svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ผนึกกำลังหนุนแก้ กม.กัญชาจากยาเสพติดเป็นยารักษาโรค

04 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เครือข่ายกัญชาทางการแพทย์ภาคประชาชนภาคอีสาน เดินหน้าแก้กฎหมาย เสนอเชิงนโยบายจากพืชเสพติดให้กัญชาเป็นพืชยารักษาโรคที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย ด้านผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาเน้นสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับแพทย์แผนปัจจุบันด้วย

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน ภาคีเครือข่ายกัญชาทางการแพทย์ภาคประชาชน  จากจังหวัด สกลนคร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี และขอนแก่น   พร้อมด้วยศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ร่วมจัดประชุมพูดคุย  และมีข้อเสนอจากภาคประชาคมในการเข้าถึงบริการด้านการรักษาจากกัญชา นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ  เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน  กล่าวว่า การเข้าถึงยาของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ และไม่ควรถูกปิดกั้น โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยใช้การรักษาแบบอื่นไม่ได้ผลแล้ว และมีหลักฐานทางการแพทย์ว่าการใช้กัญชาได้ประโยชน์ในหลากหลายโรคได้   ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีแนวทางในการเปิดโรงพยาบาลนำร่องในการใช้น้ำมันกัญชามารักษาโรค  แต่กลับพบว่ายังมีข้อจำกัดหลายด้านที่มีความสัมพันธ์กับข้อกฎหมาย  ทำให้มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงบริการการใช้น้ำมันกัญชารักษาโรค สำหรับในภาคอีสานนั้น พบว่ามีการใช้น้ำมันกัญชาในการรักษาโรคมานานแล้ว  แต่เป็นการลักลอบเนื่องจากประชาชนกังวลว่าจะส่งผลกระทบมีความผิดทางกฎหมาย  หลังจากที่รัฐบาลนำประเด็นใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคทางภาคประชาชนได้ระดมความคิดเห็นการปรับแก้ในหลายประเด็น เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนในระดับชาติ"สำหรับประเด็นการพูดคุย คือการแก้ไขข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้เคยพูดคุยมาแล้วแบ่งเป็น 6 ประเด็นหลัก  เช่น  การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายยกเลิกกัญชาออกจากรายการยาเสพติดให้โทษ  ขอให้นิรโทษกรรมผู้ป่วยที่รักษาตนเองด้วยกัญชา และล้างมลทิน ปรับลดทอนโทษทางอาชญากรรมของผู้ใช้กัญชา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรสนับสนุนการขึ้นทะเบียนตำรับยาพื้นบ้านที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมและมีผลงานวิจัยว่าสามารถใช้รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้สามารถเข้าถึงการรักษาได้" นายปฏิวัติ  กล่าว  

ผนึกกำลังหนุนแก้ กม.กัญชาจากยาเสพติดเป็นยารักษาโรค


ด้าน ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา หรือ กพย.  กล่าวว่า ภาคอีสานถือเป็นพื้นที่ที่มีภูมิปัญญาด้านการใช้กัญชารักษาโรคมานานแล้ว  แต่ที่ผ่านมากัญชาถือเป็นยาเสพติด หากผู้ที่มีในครอบครองได้รับโทษหนัก มีโทษสูง จึงทำให้หลายคนไม่มั่นใจถึงสรรพคุณในการรักษาโรค โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ที่ยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์  เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์สำคัญอย่างยิ่ง "การปลดล๊อคกัญชาที่ต้องการจัดเวทีให้มีขึ้นในครั้งนี้  เพื่อให้นำไปสู่นโยบายและโครงสร้างที่ชัดเจนของรัฐที่ต้องมีมากกว่าปัจจุบัน   การรวบรวมปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้ด้านตัวยา  สายพันธุ์  และการรักษา  เนื่องจากบางคนยังกังวลเรื่องข้อกฎหมาย เพราะกฎหมายความผิดของการครอบครองกัญชามีความเข้มข้น  ซึ่งหากสามารถดำเนินการตามข้อเสนอได้ จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด" ผศ.ดร.ภญ.นิยดา  กล่าว 
 

