svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงาน

29 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงาน "มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ" จัดขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย ชูแนวคิด "๕ สายน้ำวัฒนธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำภาคกลาง"





ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จับมือเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง เตรียมจัดงาน "มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ" ภายใต้แนวคิด "๕ สายน้ำวัฒนธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำภาคกลาง" หวังเป็นแหล่งศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาพื้นถิ่น พร้อมส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นภาคกลาง ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน พบกับการนิทรรศการมีชีวิตของ ๕ ลุ่มแม่น้ำ การเสวนา การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่น เวิร์กชอป และการจำหน่ายสินค้าชุมชน (ท้องถิ่น) จัดขึ้น ๒๐-๒๒  พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นี้ วัดขนอนหนังใหญ่  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี 


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงาน

ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร เป็นองค์กรหลักด้านการจัดการข้อมูลความรู้ด้านมานุษยวิทยาเพื่อสร้างความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่มีคุณภาพ และบูรณาการเครือข่ายมานุษยวิทยา ซึ่งในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ยังได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนา "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น" มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและเสริมพลังเครือข่าย รวมถึงสนับสนุนกลไกการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่เอื้อให้เกิดการหนุนเสริมและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้"เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น" สามารถพัฒนาศักยภาพตนเอง และเกิดความเข้มแข็งยั่งยืน


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงาน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เปิดพื้นที่ให้คนทำพิพิธภัณฑ์มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การทำฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย การสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ งานอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ งานประชุมเชิงวิชาการ และงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นต้น 

"และในปีนี้ ทางศูนย์มานุษยฯ ยังได้ร่วมกับ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภาคกลาง  ๓๐ แห่ง จัดงาน "มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ" ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดพื้นที่ในการนำเสนอเอกลักษณ์ ชาติพันธุ์และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นภาคกลาง ผ่านพิพิธภัณฑ์ในภาคกลางที่สะสมความรู้ และมรดกวัฒนธรรมด้านต่างๆ เพื่อสะท้อนประวัติศาสตร์ความเป็นมา และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นในภาคกลางที่มีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้ลูกหลานเยาวชนคนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป ได้เรียนรู้สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น และความเป็นตัวตนของชุมชนที่


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงาน

จะนำมาสู่ความเข้าใจ ตระหนักและหวงแหนในคุณค่ามรดกวัฒนธรรมของตนเอง โดยผ่านรูปแบบ  นิทรรศการ  กิจกรรมการสาธิต และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ที่หลากหลาย ซึ่งมีกำหนดจัดงานดังกล่าวขึ้น ระหว่าง ๒๐-๒๒  พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นี้  ณ วัดขนอนหนังใหญ่  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี"



 ด้าน พระครูพิทักษ์ศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ในฐานะประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง กล่าวว่า หากย้อนกลับไปพิจารณาถึงการเกิดขึ้นของพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลางแต่ละแห่งแล้ว จะพบได้ว่าทุกแห่งล้วนแต่มีจุดเริ่มต้นมาจากจิตวิญญาณที่รัก และภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตัวเองทั้งสิ้น ซึ่งการจัดงานมหกรรมมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง "วิถี วัฒนธรรมแห่ง สายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ" ในครั้งนี้ จึงถือเป็นการจัดงานครั้งแรกของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง ที่ได้รวมตัวกันจนเป็น "เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง" เริ่มจากหนึ่งและสองจนขยายเป็นทั้งหมด ๓๐ แห่งทั้งภาคกลาง  ๑๔ จังหวัด แบ่งเป็น ๕ ลุ่มน้ำ มีดังนี้แม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย ๑.พิพิธภัณฑ์จันเสน ๒.พิพิธภัณฑ์เรือไทย ๓.พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร ๔.บ้านหัตถกรรม ศิลป์สร้างสุข ๕.พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านกวานอาม่าน    ๖.พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านขุนสมุทรจีน


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงาน

แม่น้ำป่าสัก ลพบุรี ประกอบด้วย ๑.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดฝั่งคลอง  ๒.ศูนย์เฉลิมราชย์ บ้านดงกระทงยาม  ๓.พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย    ๔.พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านหลุมข้าวแม่น้ำแม่กลอง ประกอบด้วย ๑. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองขาว ๒. พิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง                      ๓.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม  ๔.จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ๕.พิพิธภัณฑ์ตั้งเซี่ยมฮะ ๖.เบญจมราชูทิศ พิพิธภัณฑ์ ๗. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนแม่น้ำท่าจีน ประกอบด้วย ๑. ศูนย์ฟื้นฟูไตดำโบราณ  ๒.บ้านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดบางหลวง                   ๓.พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทยบ้านลานแหลม  ๔.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง ๕. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชุมชนคลองผีเสื้อ      ๖.พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งบ้านทุ่งผักกูด  ๗. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก  



แม่น้ำเพชรบุรี ประกอบด้วย ๑.ศูนย์เรียนรู้กลุ่มสไบมอญ (บางลำพู) ๒.บ้านชะอาน ๓.พิพิธภัณฑ์ปานถนอม ๔.สมบัติลุ่มน้ำเพชร และ ๕.ศูนย์เรียนรู้เพื่อนศิลป์ ดินไอเดีย



 

"นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ภายใต้นโยบายของศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) ที่มุ่งมั่นส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นต่างๆ ของไทยให้มีความเข็มแข็งและเติบโตขึ้น และในวันนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเราผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์เรียนรู้ต่างๆ จากทุกสารทิศในกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลางได้รวมตัวกันขึ้น ซึ่งเป็นการเปิดเวทีครั้งสำคัญที่จะทำให้เราได้มีโอกาสพบปะเยี่ยมเยือน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้กัน ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างระหว่างกันของพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง แต่เรากลับพบว่ามีอัตลักษณ์ร่วมสำคัญที่เชื่อมโยงกันอยู่ ๓ ประการ คือ วัฒนธรรมทวารวดี ชาติพันธุ์ และ วิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำภาคกลาง  โดยได้สะท้อนอยู่ในทุกๆ วิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ภาคกลางนั่นเอง" พระครูพิทักษ์ศิลปาคม กล่าว


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงาน

อย่างไรก็ตาม งานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง "วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ" ได้กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่  ๒๐-๒๒  พฤศจิกายน ๒๕๖๓  ณ วัดขนอนหนังใหญ่  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี  โดยภายในงานจะเป็นการเปิดพื้นที่สื่อกลางนำเสนอเอกลักษณ์ ชาติพันธุ์และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น  จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภาคกลางท้องถิ่น  ๓๐ แห่ง  ๑๔ จังหวัด  พบกับการจัดกิจกรรมและไฮไลท์สำคัญที่น่าสนใจ เช่น การจัดแสดงนิทรรศการมีชีวิตของ ๕ ลุ่มแม่น้ำภาคกลาง การเสวนาทางวัฒนธรรมและวิชาการ การสาธิต และการแสดงทางวัฒนธรรมของชุมชนแต่ละท้องถิ่น รวมถึงกิจกรรม Work Shop และการจำหน่ายสินค้าชุมชน (ท้องถิ่น) ตลอดระยะเวลา ๓ วันของการจัดงาน สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุริสา อาศุศิริ โทร.๐๙๒ ๖๐๕ ๖๔๔๕ หรือติดตามได้ที่ Facebook:เพจมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง  

logoline