svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ส.อ.ท.หนุนเปิดสภาฯ คลาย'วิกฤติ'ประเทศ

20 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ระบุ จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา ทำให้เอกชนเริ่มมีความกังวลใจ เพราะรูปแบบการประท้วงได้เปลี่ยนไปใช้วิธีดาวกระจายไปยังพื้นที่เศรษฐกิจต่าง ๆ และมีความยืดเยื้อ รวมทั้งยังเป็นห่วงว่าจะมีมือที่ 3 เข้ามาสร้างสถานการณ์ ซึ่งหากเกิดความรุนแรงก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจ และการลงทุนของไทยได้

เอกชนเห็นด้วยกับการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีให้กับผู้ที่เห็นต่างมาพูดคุยชี้แจงเจรจาแก้ปัญหากันในสภาฯ โดยรัฐบาลไม่ความเพิกเฉย เพราะทุกพรรคการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านเห็นด้วยกันแนวทางนี้ เพื่อหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกัน โดยควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วยขึ้นมาพูดคุยกันก่อน ส่วนประเด็นที่อ่อนไหวไม่สมเหตุสมผลและคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็ควรระงับไว้ก่อน ทุกฝ่ายต้องยองถอยคนละก้าว
"รัฐบาลและนักการเมืองทุกพรรค ควรนำประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เห็นตรงกันว่าควรจะแก้ไขเข้ามาหารือเร่งดำเนินการก่อนอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะช่วยผ่อนกระแสการคัดค้านได้ส่วนหนึ่ง ส่วนในหมวดใดที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้แก้ก็จะต้องคงไว้ก่อน โดยควรจะเร่งหาทางออกให้เร็นที่สุดภายในเดือนนี้ หากปล่อยให้ยืดเยื่อจะสร้างความกังวลให้กันนักธุรกิจและจะกระทบต่อเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ยังไม่มีความรุนแรงจึงยังไม่กระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก"
ในส่วนของการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบ 2 ที่เข้ามาทางเมียนมาจากแรงงานต่างด้าว ยังคงเชื่อมั่นว่ารัฐบาลสามารถรับมือได้ โดยรัฐควรจะเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องการให้แรงงานต่างด้าวเข้าประเทศ ซึ่งจะต้องเข้ามาอย่างถูกต้อง ผ่านการกักตัว 14 วันตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ซึ่งภาคเอกชนมีความเป็นห่วงในเองนี้มาก เพราะหากแรงงานในโรงงานติดโควิด-19 เพียง 1 คน ก็จะรุกลามกระจายไปทั้งโรงงาน ทำให้กระทบต่อการผลิตอย่างรุนแรง
สำหรับผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ย. 2563 อยู่ที่ระดับ 85.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 84.0 ในเดือนส.ค. 2563 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มีปัจจัยบวกจากอุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวขึ้น รวมทั้งการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในช่วงที่ผ่านมาช่วยให้กำลังซื้อในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเริ่มมีสัญญาณที่ดีภายหลังจากหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศคู่ค้านำเข้าสินค้าจากไทยได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ 55.3% , ราคาน้ำมัน 40.4% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 36.8% ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก 65.7% และอัตราแลกเปลี่ยน 42.4%
ส่วนข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในเดือนก.ย.นี้ ได้แก่ 1. เร่งเบิกจ่ายงบประมาณผ่านโครงการลงทุนภาครัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ 2. ออกมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ภายหลังการสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ในเดือนต.ค. และ3. สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตจากผู้ประกอบการในประเทศ

logoline