svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ย้อนความประติมากรรมแห่งแสง: 15.52 น.แล้วพระองค์จะยิ้มให้เรา

22 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ย้อนความจากคำสัมภาษณ์ของ ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล ผศ.คมสัน ธีรภาพวงศ์ และนายกานต์ คำแก้ว 3 นักวิชาการ ประจำคณะสถาปัตยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ่ายทอดเรื่องราว แนวคิดในแต่ละขั้นตอนของวิธีการสร้างผลงานชิ้นสำคัญของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ผ่านรายการ "TheNorth องศาเหนือ" ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่เผยแพร่ไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว แสดงถึงความรัก ความผูกพันที่มีต่อพระองค์ และสถานบันสูงสุดของชาติ

"ประติมากรรมแห่งแสง" คือชื่อของชิ้นงานที่คณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างสรรค์ไว้ จากวัสดุอลูมิเนียม คอมโพสิต ยึดไว้กับแผ่นระนาบวงกลม ขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง 5 เมตร หันระนาบไปทางทิศตะวันตก นำมาติดตั้งเหนืออาคารคณะ เมื่อวันที่ 20 ต.ค.2560 ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ต.ค.2559 เพื่อให้ประชาชนที่ยังความโศกเศร้าได้มีโอกาสรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

ประติมากรรมชิ้นนี้ จึงมีการคำนวณและออกแบบเพื่อให้แสงอาทิตย์ ในช่วงเวลา 15.00 น. 16 .00 น.ของทุกวัน เมื่อแสงส่องไปที่ คลีบอลูมิเนียม บนแผ่นระนาบแล้วจะเกิดเงาทอดลงพื้นผิวระนาบ เป็นภาพคล้ายพระพักตร์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงก้มพระพักตร์ทอดพระเนตรลงมายังเบื้องล่าง

ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล หนึ่งในผู้ร่วมสร้างผลงานชิ้นชี้ ได้อธิบายไว้ว่า จากความต้องการสร้างงานประติมากรรมแสง ที่สามารถรับแสงแดดในเวลา 15.52 น. เป็นแนวกระชับที่สุด ในวันที่ 13 ต.ค. โดยคิดร่วมกับกลไกการหมุนตัวของชิ้นผลงานด้วย เพื่อให้เกิดแสงเงารูปพระพักตร์ที่สมบูรณ์ ในเวลา 15.52 น.ของแต่ละวัน ตามการโคจรของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละเดือนได้ โดยการออกแบบเบื้องต้นใช้จากการจำลอง 3 มิติในระบบคอมพิวเตอร์

ย้อนความประติมากรรมแห่งแสง: 15.52 น.แล้วพระองค์จะยิ้มให้เรา

ย้อนความประติมากรรมแห่งแสง: 15.52 น.แล้วพระองค์จะยิ้มให้เรา

ย้อนความประติมากรรมแห่งแสง: 15.52 น.แล้วพระองค์จะยิ้มให้เรา

ย้อนความประติมากรรมแห่งแสง: 15.52 น.แล้วพระองค์จะยิ้มให้เรา

ขณะเดียวกัน ทีมงานยังได้รับคำแนะนำจาก อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินหลวง สำนักพระราชวัง เพื่อนำความรู้เชิงดาราศาสตร์มาอธิบายให้ได้เข้าใจว่า ถ้าเราคำนวณคณิตเชิงดาราศาสตร์เชิงลึกแล้ว จะพบว่าพระพักตร์ที่ออกมาในวันที่ 21 ม.ย.จะมีพระพักตร์ที่ก้มมากเกินไป ทำให้เงาที่ปรากฎไม่สวยงาม

ย้อนความประติมากรรมแห่งแสง: 15.52 น.แล้วพระองค์จะยิ้มให้เรา

ชิ้นงานนี้ จึงยังต้องถูกปรับปรุง เป็นรอบที่ 2 เพื่อเกิดเป็นประติมากรรมแสงที่สมบูรณ์ที่สุด โดยการสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่าย ทำให้การปรับแต่งมีความละเอียด ได้ตำแหน่งแสงจากดวงอาทิตย์ในองศาที่แตกต่างกันอย่างเที่ยงตรงที่สุด เมื่อบวกกับการคำนวณทำให้เราทราบว่า แต่เราก็ยังจำเป็นต้องปรับปรุงกลไกการหมุนชิ้นงานนี้

