svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

วันนี้ในอดีต การลอบสังหารนายกฯหญิงคนแรกของอินเดีย สู่โศกนาฏกรรม

31 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้ในอดีต ขอเสนอเหตุการณ์สุดสะเทือนใจของคนทั้งโลก ลอบสังหารนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย สู้ผลที่ตามมาหลังการลอบสังหารที่ทำให้ทั้งประเทศต้องตกอยู่ในความโกลาหล

อินทิรา ปริยทรรศินี คานธี เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีอินเดียที่ดำรงตำแหน่งถึง 3 วาระติดต่อกัน และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประเทศอินเดีย
อินทิรา คานธี มีชื่อเดิมว่า อินทิรา ปรียทรศินี เนห์รู เป็นบุตรสาวของชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย กับกมลา เนห์รู นางอินทิราสมรสกับผิโรช คานธี ซึ่งมีนามสกุลเดียวกับมหาตมา คานธี แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน และมีบุตรชายสองคนโดยบุตรทั้งสองต่างดำเนินกิจกรรมทางการเมืองสืบต่อจากมารดา

วันนี้ในอดีต การลอบสังหารนายกฯหญิงคนแรกของอินเดีย สู่โศกนาฏกรรม


วันนี้ในอดีต การลอบสังหารนายกฯหญิงคนแรกของอินเดีย สู่โศกนาฏกรรม

อินทิรา คานธี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 หลังจากถูกองครักษ์สองคนใช้อาวุธปืนกระหน่ำยิงกว่า 30 นัด ที่บริเวณสวนในทำเนียบนายกรัฐมนตรี และถึงแก่อสัญกรรมระหว่างถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล สาเหตุเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวซิกข์หลังปฏิบัติการดาวน้ำเงิน
การลอบสังหาร "อินทิรา คานธี"
เวลาราว 9:20 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 31 ตุลาคม 1984 อินทิรากำลังเดินทางไปสัมภาษณ์กับนักแสดงชาวอังกฤษ Peter Ustinov ซึ่งกำลังถ่ายทำสารคดีให้กับโทรทัศน์ไอร์แลนด์ เธอเดินผ่านสวนของบ้านพักนายกรัฐมนตรีหมายเลข 1 ถนนซาฟดาร์จุง (Prime Minister's Residence at No. 1 Safdarjung Road) ในนิวเดลีไปยังออฟฟิศ บ้านเลขที่ 1 ถนนอักบาร์ ซึ่งอยู่ติดกัน    

วันนี้ในอดีต การลอบสังหารนายกฯหญิงคนแรกของอินเดีย สู่โศกนาฏกรรม

อินทิราเดินผ่านประตูซึ่งมีบอดีการ์ดยืนคุ้มกันอยู่สองคน คือ Satwant และ Beant Singh ทันใดนั้นเขาทั้งสองคนก็ยิงเข้าใส่อินทิรา ซึ่งเป็นโศกอนาถตกรรม อย่างมาก โดยบอดีการ์ดทั้ง 2 ยิงปืนสามนัดเข้าไปที่ช่องท้องของเธอ และตามด้วยยิงปืน submachine gunอีก 30 นัด ใส่เธอหลังเธอล้มลงบนพื้น จากนั้นชายทั้งสองโยนอาวุธลงและ Beant ได้พูดว่า "เราได้ทำในสิ่งที่เราต้องทำ คุณทำในสิ่งที่คุณอยากทำ" หลังจากนั้นเพียง 6 นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจพรมแดน Tarsem Singh Jamwal และ Ram Saran จับกุมและสังหาร Beant ส่วน Satwant ถูกจับกุมโดยบอดีการ์ดอีกคนของอินทิรา เขาได้รับบาดเจ็บอย่างหนักจากความพยายามจะหลบหนี

วันนี้ในอดีต การลอบสังหารนายกฯหญิงคนแรกของอินเดีย สู่โศกนาฏกรรม

ผลที่ตามมาหลังการลอบสังหาร "อินทิรา คานธี"
สี่วันหลังจากนั้น ศาสนิกชนซิกข์หลายพันคนถูกฆาตกรรมใน จลาจลต่อต้านชาวซิกข์ 1984
Satwant Singh และ ผู้สมรู้ร่วมคิด Kehar Singh ถูกตัดสินประหารชีวิต ทั้งคู่ถูกประหารชีวิตในวันที่ 6 มกราคม 1989

logoline