svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดข้อมูล‘แอมเนสตี้’ เอี่ยวม็อบฯ อย่างไร

11 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นกับชาวรัสเซีย ในห้วงการชุมนุมของม็อบราษฎร ที่พัทยา จ.ชลบุรี นั้น องค์กรหนึ่งที่ถูกเอ่ยชื่อขึ้นมาคือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย ซึ่งองค์กรดังกล่าวนั้นคืออะไร มีหน้าที่แบบไหนบ้าง เราไปทำความรู้จักกัน

จากข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ใน เมื่อพูดถึง องค์กรใหญ่อย่าง แอมเนสตี้ หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็น องค์การนิรโทษกรรมสากล(Amnesty International หรือ Amnesty หรือ AI) เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ "ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ"

สำหรับ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นั้นก่อตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. 1961 จากเหตุการณ์ที่นักศึกษาชาวโปรตุเกส 2 คน ชูแก้วของตนเองขึ้นดื่มเพื่ออวยพรแก่เสรีภาพ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทั้งสองโดนจำคุกนานกว่า 7 ปี เหตุการณ์นั้นทำให้ ปีเตอร์ เบนเนสัน (Peter Benenson) นักกฎหมายชาวอังกฤษ ถึงกับทนไม่ไหว จึงตัสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง


ปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนจดหมายถึงหนังสือพิมพ์อังกฤษ "The Observer" เรียกร้องให้มีการรณรงค์สากลเพื่อปกป้อง "นักโทษที่ถูกลืม" ซึ่งแนวคิดของเขา คือการกระตุ้นให้ประชาชนระดมกำลังกันส่งจดหมายประท้วงต่อผู้มีอำนาจทั่วโลก ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1961 หนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์บทความพิเศษเรื่องนักโทษผู้ถูกลืม ซึ่งเป็นการเริ่มการรณรงค์อันยาวนานเป็นปีของปีเตอร์ เบเนนสัน - คำอุทธรณ์เพื่อนิรโทษกรรมปี ค.ศ.1961

เปิดข้อมูล‘แอมเนสตี้’ เอี่ยวม็อบฯ อย่างไร

"นักโทษที่ถูกลืม"ได้เรียกร้องให้ผู้คนทั่วทุกหนทุกแห่งประท้วงโดยสงบและปราศจากอคติต่อการคุมขังชายและหญิงทั่วโลกอันเนื่องมาจากความเชื่อทางการเมืองหรือศาสนาของพวกเขาบทความพิเศษได้กล่าวถึงผู้ถูกคุมขังว่าเป็นนักโทษทางความคิดซึ่งถือว่าเป็นวลีใหม่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก

บทความชิ้นนั้นได้รับการตอบรับอย่างมหาศาลภายในช่วงเวลาหนึ่งเดือนมีผู้อ่านมากกว่าพันคนส่งจดหมายมาสนับสนุนและเสนอความช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมพวกเขายังส่งรายละเอียดของนักโทษทางความคิดมาเพิ่มเติมอีกมากมายหลายกรณี

ภายในช่วงเวลาเพียงหกเดือนความพยายามเผยแพร่ข่าวสารที่เริ่มต้นเพียงสั้นๆนั้นได้พัฒนาเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวระดับสากลอย่างถาวรและภายในหนึ่งปีองค์กรใหม่ก็ได้ส่งผู้แทนไปยังสี่ประเทศเพื่อทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของนักโทษรวมทั้งได้นำคดีอีก210กรณีมารับไว้เพื่อพิจารณาช่วยเหลืออีกด้วยในขณะนั้นได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นใน7ประเทศ

ในขณะเดียวกันหลักการอันปราศจากอคติและความเป็นอิสระก็ได้มีการกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มแรกโดยเน้นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสากล:นั่นคือประชาชนทั่วโลกจะรณรงค์เพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในที่ใดก็ได้ในโลกขณะที่แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลเติบโตขึ้นการมุ่งเน้นก็จะขยายขอบเขตออกไปโดยไม่เพียงแต่รับเรื่องนักโทษทางความคิดเท่านั้นแต่ยังพุ่งเป้าไปยังเหยื่อซึ่งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลกเช่นการถูกทรมานการสูญหายของบุคคลและโทษประหารชีวิต

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับการรณรงค์ต่อต้านการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐและรางวัลองค์การสหประชาชาติสาขาสิทธิมนุษยชน(United Nations Prize in the Field of Human Rights)ในปีค.ศ. 1978


เปิดข้อมูล‘แอมเนสตี้’ เอี่ยวม็อบฯ อย่างไร

ทุกวันนี้แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลมีสมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า7ล้านคนในกว่า150ประเทศและดินแดนซึ่งทุกคนได้รวมพลังกันเพื่อที่จะทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิมนุษยชนนอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนในท้องถิ่นกลุ่มเยาวชนและนักเรียนนักศึกษากลุ่มผู้เชี่ยวชาญอื่นๆสมาชิกรายบุคคลและผู้ประสานงานอีกหลายพันกลุ่มอยู่ในกว่า100ประเทศและเขตการปกครองนอกจากนี้ยังมีสำนักงาน(Section/Structure)ที่จัดตั้งในระดับชาติขึ้นในพื้นที่มากกว่า70ประเทศและในประเทศต่างๆอีกกว่า20ประเทศยังมีการจัดตั้งองค์กรประสานงานอื่นๆ(coordinating structures)อีกด้วยแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลยังเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับและให้ความเชื่อถือโดยองค์กรฯจัดส่งผู้แทนไปพบรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศเช่นองค์การสหประชาชาติและมีส่วนร่วมในการอภิปรายในประเด็นสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ

โดยในประเทศไทยเราก็มีองค์กรดังกล่าวนั้นทำงานขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ดังกล่าวข้างต้นอยู่ด้วยจึงเป็นเหตุผลที่หมอวรงค์ได้ออกมาโพสต์ถึงองค์กรระดับโลกในเมืองไทยให้ออกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพผู้เห็นต่างนั่นเอง

เปิดข้อมูล‘แอมเนสตี้’ เอี่ยวม็อบฯ อย่างไร

เปิดข้อมูล‘แอมเนสตี้’ เอี่ยวม็อบฯ อย่างไร

ขอบคุณที่มาแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลประเทศไทย/แอมเนสตี้

logoline