svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ยุโรปเจออุปสรรครับมือโควิด

19 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทวีปยุโรปกำลังเผชิญอุปสรรคในการบังคับใช้มาตการที่เข้มงวด เมื่อหลายนครใหญ่พากันต่อต้านมาตรการที่รัดกุมกว่าเดิม ท่ามกลางการเจรจาที่ตึงเครียดมาหลายวัน ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อในหลายประเทศในยุโรปล้วนทำสถิติสูงที่สุดในเดือนนี้

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ติดเชื้อสะสมทะลุ 40 ล้านคน ติดเชื้อใหม่มากกว่า 320,000 คน เสียชีวิตมากกว่า 1 ล้านคน 1 แสนคนนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษ กับแอนดี้ เบิร์นแฮม นายกเทศมนตรีเมืองแมนเชสเตอร์ ยังคงงัดข้อเรื่องการยกดับจากเทียร์-2 ไปสู่เทียร์-3 ซึ่งจอห์นสัน บอกว่า ถ้าตกลงกันไม่ได้ เขาก็จำเป็นต้องแทรกแซงด้วยการสั่งคุ้มครองโรงพยาบาลและปกป้องชีวิตชาวเมืองแมนเชสเตอร์ และให้ให้เบิร์นแฮมทบทวนจุดยืนของตัวเอง หันมาให้ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับรัฐบาล แต่เบิร์นแฮมยังคงยืนยันเงื่อนไขขอความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อคุ้มครองแรงงานภายใต้มาตรการที่เข้มข้นนับเป็นการขัดขืนที่สวนทางกับเมืองอื่น ซาดิก ข่าน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน ได้เรียกร้องให้บังคับมาตรการที่เข้มข้นตั้งแต่ก่อนจอห์นสันจะประกาศ ขณะที่ลิเวอร์พูลแลนคาสเชอร์ และภูมิภาคอื่นเห็นชอบกับรัฐบาลตั้งแต่ก่อนสุดสัปดาห์
เมื่อต้นเดือน ศาลในกรุงมาดริดของสเปน ไม่เห็นชอบต่อการให้คำสั่งล็อคดาวน์เมืองหลวงของรัฐบาล ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย ส่งผลให้ประชาชนหลายล้านคนไม่แน่ใจว่า พวกเขายังสามารถเดินทางในช่วงวันหยุดแห่งชาติได้หรือไม่ แต่ศาลระบุว่า ข้อบังคับที่ห้ามการเดินทางออกนอกเมืองหลวงกับอีก 9 เมืองปริมณฑล เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ถือเป็นการแทรกแซงสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง โดยปราศจากอำนาจตามกฎหมายแต่ที่แคว้นกาตาลุญญา ร้านอาหารได้ให้บริการเฉพาะซื้อกลับบ้าน โรงยิงและศูนย์วัฒนธรรม ให้ลดจำนวนผู้ใช้บริการลงเหลือ 50% ร้านค้าและศูนย์การค้า ห้ามรองรับลูกค้าเกิน 30%

ยุโรปเจออุปสรรครับมือโควิด

ส่วนเยอรมนี คำสั่งศาลหลายฉบับ สร้างปัญหาให้กับนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลในความพยายามรับมือผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคำสั่งศาลในกรุงเบอร์ลิน ที่ยื่นโดยกลุ่มเจ้าของธุรกิจบาร์และร้านอาหาร ที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการเคอร์ฟิวตั้งแต่เวลา 23.00-06.00 น. ที่เริ่มเมื่อ 10 ตุลาคม ซึ่งศาลพิจารณาว่าเป็นการรุกล้ำเสรีภาพของอุตสาหกรรมบริการที่ไม่ได้สัดส่วน และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า การบังคับใช้มาตรการนี้ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสได้ แต่ล่าสุด มีรายงานว่าประธานาธิบดีแฟรงค์ วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ต้องกักตัวและกำลังรอผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 หลังหนึ่งในบอดี้การ์ดติดเชื้อชาวฝรั่งเศสราว 20 ล้านคน ตกอยู่ภายใต้มาตรการเคอร์ฟิวที่บังคับใช้เมื่อวันศุกร์ เป็นเวลานานหนึ่งเดือน ที่เริ่มตั้งแต่เวลา 21.00-06.00 น. ทำให้ถนนหลายสายในปารีสกับอีก 8 เมือง ร้างตั้งแต่คืนวันเสาร์ ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง บอกว่า จำเป็นต้องใช้เคอร์ฟิวเพื่อหลีกเลี่ยงผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ท่ามกลางเสียงร้องเรียนจากบรรดาเจ้าของร้านอาหารที่ธุรกิจยังไม่ฟื้น หลังการล็อคดาวน์ครั้งแรกที่นานถึง 2 เดือนอิตาลีซึ่งเป็นประเทศแรกในยุโรปที่เผชิญการระบาดหนักตั้งแต่รอบแรก ต้องเผชิญตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันที่พุ่งสูงจากการระบาดรอบสอง นายกรัฐมนตรีจูเซปเป กอนเต้ ต้องประกาศมาตรการใหม่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ครอบคลุมกิจกรรมตามสถานที่ที่ไม่จำเป็น เช่นโรงยิม สระว่ายน้ำ และการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นต่างๆ โรงเรียนในภูมิภาคตอนใต้ รวมทั้งเนเปิลส์ ปิดเป็นเวลา 2 สัปดาห์

สวิตเซอร์แลนด์ก็เจอผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องบังคับสวมหน้ากากอนามัยในอาคารกับห้ามชุมนุมเกิน 15 คน โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันนี้ เนเธอร์แลนด์ล็อคดาวน์บางส่วนและเรียกร้องให้ประชาชนงดเดินทางถ้าไม่จำเป็น บาร์ ร้านอาหาร คอฟฟี่ช็อปทั่วประเทศ ปิดมาตั้งแต่ 14 ตุลาคม และให้จำหน่ายเฉพาะกรณีซื้อกลับบ้าน เคหะสถานต่างๆ รับแขกได้ไม่เกินวันละ 3 คนสโลวาเกียจะเพิ่มการทดสอบหาเชื้อจากคนที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเพิ่มมาตรการเข้มงวดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่รวมทั้งห้ามไปโบสถ์และการจัดงานชุมนุมอื่นๆ , ปิดศูนย์ฟิตเนสกับสระว่ายน้ำ และเรียนทางออนไลน์โปแลนด์ กำหนดเขต "red zones" ปิดโรงเรียนและโรงยิม ครอบคลุมกรุงวอร์ซอว์ด้วยรัฐบาลโปรตุเกส ประกาศจำกัดการชุมนุมไม่เกิน 5 คน พิธีแต่งงานและการประกอบพิธีทางศาสนา ให้มีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 50 คน และห้ามมหาวิทยาลัยจัดงานปาร์ตี้ ส่วนรัสเซีย ประกาศปิดโรงเรียนที่มีเด็กอายุ 13-18 ปี ในกรุงมอสโคว์ เริ่มตั้งแต่วันนี้

logoline