svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"หมอระวี" ลั่น ก่อนแก้ รธน.ถามคนไทยหรือยัง

27 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"นพ.ระวี มาศฉมาดล" ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ลั่น ก่อนแก้รัฐธรรมนูญ ถามคนไทยหรือยัง แนะทำประชามติลดความขัดแย้ง วอนม็อบให้ถอยเพื่อประชาชน หลังนายกรัฐมนตรีถอยแล้ว

นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ กล่าวว่า จากข้อเรียกร้องข้อหลักของผู้ชุมนุมคือ นายกฯ ประกาศยุบสภาหรือลาออก,แก้ไขรัฐธรรมนูญตามร่างของประชาชน และปฏิรูปสถาบันซึ่งปรากฎว่าแกนนำหลายคนก็มีการนำเสนอว่าได้มองข้ามประเด็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ประเด็นหลักอยู่ที่ข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบัน ดังนั้นขณะนี้ความขัดแย้งหลักในสังคมไทยคือ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายปกป้องสถาบันกับฝ่ายที่อ้างว่าปฏิรูปสถาบัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยตรงด้วย ถ้ารัฐสภาเปิดประชุมเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมาเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะมีมติออกมาอย่างไร ก็จะมีฝ่ายหนึ่งพอใจ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะไม่พอใจ เช่น ถ้ามีมติไม่ให้แก้ไขหมวด 1,2 ฝ่ายปกป้องสถาบันก็จะพอใจ แต่ฝ่ายปฎิรูปสถาบันก็จะไม่พอใจ"ผมขอเสนอทางออกที่จะลดความขัดแย้งและความเสี่ยงที่จะเกิดหายนะต่อประเทศ โดยเสนอให้รัฐสภาต้องร่วมกันหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำประชามติถามคนไทยทั่วประเทศก่อนว่า คนไทยจะให้แก้รัฐธรรมนูญปี 60 หรือไม่ และถ้าให้แก้ จะให้แก้รายมาตราก็พอ หรือ จะให้แก้มาตรา 256 และให้ตั้ง สสร.มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะให้แก้หมวด 1,2 หรือไม่ ถ้าให้แก้ จะให้แก้อำนาจ ส.ว.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่"นพ.ระวี กล่าว

นพ.ระวี กล่าวต่อว่า เมื่อมีผลประชามติออกมา รัฐสภาก็ดำเนินการตามนั้น ถ้ารัฐสภามีมติออกมาแบบนี้ จะช่วยลดความขัดแย้งลงได้ระดับหนึ่ง เพราะไม่ว่า จะมีผลประชามติออกมาในรูปแบบใดก็ตาม ทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้ารัฐสภาจะฝืนตัดสินใจรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญร่างใดไปก่อน ก็จะสร้างความขัดแย้งขึ้นมาอีก จากฝ่ายที่ไม่พอใจอาจจะมีคนร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีความผิดที่ไปลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยังไม่ได้ทำประชามติขอความเห็นชอบจากประชาชนก่อน ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2555"ถ้ารัฐสภาจะเดินหน้าแก้ไรรัฐธรรมนูญไปจนจบวาระที่ 3 แล้ว ค่อยนำมาทำประชามติ ถ้าผลประชามติ ประชาชนไม่เห็นด้วย ก็ต้องมาเริ่มกันใหม่อีก อาจจะทำให้เสียเวลาและงบประมาณมากกว่าเดิม ผมขอสรุปว่า รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท่านถามประชาชน 16 ล้านคนแล้วหรือยัง"นพ.ระวี กล่าวนพ.ระวี กล่าวต่อว่า ตนมีโอกาสเข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ทุกการชุมนุมตั้งแต่ 14 ตุลาคม 16 จนถึงกปปส. 2557 ผมไม่เคยพบว่ารัฐบาลใดจะยอมรับความคิดเห็นของม็อบง่าย ๆ ประชาชนจะมามากแค่ไหน ประชาชนตายหรือบาดเจ็บไปกี่คน รัฐบาลไม่เคยสนใจจะถอยง่ายๆ เลย ตนไม่ใช่คนที่จะอวยนายกรัฐมนตรี จุดยืนของผมคือ การต่อสู้กับเผด็จการทหารและเผด็จการรัฐสภามาโดยตลอด แต่ผมต้องเข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพราะสมาชิกพรรคพลังธรรมใหม่ทั่วประเทศ ต้องการให้พรรคเข้ามาปกป้องสถาบัน

นพ.ระวี ยังกล่าวต่อว่า สำหรับนายกประยุทธ์ ได้เริ่มมีการถอยบ้างแล้ว ในความขัดแย้งครั้งนี้ เช่นประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเมื่อสภามีข้อเสนอในการเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อแก้ปัญหา แต่จะสะดวกและรวดเร็วต้องให้รัฐบาลใช้มาตรา 165 ดำเนินการ เพราะเสียงฝ่ายค้านมีไม่พอจะเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ปรากฏว่าหนังสือจากสภายังไปไม่ถึงมือ ท่านนายกก็แถลงเห็นชอบแล้ว ที่จะเป็นฝ่ายเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อใช้เวทีสภาในการแก้ปัญหา นี่เป็นการถอยหลายก้าวของนายกฯแล้ว หลังจากวันนี้คงเป็นหน้าที่ของฝ่ายผู้ร่วมชุมนุมแล้วครับว่า เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในยุคโควิด ที่ประชาชนทั่วประเทศยากลำบากอย่างแสนสาหัส พวกน้อง ๆ จะถอยอย่างไร วันนี้การที่น้องๆไม่ได้มาชุมนุมปิดล้อมรัฐสภา แสดงถึงสัญญาณที่น้องๆก็ได้เริ่มถอย เพื่อประชาชน แล้วเช่นกัน

logoline