svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

'ปราสาทพระเทพบิดร' สถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์

13 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

'ปราสาทพระเทพบิดร' ในพระบรมมหาราชวัง เป็นปราสาทอีกหนึ่งองค์ที่มีความสำคัญอย่างมาก นอกจากงานสถาปัตยกรรมแล้ว ปราสาทพระเทพบิดร ถือเป็นสถานที่หลอมรวมจิตใจชาวไทยเอาเนื่องจากเป็นปราสาท ที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๙

สำหรับข้อมูของ 'ปราสาทพระเทพบิดร'ได้ถูกเผยแพร่ไว้เป็นความรู้มากมาย อย่างข้อมูลที่ถูกแชร์กันในวงกว้าง จากเพจเฟซบุ๊ก 'โบราณนานมา'ได้เปิดเผยเนื้อหา และเล่าถึงประวัติความเป็นมาของ ปราสาทองค์สำคัญองค์ดังกล่าว ว่า เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ โดยเนื้อหาทั้งหมดได้เล่าว่า
" ปราสาทพระเทพบิดร สถานชุมนุมแห่งบูรพกษัตริย์"ปราสาทพระเทพบิดร" เป็นปราสาทเพียงองค์เดียวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นอาคารจัตุรมุขทรงไทย ยอดปราสาททรงปรางค์ ประดับกระเบื้องเคลือบสีทั้งหลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๘ ตามแบบปราสาททอง (พระที่นั่งวิหารสมเด็จ) ในกรุงศรีอยุธยา เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระราชทานนามว่า "พระพุทธปรางค์ปราสาท"
ครั้นก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าปราสาทองค์นี้มีขนาดเล็ก ไม่เพียงพอแก่การพระราชพิธีต่าง ๆ จึงอัญเชิญพระเจดีย์กาไหล่ทองของรัชกาลที่ ๔ มาประดิษฐานเป็นประธาน ถึงปลายรัชกาลเกิดเพลิงไหม้เครื่องบนหลังคาปราสาทและพระเจดีย์กาไหล่ทองจนหมดสิ้นเมื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ๕ พระองค์ คือ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ และพระราชทานนามใหม่ว่า "ปราสาทพระเทพบิดร"

'ปราสาทพระเทพบิดร' สถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์

จากนั้นรัชกาลต่อ ๆ มา โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ประดิษฐานเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน คือ พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๙
และคำถามคือ เรารู้ได้อย่างไรว่า รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ มีพระพักตร์และพระวรกายอย่างไร เพราะกล่องถ่ายรูปเพิ่งเข้ามาและนิยมเมื่อต้นรัชกาลที่ ๔ จึงไม่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ คือ รัชกาลที่ ๔พระบรมรูปเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้อำนวยการ โดยปั้นรูปขึ้นตามคำให้การของบุคคลที่เคยเห็นพระพักตร์ของรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ซึ่งในเวลานั้นช่วยกันบอกช่างให้ปรับแก้ไป สำหรับรัชกาลที่ ๔ ไม่มีปัญหาเพราะมีทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และรูปหล่อ ส่วนรัชกาลที่ ๒ และ ๓ ในเวลานั้นก็ยังมีผู้ทันเห็นอยู่มาก ส่วนรัชกาลที่ ๑ มีผู้ทันเห็นอยู่เพียง ๔ ท่านความทรงจำ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า
"...การสร้างพระบรมรูป ๔ พระองค์นั้น โปรดฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการอธิบดีกรมช่างสิบหมู่ และเป็นช่างอย่างดีในพระองค์เองด้วย เป็นผู้อำนวยการ เมื่อปั้นหุ่นนั้นรู้พระลักษณะได้แน่แต่ขนาดพระองค์ว่าสูงเท่าใด เพราะมีพระพุทธรูปฉลองพระองค์อยู่เป็นหลัก แต่ส่วนพระรูปโฉมนั้นนอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมรูปปั้นอยู่แล้ว ต้องอาศัยไต่ถามผู้ที่ได้เคยเห็นพระองค์ให้บอกพระลักษณะและคอยติให้ช่างแก้ไขไปแต่แรกจนแล้ว ก็ในเวลานั้นผู้ที่เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีอยู่มาก แต่ผู้เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หาได้แต่ ๔ คน คือ พระองค์เจ้าหญิงปุก พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒ พระองค์ ๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังองค์ ๑ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) คน ๑ กับเจ้าพระยาธรรมาฯ (ลมั่ง สนธิรัตน) คน ๑ ปั้นพระรูปสำเร็จได้หล่อเมื่อเดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ แล้วโปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในชั้นแรก..."

'ปราสาทพระเทพบิดร' สถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์

สรุปได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ นั้นเราพอรู้ลักษณะพระวรกายแลพระพักตร์ของพระองค์ท่านได้เนื่องจากยังมีผู้ที่เกิดทันเห็นพระองค์ท่านทั้งสองอยู่เป็นจำนวนมาก "แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้นมีผู้เห็นพระองค์ท่านอยู่เพียง ๔ คน" ดังนั้นการที่จะทราบลักษณะของพระองค์ท่านได้ต้องไตร่ถามจากบุคคลที่เคยพบเห็นพระองค์ท่านมาแล้ว
จากคำบอกเล่า รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ มีพระพักตร์คล้ายกัน เพียงแต่รัชกาลที่ ๓ มีพระวรกายใหญ่กว่า การปั้นจึงสามารถใช้พระบรมรูปรัชกาลที่ ๓ เป็นหลัก เพราะมีคนทันเห็นพระองค์อยู่มาก แล้วให้ผู้ที่เกิดทันรัชกาลที่ ๑ คอยบอกเพื่อปรับแก้จนเราสามารถทราบลักษณะพระพักตร์ของพระองค์
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม, ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม และ https://bit.ly/2UPS3Bm"

'ปราสาทพระเทพบิดร' สถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์

'ปราสาทพระเทพบิดร' สถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์

'ปราสาทพระเทพบิดร' สถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์

ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก โบราณนานมา
 

'ปราสาทพระเทพบิดร' สถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์

 

logoline