svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ถ้า"บิ๊กตู่"โบกมือลา สภาเจอปัญหาใหญ่?

31 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ข้อเรียกร้องผ่าทางตันทางการเมืองที่ดังระงมมาตั้งแต่ม็อบนอกสภา ตามด้วยการอภิปรายในสภา 2 วัน และล่าสุดจากคำกล่าวแบบอ้อมๆ ของอดีตนายกฯอานันท์ ปันยารชุน นั่นก็คือ "ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก" นั้น ข้อเรียกร้องนี้หาก "บิ๊กตู่" เอาด้วยจะเกิดอะไรขึ้น ปัญหาการเมืองจะจบทันทีเหมือนที่พูดกันหรือไม่ สารพัดคำถามเหล่านี้ "เนชั่นทีวี" มีคำตอบ

ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกตามข้อเรียกร้องของม็อบ และ ส.ส.ฝ่ายค้าน บุคคลที่มีสิทธิ์ได้ลุ้นเป็นนายกฯคนใหม่ จะเหลือเพียง 5 คนเท่านั้น คือ

1. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธฺุ์ (เพื่อไทย)

2. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (เพื่อไทย)

3. นายชัยเกษม นิติสิริ (เพื่อไทย)

4. นายอนุทิน ชาญวีรกูล (ภูมิใจไทย)

5. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ประชาธิปัตย์)

ถ้า"บิ๊กตู่"โบกมือลา สภาเจอปัญหาใหญ่?



ทั้งหมดเป็น "แคนดิเดตนายกฯ" ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 88 และพรรคต้นสังกัดมีเสียง ส.ส.ในสภาเกิน 1 ใน 5 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159

การจะได้เป็นนายกฯ ต้องได้เสียงไว้วางใจจากรัฐสภา คือ ส.ส. + ส.ว. เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของ 2 สภาฯ

ปัจจุบันจำนวน ส.ส. มีทั้งหมด 486 คน จากจำนวนเต็ม 500 คน ซึ่งไม่นับ นายกรุงศรีวิไล เพราะยังไม่ได้ปฏิญาณตน และตัด นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ออกแล้ว

จำนวน ส.ว.มีทั้งหมด 245 คน จากจำนวนเต็ม 250 คน ซึ่งยังไม่นับผู้นำเหล่าทัพใหม่ 5 คน เพราะยังไม่ได้รับโปรดเกล้าฯ

สมาชิก 2 สภาฯ ที่จะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จึงมีทั้งสิ้น 731 คน เรียกว่า "สมาชิกเท่าที่มีอยู่"

ถ้า"บิ๊กตู่"โบกมือลา สภาเจอปัญหาใหญ่?



การได้เป็นนายกฯ ต้องได้เสียงไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่ คือ 366 คน

ถ้ายึดข้อเรียกร้องของม็อบ และฝ่ายค้านที่จะไม่ให้ ส.ว.ร่วมโหวต ที่เรียกว่า "ปิดสวิตช์ ส.ว." เสียงไว้วางใจ 366 เสียง ก็ต้องเป็นเสียง ส.ส.ทั้งหมด

ส.ส.ฝ่ายค้านปัจจุบันมี 211 เสียง รัฐบาลมี 275 เสียง รวมเป็น 486 เสียง หากฝ่ายค้าน เช่น พรรคเพื่อไทย จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยเสนอชื่อแคนดิเดตคนใดคนหนึ่งเป็นนายกฯ ก็ต้องหาเสียงมาเติมให้ได้ 366 เสียง นั่นก็คือหาอีก 155 เสียง

แต่เสียงของรัฐบาล 275 เสียง เป็นของพรรคพลังประชารัฐ 120 เสียง แสดงว่ามีเสียงที่ไม่ใช่พลังประชารัฐ 155 เสียงพอดี ซึ่งหากรวบรวมเสียงได้ก็หมายความว่า พรรคพลังประชารัฐจะเป็นฝ่ายค้านพรรคเดียว โดยรัฐบาลชุดใหม่มีเสียงสนับสนุน 366 เสียงพอดี เป็นรัฐบาลผสมถึง 24 พรรค

ถ้า"บิ๊กตู่"โบกมือลา สภาเจอปัญหาใหญ่?

คำถามคือ

- เป็นไปได้หรือไม่ที่พรรคการเมืองที่เหลืออีก 24 พรรค จะโหวตไปในทางเดียวกันทั้งหมด หลังจากเท พล.อ.ประยุทธ์ ไปเรียบร้อยแล้ว

- พรรคการเมืองอื่นที่ไม่ใช่เพื่อไทย มีแคนดิเดตนายกฯเช่นกัน ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย 1 คน ประชาธิปัตย์ 1 คน หากมีการเสนอชื่อแคนดิเดตของตัวเองขึ้นท้าชิง ก็เท่ากับมีคู่แข่ง ก็จะทำให้เสียงแตก และเสียง ส.ส.ไม่ถึง 366 เสียง เพราะจะถูกแบ่งไปสนับสนุนคู่แข่งอีกพรรคหนึ่ง

- สมมติว่า 24 พรรคร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลจริง จะเป็นรัฐบาลที่มีเอกภาพหรือไม่ จะไม่แก่งแย่งเก้าอี้รัฐมนตรีเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับรัฐบาลผสม 20 พรรคที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจริงหรือ

ถ้า"บิ๊กตู่"โบกมือลา สภาเจอปัญหาใหญ่?



- โมเดลตั้งรัฐบาล 24 พรรค หรือถ้าพรรคพลังประชารัฐร่วมด้วย (อาจมีงูเห่า) ก็เท่ากับเป็นรัฐบาลทุกพรรค จะเข้าข่ายเป็น "รัฐบาลแห่งชาติ" ที่ม็อบประกาศว่า "ไม่เอา" หรือไม่ ถ้าใช่แล้วจะทำอย่างไร

- การห้ามไม่ให้ ส.ว.ร่วมโหวต จะตีความได้หรือไม่ว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะผู้ที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (2 สภา) อย่างแท้จริง เพราะ ส.ว.ไม่ได้ร่วมโหวตด้วย

นี่คือปัญหาลักลั่น ย้อนแย้ง จากสารพัดข้อเรียกร้องของม็อบและความต้องการของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน

logoline