svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ได้เวลาสายเจ "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"

20 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เทศกาลกินเจปี 2563 นี้ จะต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น สวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางสังคม เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ แต่ยังคงการสืบสานประเพณีเอาไว้เช่นเดิม

ในช่วงเทศกาลกินเจ ที่หลายคนอยากร่วมทำบุญควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ อาหารเจส่วนมากมักจะมีรสหวาน มัน และเค็มจัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าให้ลดการบริโภคโซเดียมลงให้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน


ได้เวลาสายเจ  "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"


ดังนั้น ทีมงานเนชั่นออนไลน์ จึงเสาะหาข้อมูลดีๆ มาฝากกัน จากข้อเขียนของ ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ถึงเคล็ดลับในการกินอาหารเจไม่ให้ไตพังมาฝากกัน


ได้เวลาสายเจ  "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"


ได้เวลาสายเจ  "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"


"กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"
ได้เวลาไปอ่านและศึกษา ทำความเข้าใจกันครับ วิธีการกินเจอย่างไร ไม่ให้ไตเรามีอันตราย หรือถึงขั้น ไตพัง รายละเอียดมีดังนี้เลือกทำอาหารเอง
การเลือกทำอาหารเองทำให้เราได้เลือกวัตถุดิบได้เอง และเลือกใช้เครื่องปรุงได้เองตามใจชอบซึ่งทำให้เรากะปริมาณในการใช้เครื่องปรุงให้เหมาะสมกับรสชาติของเราได้จึงควรถือโอกาสนี้ลดการปรุงรสจากซอส และเครื่องปรุงต่างๆลองใช้เครื่องเทศในการเพิ่มรสชาติ เน้นอาหารที่มีรสชาติไม่จัดมาก เช่น แกงจืดผัดผัก (ลดการกินส่วนที่เป็นน้ำในผัด) รวมไปถึงการลดการบริโภคน้ำซุปจากก๋วยเตี๋ยวต้ม แกงต่างๆ จะทำให้เราได้ลดการบริโภคโซเดียมลงได้เองเลือกกินผลไม้
หากอยากรับประทานอาหารหวานๆในช่วงกินเจหันมารับประทานผลไม้มากขึ้นจะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน กากใยอาหารและคุณค่าทางสารอาหารที่ดีต่อร่างกายมากมาย แทนการรับประทานขนมที่อาจทำมาจากแป้งและน้ำตาล รวมถึงของทอดต่างๆ
เลือกกินผักมากขึ้น
เหตุผลเดียวกันกับการเลือกรับประทานผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อที่ให้กากใยอาหารของผักช่วยลดปริมาณไขมันในหลอดเลือดได้ รวมไปถึงแร่ธาตุต่างๆจากผักยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อีกด้วยเลือกกินถั่วและธัญพืช
ถั่วและธัญพืชเป็นแหล่งโปรตีน และวิตามินอันหลายหลายที่ดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังให้พลังงานมีกากใยอาหารที่ช่วยให้การทำงานของระบบขับถ่ายดีขึ้นและยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายอีกด้วยเลือกสั่งอาหาร ลดมัน ลดหวาน ลดเค็ม โดยอัตโนมัติ
ทุกครั้งที่สั่งอาหารที่ร้านสั่งเพิ่มไปว่าให้ลดมัน หวาน และเค็ม ทุกครั้ง จะช่วยให้คนปรุงอาหารไม่ปรุงรสชาติจัดจนเกินไปและหากเรากินรสชาตินี้บ่อยๆ ก็จะทำให้เราคุ้นชินกับรสนั้นๆได้โดยไม่รู้สึกว่ามันจืดอีกต่อไปเลี่ยงการปรุงเพิ่ม
อาหารที่เรามักติดการปรุงเพิ่มเช่น ก๋วยเตี๋ยว สุกี้ ผัดซีอิ๊ว อาหารจานเดียวต่างๆ ที่เรามักเติมน้ำปลาพริกน้ำตาล หรือซอสต่างๆ โดยอัตโนมัติ ลองเปลี่ยนมาชิมอาหารที่จานก่อนปรุงทุกครั้งเพราะในหลายๆ ครั้งทางร้านปรุงมาให้แล้ว จึงควรลดการปรุงรสเพิ่มโดยไม่จำเป็นเลี่ยงเนื้อเทียมจากแป้ง
อาหารเจที่เป็นเนื้อสัตว์เทียมมักมีส่วนผสมเป็นแป้ง หากสามารถลด หรือเลี่ยงการกินเนื้อเทียมได้ก็จะช่วยลดการบริโภคแป้งให้กับร่างกายได้เช่นกัน นอกจากนี้เนื้อสัตว์เทียมมักมีการปรุงรส ดังนั้นหากรับประทานในปริมาณมากๆจึงอาจทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปในแต่ละวันได้เช่นกัน

ได้เวลาสายเจ  "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"

เลี่ยงขนมขบเคี้ยว


ขนมขบเคี้ยวขนมถุงทั้งหลาย มักมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูงดังนั้นหากไม่จำกัดปริมาณในการบริโภคให้เหมาะสมก็อาจทำให้เราบริโภคโซเดียมเกินปริมาณที่กำหนดในแต่ละวันได้เช่นกัน


เลี่ยงของทอดและน้ำอัดลม


อาหารทอดมักมีปริมาณไขมันสูงส่วนน้ำอัดลมก็เป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงดังนั้นอาหารทั้งสองเมนูนี้จึงควรหลีกเลี่ยง หรือรับประทานในปริมาณที่จำกัดไม่เผลอรับประทานมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้หลังออกเจน้ำหนักขึ้นได้ง่ายๆ

ได้เวลาสายเจ  "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"

เทศกาลกินเจปีนี้ มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการกินเจวิถีใหม่ เน้นรับประทานผักให้มากขึ้น ลดแป้งและของทอด บริโภคอาหารสุก สะอาดล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร เเละรับประทานอาหารทุกครั้ง รวมทั้งใส่หน้ากากผ้าและรักษาระยะห่างเมื่อต้องต่อคิวซื้ออาหาร เท่านี้ก็จะทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการได้บุญกุศลตลอดการกินเจในครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน


การแพร่ระบาดของโควิด-19ทำให้เทศกาลกินเจปีนี้ จึงต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น สวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางสังคมเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ แต่ยังคงการสืบสานประเพณีเอาไว้เช่นเดิม #อิ่มบุญ #อิ่มเจ #เจ2563


ได้เวลาสายเจ  "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"

ได้เวลาสายเจ  "กินเจ" อย่างไรไม่ให้ "ไตพัง"


ขอขอบคุณข้อมูล : ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.

logoline