนึ่ง โดยมีหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ ตั้งแต่บัดนั้น ตั้งแต่ปี 2550 จนกระทั่งถึงปัจจุบันปี 2563 คณะกรรมการสมานฉันท์ดังกล่าวก็ยังทำงานอยู่ทุกปี ก็จะมีกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นสร้าง จิตสำนึกความสมานฉันท์ในหมู่เยาวชน ผ่านการแสดงออกเชิงศิลปะและอื่นๆ

"โคทม อารียา"แนะทางออกสมานฉันท์ ต้องเปิดกว้างรับฟังเหตุผล


หลังจากนั้น ในการเลือกตั้ง ปี 2550 และ ปี 2553 เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีกครั้ง ระหว่างรัฐบาลซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คู่ขัดแย้งกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. นำไปสู่การสลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตนับร้อยคน และไม่มีความคืบหน้าในแง่คดี

"โคทม อารียา"แนะทางออกสมานฉันท์ ต้องเปิดกว้างรับฟังเหตุผล


จนกระทั่งมาถึงปี 2556 และ 2557 ความขัดแย้งครั้งใหม่ก็เกิดขึ้นของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า กลุ่มกปปส. และก็มีคณะหลายฝ่ายรวมกันอยู่ ก็ออกมาคัดค้านให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง สุดท้ายก็เกิดการยึดอำนาจรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช.) โดยให้หน่วยงานต่างๆ ทำโครงการ หลายหมื่นโครงการเพื่อความสมานฉันท์ โดยมุ่งเน้นว่าจะให้ความขัดแย้งของสีเสื้อให้จางลง
และในปี 2562 ก็มีการเลือกตั้ง ความขัดแย้งก็ยังเคลื่อนตัวและต่อเนื่องกัน เป็นความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจรัฐ กับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ จนกระทั่งมีการประชุมสภา สมัยวิสามัญ โดยมีข้อเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ 7 ฝ่าย โดยนายชวน หลีกภัย ได้รับไว้พิจารณา มอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้า ไปศึกษา และวันที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สถาบันพระปกเกล้าก็มีการเสนอคร่าวๆเป็น 2 โครงสร้าง
โครงสร้างที่ 1 คล้ายกับที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี นำเสนอ 7 ฝ่าย
โครงสร้างที่ 2 นำผู้มีประสบการณ์ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความขัดแย้งไม่มากนัก หรือไม่ค่อยเกี่ยวข้องเลยก็เป็นได้ เป็นบุคคลที่มีความเป็นธรรม นำผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้มาเป็นกรรมการปรองดอง เพื่อที่หาทางเสนอแนะต่อสังคม
ทั้งนี้ตนมองว่า ไม่ใช่รูปแบบที่ 1 หรือ 2 เพราะรูปแบบที่ 1 ก็ขาดองค์ประกอบ รูปแบบที่ 2 ไม่มีฝ่ายการเมือง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คงจะต้องมีด้วย แต่สิ่งสำคัญคือบทบาทหน้าที่ ฝ่ายการเมืองต้องมีส่วนเสริม ก็จะเป็นเรื่องการปรองดองสมานฉันท์ต่อปัญหา เพราะความปรองดองจะออกกฎหมายมาบังคับจะเป็นเรื่องที่ยาก ไม่ถึงใจของประชาชนของผู้เข้าร่วม

"โคทม อารียา"แนะทางออกสมานฉันท์ ต้องเปิดกว้างรับฟังเหตุผล


ดังนั้น การปรองดองต้องเน้นเรื่องใจ เปิดกว้างรับฟัง เคารพเหตุผลซึ่งกันและกัน ส่วนผลจะสำเร็จหรือไม่ ไม่สามารถคาดการณ์ก่อนได้ ตนเชื่อว่านายชวนจะดำเนินการได้ โดยความเห็นชอบโดยรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎรที่ตั้งขึ้นมา บุคคลที่เป็นองค์ประกอบมีใครบ้าง เอาจริงเอาจังมากน้อยแค่ไหน และถ้าเป็นคณะกรรมการปรองดองสิ่งที่สำคัญที่สุด คือความสามารถในการสื่อสารกับสังคม ต้องอาศัยสื่อมวลชนมาช่วย และดูเสียงสนับสนุนของสังคมว่ามากพอหรือไม่ ถ้าเสียงมากพอการทำงานก็ง่ายขึ้น ตรงจุดนี้จะค่อยๆเกิดการปรองดองทางออกของความขัดแย้งคือการพูดคุยกันจะเป็นทางออกที่ยั่งยืน

logoline