svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

มลพิษเพิ่มความเสี่ยงคร่าชีวิตผู้ป่วยโควิด

29 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

งานวิจัยใหม่ล่าสุดพบว่า มลพิษทางอากาศอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต โดยพบว่า การเสียชีวิตด้วยโควิด-19 มากถึงเกือบ 15% ทั่วโลกอาจมีปัจจัยจากการได้รับมลพิษทางอากาศในระยะยาว

คณะนักวิจัยจากหลายองค์กรในหลายประเทศ เผยแพร่รายงานการศึกษาในวารสารทางการแพทย์ คาร์ดิโอแวสคิวลาร์ รีเซิร์ช ในสัปดาห์นี้ รายงานมุ่งศึกษาประเด็นการได้รับมลพิษทางอากาศระยะยาวเพราะรู้ดีว่าสิงนี้ส่งผลให้อาการป่วยเกี่ยวกับปอดและหัวใจเลวร้ายลง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงหรือถึงขั้นเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 
รายงานระบุว่า เอเชียตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีการระบาดอย่างหนักของโควิด-19 และมลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตมากถึง 27% โดยเฉพาะในจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดในโลก มีสัดส่วนผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตเนื่องจากมลพิษทางอากาศ 27% เช่นกัน นอกจากนี้มลพิษทางอากาศยังเป็นปัจจัยการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 19% ในยุโรป และอีก 17% ในอเมริกาเหนือ 

มลพิษเพิ่มความเสี่ยงคร่าชีวิตผู้ป่วยโควิด

ขณะที่ในภูมิภาคที่มีมาตรการการควบคุมคุณภาพอากาศเข้มงวดและมีระดับมลพิษทางอากาศค่อนข้างต่ำ เช่น ออสเตรเลีย มีผู้เสียชีวิตด้วยโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในสัดส่วนที่น้อยมาก
แต่นักวิจัยย้ำว่า การวิเคราะห์นี้ไม่ได้บ่งชี้ถึงสาเหตุและผลกระทบโดยตรงจากมลพิษทางอากาศต่อการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 และระบุว่า มลพิษเป็นปัจจัยร่วม ที่ทำให้เสียชีวิต การได้รับมลพิษทางอากาศในระยะยาวอาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง และทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคปอด และเมื่อผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเหล่านี้ด้วยสาเหตุมลพิษทางอากาศ ได้รับเชื้อไวรัสซาร์ส-คอฟ-2 ก็มีโอกาสสูงขึ้นที่จะเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 ซึ่งหมายถึงว่า มลพิษทางอากาศอาจเป็นปัจจัยทางอ้อมที่ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต

logoline