svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดีอีฯแฉ "น้ำล้นเขื่อนเจ้าพระยา" ข่าวปลอม

25 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมฯ เตือนข้อความ "น้ำล้นเขื่อนเจ้าพระยา" เป็นข่าวปลอม โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ย้ำจากการตรวจสอบ กรมชลประทานฯ ยืนยันไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวเรื่องปริมาณน้ำในเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูง ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ เตรียมรับน้ำท่วม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

ดีอีฯแฉ "น้ำล้นเขื่อนเจ้าพระยา" ข่าวปลอม



   ทั้งนี้ กรณีจากคลิปวิดีโอ. ที่มีการกล่าวถึงเขื่อนเจ้าพระยาผวาน้ำล้น ประกาศเตือนกรุงเทพ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ทางกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า กรมชลประทานได้ออกหนังสือแจ้งเตือน กทม. ให้เตรียมรองรับมวลน้ำ หลังเขื่อนปล่อยน้ำสูงขึ้น โดยให้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งมีจำนวน 17 ชุมชน 358 ครัวเรือนนอกคันกั้นน้ำเสี่ยง ตามเนื้อหาหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 2 เรื่อง ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งผลให้มีฝนตกหนักกระจายบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และพิจิตร

   ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีวัดน้ำ C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง รวมกันไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่ชลประทานในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกมีปริมาณมากต้องเร่งระบายออก จึงสามารถแบ่งระบายน้ำจากเหนือเขื่อนเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งได้จำกัด คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในเกณฑ์ประมาณ 900 1,100 ลบ.ม./ต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น โดยบริเวณคลองโผงเผง คลองบางบาล อำเภอบางบาล อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.60 1.00 เมตร

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบในปัจจุบัน (23 ต.ค. 63 เวลา 21.00 น.) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพียงแค่ 766 ลบ.ม./วินาที และมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปริมาณฝนในพื้นที่ตอนบนลดลง ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่า ปริมาณน้ำในอัตราดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน

ดีอีฯแฉ "น้ำล้นเขื่อนเจ้าพระยา" ข่าวปลอม


ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www1.rid.go.th หรือโทร. 02-241-0740

ดีอีฯแฉ "น้ำล้นเขื่อนเจ้าพระยา" ข่าวปลอม



บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปริมาณน้ำในอัตราดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน แต่ให้ 17 ชุมชน 358 ครัวเรือน ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำในเขตพื้นที่ กทม. เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

logoline