ผศ.กานต์ คำแก้ว อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายเสริมว่า เมื่อต้องแก้ไขกลไกการหมุน ให้เป็นระบบอัตโนมัติที่มีความสมบูรณ์แบบแล้ว เราจึงขอความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมเครื่องกล แต่ไม่เชิงว่า เป็นการขอความร่วมมือเพราะทุกฝ่ายพร้อมเข้ามาร่วมสนับสนุนกันมาแล้วตั้งแต่เริ่มโครงการ กระทั่งการหมุนชิ้นงานนี้ มีกลไกที่ช่วยให้งานประติกรรมแสงมีความสมบูรณ์

งานชิ้นนี้ ไม่ได้ทำเพื่อรำลึกถึงพระองค์ท่านเท่านั้น แต่เรายังได้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง ที่เข้าให้ความร่วมมือ โดยไม่มีเรื่องเงินหรืองบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องเลย เพราะทุกคนยินดีที่จะทำด้วยใจ

เราใช้แสงพระอาทิตย์ พาพระองค์จากสวรรค์ กลับมาปรากฎที่โลกมนุษย์อีกครั้ง และเป็นภาพพระพักตร์ของพระองค์ที่ยิ้มให้เราในเวลา 15.52 น.ซึ่งเคยเป็นเวลาที่คนไทยเสียใจที่สุดกันทั้งประเทศ การที่พระองค์ปรากฎตัวและยิ้มแบบนั้น ทำให้เรามีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตต่อไป หลังงานพระราชพิธี ก็จะมีสัญลักษณ์ของพระองค์ปรากฎอีก การที่เราได้สร้างงานประติมากรรมแสงชิ้นนี้ จะทำให้คนไทยไม่ลืมพระองค์

ไม่ว่าคนไทย คนไหนที่มาคณะสถาปัตยฯ ในช่วงเวลา 15.52 น.ไม่ว่าวันไหน เดือนไหน หรือปีใดก็ตาม ถ้ายังมีแสดงอาทิตย์ พวกเราก็ยังเห็นพระองค์อยู่กับเราคนไทยตลอดไป

เมื่อครั้งติดตั้งในช่วงแรก มีกำหนดการเบื้องต้นในการติดตั้งไว้จนกว่าจะครบรอบ 1 ปี แห่งการเสด็จสวรรคต แต่ภายหลังมีการหารือแล้วเห็นว่าสมควร คงประติกรรมชิ้นไว้ เนื่องจากความแข็งแรงคงทนของชิ้นงาน รวมถึงการติดตั้งก็ได้ออกแบบไว้เพื่อให้สามารถซ่อมบำรุงได้อย่างต่อเนื่อง


ย้อนความประติมากรรมแห่งแสง: 15.52 น.แล้วพระองค์จะยิ้มให้เรา


นอกจากนี้ โรงพยาบาลศิริราช ยังเป็นอีกแห่งที่มีการติดตั้ง "ประติมากรรมแห่งแสง" ไว้เหนืออาคารศรีสังวาลย์ เมื่อวันที่ 13 ต.ค.2561 เนื่องในวันครอบรอบ 2 ปี วันคล้ายสวรรคต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล ผู้ป่วย และญาติ ได้มีโอกาสพบพระองค์โดยการแหงนหน้าไปยังทิศตะวันออก แล้วพระองค์จะยังคงอยู่กับพสกนิกตลอดไป


คณะผู้สร้างสรรค์ประติมากรรมแสงผศ.ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล: ผู้ออกแบบสร้างสรรค์ผลงานผศ.กานต์ คำแก้ว: ผู้ริเริ่ม และร่วมสร้างสรรค์ อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง: คำนวณแสงเงา องศาหมุนผศ.ดร.เวชยันต์ รางศรี: สร้างกลไกหมุนรวมถึง คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่า สถาปัตย์ ม.ช. ที่ช่วยเสริมไอเดีย เป็นแรงงาน หาทุน จนงานประติกรรมสำเร็จสมบูรณ์

logoline