svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

รู้จัก "วัณโรคปอด" ภัยเงียบ แพร่เชื้อง่าย

20 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มารู้จักกับ "วัณโรคปอด" ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ทำลายชีวิตมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ ยิ่งรู้เร็วรักษาหายได้ ไม่แพร่กระจาย พร้อมแนะวิธีสังเกตอาการของโรคนี้ และวิธีรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันจากโรคนี้

มาทำความรู้จัก วัณโรคปอด กันซึ่ง วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium ซึ่งมีหลายชนิด เชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาในประเทศไทย คือ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ 80 ส่วนวัณโรคนอกปอดเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น
การแพร่กระจายวัณโรคปอด เชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายจากปอด หลอดลม หรือกล่องเสียงของผู้ป่วยวัณโรค เมื่อผู้ป่วยไอจามพูดดังๆ ตะโกน หัวเราะ หรือร้องเพลง เชื้อเหล่านี้จะอยู่ในละอองฝอยของเสมหะที่ออกมาสู่อากาศ อนุภาคของละอองฝอยขนาดใหญ่มักตกลงพื้นและแห้ไป เหลือส่วนที่เล็กที่สุดที่มีเชื้อวัณโรคจะลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และถูกทำลายโดยแสงแดด การไอในเวลา 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อสามารถปล่อยละอองเสมหะที่มีเชื้อ ได้ตั้งแต่ 18-3,798 ละออง (Fennelly et al., 2004) เมื่อคนสูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อวัณโรคที่มีขนาดใหญ่จะติดอยู่ที่จมูกหรือลำคอ ซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ส่วนที่มีขนาดเล็กๆ จะเข้าไปสู่ที่ปอด เชื้อจะถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากมีเชื้อที่ถูกทำลายไม่หมดจะแบ่งตัวทำให้เกิดการติดเชื้อ ถ้าระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงจะสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรค

รู้จัก "วัณโรคปอด" ภัยเงียบ แพร่เชื้อง่าย

อาการสงสัยวัณโรคปอด
อาการที่สำคัญของวัณโรคปอด คือ ไอเรื้อรังนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ (มักจะเป็นตอนบ่าย เย็น หรือตอนกลางคืน) ไอมีเลือดปน เจ็บหน้าอก หายใจขัด 
ถ้ามีอาการอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป รีบตรวจหาวัณโรคที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อวัณโรค
ผู้อาศัยร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
ผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ติดเชื้อ HIV
ผู้สูงอายุ
การป้องกันโรค
ดูแลสุขภาพออกกำลังกายให้แข็งแรง
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ตรวจการทำงานของปอด
ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองโรค โดยเฉพาะผู้สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด บุคลากรทางการแพทย์
เลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค
หากมีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์
วัณโรครักษาหายได้
ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพสูง
กินยาต่อหน้าผู้ดูแลให้ครบทุกมื้อ ครบทุกเม็ดป้องกันไม่ดื้อยา
ใช้เวลาในการรักษา 6-8 เดือน
มีพี่เลี้ยงดูแลการกินยาจนครบการรักษา
ไม่หยุดยาเองหากมีอาการแพ้ยา ควรรีบปรึกษาแพทย์

รู้จัก "วัณโรคปอด" ภัยเงียบ แพร่เชื้อง่าย

logoline