svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย

21 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ชวนดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทยในคืนนี้ คาดจะมีอัตราการตกสูงสุด 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใส ไร้ฝน เราจะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า .

รายงานข่าวที่น่าตื่นตาตื่นใจเช่นนี้ เป็นกระแสข่าวที่มาเฟซบุ๊กเพจ"สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ" โพสต์ข้อความสำคัญๆ ที่ชวนให้คนรักดาวเฝ้าท้องฟ้า เพื่อติดตามชมหมู่ดาว...ใจความระบุว่า


"คืนนี้ (21 ต.ค.) ตั้งแต่เวลา 23.00 น.เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า พบกับ "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทางทิศตะวันออกบริเวณกลุ่มดาวนายพราน ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ปีนี้คาดมีอัตราการตกสูงสุด 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ แนะนำสถานที่ที่ไม่มีแสงของเมืองรบกวน"

..

คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย


คืน 21 ตุลาคมนี้ มาถ่ายรูป #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ กันเถอะ!


ทางด้าน อ.แจ็ค ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ มีเคล็ดลับ #ถ่ายภาพฝนดาวตก มาฝากทุกคนเลยครับ


เกี่ยวกับฝนดาวตกโอไรออนิดส์



คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย


ปรากฏการณ์ ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (OrionidMeteors shower)ในปีนี้ ตรงกับคืนวันที่ 21 ตุลาคม2563 มีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ20 ดวงต่อชั่วโมงสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น.เป็นต้นไป จนรุ่งเช้าของอีกวัน


โดยมีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพรานทางทิศตะวันออกสำหรับปีนี้ในช่วงที่สามารถสังเกตเห็นฝนดาวตก ไม่มีแสงดวงจันทร์รบกวนเหมาะแก่การถ่ายภาพตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า

คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย


คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย



ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ หรือ ฝนดาวตกนายพรานเป็นฝนดาวตกประจำเดือนตุลาคมที่ ซึ่งฝนดาวตกโอไรโอนิดส์จะเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงวันที่20 - 22 ตุลาคมของทุกปี โดยมีอัตราการเกิดสูงสุดเฉลี่ย 20 ดวงต่อชั่วโมง มีจุดกระจายออกมาจากบริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ใกล้กับดาวเบเทลจูส (Betelgeuse) ซึ่งกลุ่มดาวนี้จะเริ่มขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลาประมาณ23.00 น.

.


คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย



คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย


คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย




ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในกลุ่มของเศษชิ้นส่วนของดาวหางฮัลเลย์ (Halley) ที่หลงเหลือจากการโคจรเข้ามาในระบบสุริยะเมื่อ23 ปีที่แล้ว ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายนของทุกปี เศษชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นก้อนอุกกาบาตขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้เข้ามาและเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจึงเกิดการลุกไหม้เราจึงเห็นดาวตกพุ่งออกมาจากบริเวณกลุ่มดาวนายพราน



สำหรับผู้สนใจถ่ายภาพฝนดาวตกคืนนี้

อ่านเทคนิคการถ่ายภาพฝนดาวตกได้ที่ http://www.narit.or.th/.../1300-orionid-meteors-shower...


คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย


คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย


คืนนี้ชวนคนรักดาว ร่วมดู "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ทั่วไทย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก :เฟซบุ๊กเพจสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, #OrionidsMeteorShower2020

logoline