svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ธนาคารสิงคโปร์ตามไทยพัวพันแฟ้มลับอื้อฉาว

22 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังธนาคารไทยมีชื่อเส้นทางทำธุรกรรมต้องสงสัย ล่าสุด สื่อสิงคโปร์แฉบ้างว่า ประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นศูนย์กลางการเงินอันดับต้นๆ ของโลก มีธนาคารถูกใช้เป็นเส้นทางทำธุรกรรมต้องสงสัยเช่นกัน

หลังจากธนาคารพาณิชย์ของไทย 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย มีรายชื่อปรากฎอยู่ในแฟ้มลับ "ฟินเซน ไฟล์ส" (FinCEN Files) ที่ระบุว่า ถูกใช้เป็นเส้นทางในการทำธุรกรรมต้องสงสัย 92 ครั้ง เป็นมูลค่ารวมกัน 41,308,752 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,294,244,508 บาท ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 ถึงเดือนมกราคม 2559 นั้น ล่าสุด สื่อสิงคโปร์ "สเตรท ไทม์ส" ได้ร่วมเปิดโปงธนาคารหลายแห่งในสิงคโปร์ ที่ทำธุรกรรมต้องสงสัย ถ่ายโอนเงินราว 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 140,000 ล้านบาท ในช่วงระหว่างปี 2543-2560 โดยธนาคารเหล่านี้ รวมทั้ง DBS, CIMB และด๊อยช์ แบงค์

รายงานระบุว่า สิงคโปร์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเงินอันดับต้นๆ ของโลก มีเงินถูกโอนเข้าประเทศราว 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถูกนำออก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้การทำธุรกรรมการเงินที่น่าสงสัย 1,781 รายการ

ธนาคารสิงคโปร์ตามไทยพัวพันแฟ้มลับอื้อฉาว



ที่มาของเรื่องนี้เกิดจาก "บัดฟีด นิวส์" (Buzzfeed News) นำเอกสารลับ 2,657 ฉบับ ที่รั่วมาจากเครือข่ายปราบปรามอาชญากรรมทางการเงิน หรือ ฟินเซน (FinCEN) สังกัดกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งในจำนวนนี้มี "รายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย" (SARs) มากกว่า 2,100 ฉบับ ไปแจกจ่ายให้กับสมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ หรือ ICIJ ที่มีนักข่าวจาก 108 องค์กร ใน 88 ประเทศ ซึ่งรายงานกิจกิจกรรมที่น่าสงสัยนี้ ธนาคารส่งให้ฟินเซน ช่วงระหว่างปี 2543-2560 โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบการธนาคารระหว่างประเทศ ที่ได้รับการคุ้มครองความลับขั้นสูงสุด



แม้จะเป็นการรายงานพฤตกรรมน่าสงสัยที่ธนาคารส่งให้ฟินเซน แต่ก็ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าเป็นการก่ออาชญากรรมหรือกระทำความผิด แต่เป็นการแสดงความกังวลว่าลูกค้าอาจทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าธนาคารไม่ได้มีส่วนในการฟอกเงินร่วมกับลูกค้า หรือกระทำการใดๆ ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งในทางกฎหมาย ธนาคารจะรู้ดีว่าลูกค้าคือใคร และถ้ามีหลักฐานว่ามีการก่ออาชญากรรมก็สมควรต้องยับยั้ง

ธนาคารสิงคโปร์ตามไทยพัวพันแฟ้มลับอื้อฉาว




แฟ้มลับได้ครอบคลุมข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินจำนวนมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 62 ล้านล้านบาท ช่วงปี 2542-2560 และชื่อของธนาคารที่ปรากฎมากที่สุด คือธนาคารใหญ่ของโลก ได้แก่ HSBC, JPMorgan, ด๊อยช์ แบงค์, สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ และแบงค์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน
ส่วน "กิจกรรมที่่น่าสงสัย" ที่ธนาคารต้องส่งรายงานนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้ยกตัวอย่าง เช่นบัญชีที่มักจะทำธุรกรรมขนาดเล็ก แต่จู่ๆ มีเงินฝากจำนวนมากเข้ามาในบัญชี หรือกรณีลูกค้าที่มีเงินฝาก 1 ล้านดอลลาร์ ตัดสินใจโอนเงินทั้งหมดไปเข้าธนาคารอื่น

logoline