svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จ่อร้อง'นายกฯ' ปม รฟม.รื้อTORสายสีส้ม

28 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ตรวจสอบกรณี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขประกวดราคาใหม่(TOR) หลังการขายซองประกวดราคาไปแล้ว

จ่อร้อง'นายกฯ' ปม รฟม.รื้อTORสายสีส้ม

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยในรายการเจาะลึกเศรฐกิจ เนชั่นบิซอินไซท์  ว่าเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา และนายศักดิ์สยาม  ชิดชอบ รมว.คมนาคม ตรวจสอบกรณีคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม. 36 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)และผู้ว่าการ รฟม.มีมติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) หลังการขายซองประกวดราคาไปแล้ว ชี้มติส่อพิรุธหลายประการและไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะเช่นนี้กับโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน 
โดยก่อนหน้านี้ได้ไปยื่นคำร้องเอาผิดคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม. 36 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้ว่าการฯ รฟม. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)แล้ว

จ่อร้อง'นายกฯ' ปม รฟม.รื้อTORสายสีส้ม



สำหรับมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.63 ที่มีการเห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น มติดังกล่าวส่อพิรุธหลายประการ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะเช่นนี้กับโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน โดยการคัดเลือกโดยการเปิดซองข้อเสนอทางเทคนิคร่วมกับข้อเสนอทางการเงิน จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะหรือไม่ เพราะจะเป็นการให้น้ำหนักในการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกได้มากกว่าแบบเดิมที่ใช้วิธีการเปิดทีละซอง ซึ่งจะทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลไม่ใช่ผู้ที่ให้ผลตอบแทนต่อรัฐสูงสุดก็ได้ ทำให้มีข่าวเล็ดลอดออกมาในลักษณะมีการวิ่งเต้นให้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเพื่อกีดกันเอกชนบางราย ซึ่งอาจเข้าข่ายการฮั้วประมูลได้
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลง TOR ใหม่หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อ 28 ม.ค.63 และยังขัดต่อการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ ตาม ม.6(3) และ ม.32 ของ พรบ.ร่วมทุนฯ 2562 ประกอบกับข้อ 8(4) ของประกาศคณะกรรมการนโยบายร่วมทุนฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน 2563 อีกด้วย ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า การคัดเลือกตั้งประเมินข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศเชิญชวนฯเท่านั้น เพราะข้อ 9 ของประกาศดังกล่าวกำหนดว่า การพิจารณาจะพิจารณาทีละซองข้อเสนอเป็นลำดับไป โดยไม่ได้กำหนดให้นำคะแนนของซองข้อเสนอด้านเทคนิคมาร่วมพิจารณากับคะแนนของซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนเพื่อหาผู้ชนะการประเมินแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังเข้าข่ายผิดต่อ ม.11 และ ม.12 แห่ง พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 อีกด้วย ดังนั้น การกระทำของคณะกรรมการคัดเลือกฯที่กล้าเปลี่ยนแปลง TOR หลังจากมีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น น่าจะเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจเข้าข่ายความผิดหลายประการที่ส่อไปในทางที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ
สมาคมฯจึงจำต้องนำความมาร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เพื่อสอบสวนเอาผิดคณะกรรมการคัดเลือกฯที่กล้าเปลี่ยน TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมทั้งผู้ว่าการ รฟม.ด้วย

logoline