svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ลอยกระทงออนไลน์" ห่างไกลโควิด รักษาสิ่งแวดล้อม

28 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมอนามัย ย้ำ ประชาชนควรรักษาแนวทางปฏิบัติป้องกันโควิดระบาดในระหว่างร่วมกิจกรรม "ลอยกระทง" แนะออนไลน์ เป็นทางเลือก ส่วนปชช.ที่ยังต้องการ ควรเลือกแหล่งน้ำใกล้บ้าน ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ทำกระทง ลดขนาด หรือรวมกลุ่มหลายคนต่อ 1 กระทง

28 ตุลาคม 2563 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคโควิด-19 การจัดงานประเพณีลอยกระทง ตามสถานที่ต่างๆ จะทำให้มีการรวมตัวของกลุ่มคนเป็นจำนวนมากและใกล้ชิดกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรคโควิด-19ได้
ดังนั้น ประชาชนยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 โดยยึดหลักสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร และล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆอย่างไรก็ตาม กรมอนามัย ขอแนะนำให้ประชาชนเลือกลอยกระทงออนไลน์ เพื่อลดเสี่ยงโรคโควิด 19 และช่วยลด ปริมาณขยะ สำหรับประชาชนที่ต้องการออกไปลอยกระทงนอกบ้าน ให้เลือกกระทงให้เหมาะกับแหล่งน้ำที่จะไปลอย เช่น กระทงขนมปังหรือกระทงกรวยไอศกรีม ควรลอยในแหล่งน้ำที่มีปลา กระทงหยวกกล้วยเหมาะกับแหล่งน้ำที่มีเจ้าหน้าที่เก็บขนขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น นำไปหมักทำปุ๋ย เลือกกระทงที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติ เก็บขนได้ทัน ไม่เป็นมลพิษต่อแหล่งน้ำ ป้องกันน้ำเน่าเสียอย่างกระทงที่ทำจากหยวกกล้วย ใบตอง และไม่ใช้วัสดุหลากหลายเกินไป เพื่อลดภาระการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด เลี่ยงกระทงที่มีเข็มหมุด พลาสติก โฟม เพราะย่อยสลายยากและเป็นขยะในแหล่งน้ำได้

"ลอยกระทงออนไลน์" ห่างไกลโควิด รักษาสิ่งแวดล้อม

"ลอยกระทงออนไลน์" ห่างไกลโควิด รักษาสิ่งแวดล้อม

"ลอยกระทงออนไลน์" ห่างไกลโควิด รักษาสิ่งแวดล้อม


นอกจากนี้ ควรลดขนาดกระทงให้เล็ก เพราะใช้วัสดุน้อยกว่า หากมาเป็นครอบครัว กลุ่มเพื่อน มาเป็นคู่หรือมากับแฟน ให้ลอยกระทงร่วมกันโดยใช้ 1 กระทง เป็นการสานสัมพันธ์ที่ดี เพื่อช่วยกันลดปริมาณขยะ ลดมลพิษ ต่อแหล่งน้ำ และที่สำคัญผู้ปกครองต้องเฝ้าระวังบุตรหลานไม่ให้คลาดสายตาเพราะอาจพลัดหลงหรือตกน้ำได้

"ลอยกระทงออนไลน์" ห่างไกลโควิด รักษาสิ่งแวดล้อม


ทั้งนี้ ในทุก ๆ ปี เมื่อผ่านคืนวันลอยกระทง สิ่งที่ตามมาคือซากกระทงจำนวนมากที่ลอยอยู่ในแม่น้ำลำคลองหลายแห่ง จากสถิติของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร พบว่า ปริมาณกระทงที่เก็บได้ ในปี 2562 เฉพาะในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 502,024 ใบ แบ่งเป็นกระทงจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย ใบตอง จำนวน 483,264 ใบ หรือร้อยละ 96.3 และกระทงจากโฟม จำนวน 18,760 ใบ หรือร้อยละ 3.7 ซึ่งร้อยละของกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ย่อย สลายได้มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

logoline