svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสาร"มองโซเชียลช่วงชุมนุมเสมือนอาวุธทางการเมือง

18 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร" ชำแหละโซเชียลมีเดีย เปรียบเหมือนอาวุธทางการเมือง โดยเฉพาะช่วงการชุมนุม เพราะเต็มไปด้วยทั้งสาระ-บิดเบือน แถมรวดเร็วเข้าถึงกว่าสื่อแบบเดิม

(19 กันยายน 2563) นายพันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร กล่าวกับทีมข่าว "เนชั่นทีวี" ว่า อำนาจอันทรงพลังของโซเชียลมีเดีย ได้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ หรือปลุกระดม เพื่อการรวมตัวในกิจกรรมต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ทางการเมือง ซึ่งข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลมีเดีย จึงเต็มไปด้วยข่าวสารที่มีทั้งสาระ หรือแม้แต่ข่าวบิดเบือนและข่าวปลอม

ทั้งนี้ การสื่อสารบนโซเชียลมีเดีย ทำให้ข้อมูลข่าวสารกระจายไปด้วยความรวดเร็วและกว้างไกลกว่าการใช้สื่อแบบเดิม และทำให้รวมพลกันได้เพียงในระยะเวลาไม่นาน โดยไม่ต้องรอการนัดหมายเป็นวันๆเหมือนแต่ก่อน แต่การชุมนุมทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้น และเป็นตัวอย่างให้เห็น ถึงพลังอันทรงอำนาจของโซเชียลมีเดีย คือ การชุมนนในประเทศอียิปต์ ฮ่องกง ตุรกี 

นอกจากนี้ หรือแม้กระทั่งการชุมนุมหลายครั้งในไทย ทั้งจากกลุ่มนักเรียนและกลุ่มการเมืองต่างๆ และที่สำคัญคือ การชุมนุมลักษณะนี้ ไม่มีรูปแบบเป็นทางการ ไม่มีผู้นำที่ชัดเจน และสร้างความตระหนกให้รัฐบาลของประเทศนั้นๆอย่างมาก ฉะนั้น โซเชียลมีเดีย จึงกลายเป็นเครื่องมือของการชุมนุมประท้วงที่ได้ผลกว่าสื่อไหน 

"กลายเป็นอาวุธทางการเมือง การโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อปลุกระดมอย่างง่ายดาย ที่สำคัญคือ การปล่อยข่าวปลอม เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างมาก เพราะแพร่กระจายได้รวดเร็วมากกว่าข่าวที่เป็นความจริง โดยอาจตั้งเป็นระบบซอฟแวร์ ที่เรียกว่า "Social Bot" เพื่อกระจายข่าวปลอม" นายพันธ์ศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะออกมาเตือนผู้ชุมนุมด้วยการยกกรณีการแพร่เชื้อโควิดของประเทศต่างๆให้เห็น แต่ถึงนาทีนี้ คงไม่มีใครฟัง เพราะคำเตือนของนายกฯ แม้ว่าจะเตือนด้วยข้อเท็จจริงและความหวังดี แต่ก็จะถูกนำไปบิดเบือนว่าเป็นการขู่หรือคุกคามผู้ชุมนุม ด้วยการใช้สถานการณ์โควิดมาอ้างได้

logoline