svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"นิ้วล็อค"ผลข้างเคียงใช้งานนิ้วมือหนัก

26 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการสู่สาธารณะ ว่าด้วยเรื่องของอาการจาก "โรคนิ้วล็อค" ที่มีปัจจัยมาจากการใช้งานนิ้วมือหนักเกินไป การมีพฤติกรรมซ้ำๆ รวมไปถึง การเล่นโทรศัพท์มือถือมากไป ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยง

"นิ้วล็อค"ผลข้างเคียงใช้งานนิ้วมือหนัก








ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ" โรคนิ้วล็อค" มือชา ภัยเงียบ ที่นักแชทควรรู้ ทั้งนี้โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) ผู้ป่วยที่เป็นโรคนิวล็อค มักจะมีอาการเจ็บที่ฝ่ามือตรงบริเวณใต้โคนนิ้วมือ หากเป็นมากขึ้นจะพบว่า มีอาการสะดุดเวลากำ-เหยียดนิ้วมือ โดยอาการของโรคมักพบมากหลังจากตื่นนอนตอนเช้า หรือตอนที่ใช้มือทำงานหนัก



สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค : เกิดจากอาการปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้วมืออักเสบ ซึ่งสาเหตุหลักของโรคมาจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่มีชื่อว่า A1pulley ซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบขึ้น จะทำให้เกิดการล็อคระหว่างเส้นเอ็น ที่มีหน้าที่งอนิ้วมือกับปลอกหุ้มเส้นเอ็น ทำให้ขยับนิ้วมือได้ยากขึ้นและมีอาการเจ็บบริเวณนั้น





"นิ้วล็อค"ผลข้างเคียงใช้งานนิ้วมือหนัก





ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนิ้วล็อค : ใช้งานนิ้วมือหนักเกินไป การใช้งานนิ้วมือในท่าทางเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน พฤติกรรมที่พบบ่อยแล้วทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค เช่น การใช้มือบีบ[-นวด , ถือของหนัก , การใช้นิ้วมือเกี่ยวถุงพลาสติก หรือหิ้วกระเป๋าหนัก ๆ กลุ่มพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้นิ้วมือหยิบจับของชิ้นเล็กๆ หรือทำงานเดิมๆ ซ้ำๆ ที่เริ่มพบมากขึ้นในปัจจุบันคือ การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดโรคนิ้วล็อคขึ้นได้




ความรุนแรงของโรคนิ้วล็อค แบ่งเป็น 4 ระดับ :มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลากำ-เหยียดนิ้วมือ แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วได้เอง กำมือแล้วเกิดอาการล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้เอง ต้องใช้มือช่วยง้างออก ไม่สามารถกำมือได้สุด และอาจจะมีข้อนิ้วมืองอผิดรูปร่วมด้วย



"นิ้วล็อค"ผลข้างเคียงใช้งานนิ้วมือหนัก









การรักษาโรคนิ้วล็อค แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการร่วมถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และแช่น้ำอุ่นนิ้วมือ หลังจากตื่นนอนตอนเช้าเป็นเวลานาน 5 นาที ทำการบริหารนิ้วมือ ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวดและลดอักเสบตามอาการ การฉีดยาลดการอักเสบเฉพาะที่เข้าไปบริเวณ A1 pulley ซึ่งยาที่ใช้นั้นเป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่สุดที่พบได้ก็คือ อาจทำให้เส้นเอ็นเปี่อยและขาดเองได้




การผ่าตัดเข้าไปตัด A1 pulley ร่วมกับเลาะเนื้อเยื่ออักเสบที่หุ้มเส้นเอ็นออก ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่ใช้ในการรักษา จะช่วยลดอาการปวดและทำให้เส้นเอ็นขยับได้คล่องขึ้น ไม่มีอาการสะดุดเวลาใช้งาน โดยการผ่าตัดแบบนี้ใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่ คล้ายกับการถอนฟัน ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นโรงพยาบาลเพื่อดูอาการหลังจากผ่าตัด เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วนิ้วมือ สามารถขยับได้ทันที หลังผ่าตัดเสร็จ




logoline