ผนึกกำลังหนุนแก้ กม.กัญชาจากยาเสพติดเป็นยารักษาโรค

สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบาย  6ประเด็น ที่เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน และภาคีเครือข่ายกัญชาทางการแพทย์ภาคประชาชน  ยื่นต่อผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา เพื่อนำไปยื่นเสนอต่อภาครัฐ นำไปขับเคลื่อนในระดับชาติ มีรายละเอียด คือ  1.ขอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายโดยขอให้กระทรวงสาธารณสุข ยกเลิกกัญชาออกจากรายการยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2522 เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้กัญชาในการรักษาโรคของตนเองได้  โดยขอให้นิรโทษกรรมผู้ป่วยที่รักษาตนเองด้วยกัญชา และล้างมลทิน ปรับลดทอนโทษทางอาชญากรรมของผู้ใช้กัญชา ขอให้ประชาชนสามารถปลูกได้เพื่อใช้เฉพาะตนโดยไม่จำกัดการปลูกหรือผลิตเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจ ขอให้มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการอนุญาต2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรสนับสนุนการขึ้นทะเบียนตำรับยาพื้นบ้านที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมและมีผลงานวิจัยว่าสามารถใช้รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. ขอให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนการปลูก การผลิต การแปรรูป และจำหน่าย         3.1 สนับสนุนการปลูกในครัวเรือน (วิถีชีวิต) สนับสนุนให้ใช้กัญชาเป็นวิถีชีวิตทั่วไป (ใช้เป็นอาหารและยารักษาตนเอง)         3.2 สนับสนุนการปลูก แปรรูป และจำหน่ายเป็นเศรษฐกิจของท้องถิ่น และประเทศ         3.2 ส่งเสริมการปลูกและวิจัยเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ในท้องถิ่น ได้แก่ องค์ความรู้เทคนิคการปลูก/เพาะกล้า (ดิน/สภาพอากาศ) ห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบสภาพดินเพื่อลดปัญหาสารปนเปื้อนในการเพาะปลูก3.3 ส่งเสริมความร่วมมือในการปลูก ผลิต แปรรูป จำหน่ายของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น 4.ด้านการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพและรักษาโรค ขอให้กระทรวงสาธารณสุข 4.1 เพิ่มการเข้าถึงบริการรวมถึงขยายการจำหน่ายและการรักษาของหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน  4.2 เร่งผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน4.3 บรรจุยากัญชาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ4.4 เพิ่มกลุ่มโรคและอาการในการรักษาด้วยสารสกัดกัญชา5.การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ขอให้กระทรวงสาธารณสุข 5.1 เพิ่มการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์พื้นบ้านที่สนับสนุนการใช้กัญชาให้เพียงพอ โดยการเร่งรัดการผลิตบุคลากรการแพทย์ให้เพียงพอและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกัญชา และสนับสนุนให้บุคลากรในท้องถิ่นมีความรู้เรื่องกัญชาตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแพทย์แผนปัจจุบัน 5.2 สร้างเสริมความรู้และทัศนคติของบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพ  รวมถึงการปลูกกัญชา5.3 สนับสนุนองค์ความรู้ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน/ท้องถิ่น  ด้านการปลูก/สกัด/ผลิต, สูตรตำรับพื้นบ้าน และการรักษาตามภูมิปัญญาท้องถิ่น6. การศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้และการวิจัย ขอให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถาบันการศึกษา6.1 จัดตั้งศูนย์รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการเรื่องกัญชาระดับชาติและระดับท้องถิ่น  ครอบคลุมการปลูก-ผลิต-กระจาย-สกัด-แปรรูป-ใช้ ทำหน้าที่รวบรวม กระจาย และเผยแพร่ จัดตั้งศูนย์เผยแพร่ภูมิปัญญาการปลูกของท้องถิ่น โดยเฉพาะพันธุ์ท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์เผยแพร่ความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับประชาชน และให้มีธนาคารเมล็ดพันธุ์กัญชา(เมล็ด/ต้นกล้า) สนับสนุนเมล็ดพันธุ์-ต้นกล้าเสมือนคลังข้อมูล6.2 ส่งเสริมสนับสนุน.การวิจัยกัญชาภาคประชาชน  ด้านการปลูก-ผลิต/แปรรูป และภูมิปัญญาท้องถิ่น6.3 ส่งเสริมการวิจัยและศึกษากัญชาทางการแพทย์ เพื่อการรักษาเฉพาะโรค และครอบคลุมการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย

ผนึกกำลังหนุนแก้ กม.กัญชาจากยาเสพติดเป็นยารักษาโรค

logoline