svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กทม.บีบ BTS หั่นค่าโดยสาร-แบกหนี้สัมปทานสายสีเขียว

14 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"อัศวิน" ย้ำชัดประชาชนได้ประโยชน์จากการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เหตุค่าโดยสารตลอดสายลดลงเหลือ 65 บาท หรือ 70% ส่วนกทม.ไม่ต้องแบกหนี้ 1.1 แสนล้านบาท และหลังปี 2572 ยังได้ส่วนแบ่งรายได้เป็นเงินคืนอีกกว่าแสนล้านบาทจนครบสัมปทาน ชี้เป็นเงื่อนไขที่บีบบีทีเอสจนยอม ปัด ปรีดี ดาวฉาย ลาออกรมว.คลัง เหตุจากต่อสัมปทานสายสีเขียว

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระยะเวลา30 ปีให้กับกบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสว่าการเจรจาต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีเงื่อนไขในการพิจารณา 3 ด้าน คือ 1.ปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสสูงสุดอยู่ที่ 59 บาทแต่ยังไม่รวมส่วนต่อขยายเหนือและใต้  คือตั้งแต่สถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีคูคต ที่มีระยะทางรวม 30 กิโลเมตรและตั้งแต่สถานีแบริ่งถึงสถานีสมุทรปราการ มีระยะทางรวม 13 กิโลเมตรซึ่งในการเจรจาต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับทางบีทีเอสได้กำหนดว่าค่าโดยสารตลอดเส้นทางจะต้องไม่เกิน 65 บาทลดลงจากอัตราค่าโดยสารปกติหากคิดจากส่วนต่อขยายรวมด้วยจะอยู่ที่ประมาณกว่า 150บาท เพราะไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าในส่วนต่อขยายเพิ่มเติม คือเสียค่าแรกเข้าแค่ครั้งเดียวดังนั้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสถือว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างมาก





 

2. กทม.สามารถลดภาระหนี้ได้ถึง 1.1 แสนล้านบาทเพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในช่วงสายหลัก เป็นของกทม.แต่ส่วนต่อขยายเป็นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม. เป็นผู้ก่อสร้างและต่อมารัฐบาลได้โอนส่วนต่อขยายมาให้กทม.พร้อมทั้งหนี้ก่อสร้างประมาณ 9หมื่นล้านบาท เมื่อรวมดอกเบี้ยอีกประมาณเดือนละ 50-60 ล้านบาทจนถึงปัจจุบันรวมมูลหนี้สูงถึง 1.1 แสนล้านบาทในส่วนนี้ทางบีทีเอสจะต้องรับภาระหนี้ตรงนี้ไปทั้งหมด ทำให้กทม.สามารถปลดภาระหนี้ส่วนนี้ได้












 

3. กทม.จะมีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มมากขึ้นเพราะหลังจากปี 2572 เป็นต้นไปบีทีเอสจะต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดทั้งเส้นทางให้กทม.โดยตามหลักการในช่วงปีแรกๆ จะมีการกำหนดส่วนแบ่งรายได้ให้กักทม.ยังไม่มาก เช่นปี2574 อาจจะได้น้อยหน่อย แต่จะไปเพิ่มปีหลังๆ หรือปี 2580 ขึ้นไปก็จะได้มากขึ้นซึ่งตลอดอายุสัมปทานคาดว่ากทม.จะได้ส่วนแบ่งรายได้จากบีทีเอสสูงถึงแสนล้านบาทซึ่งการกำหนดสัดส่วนเงื่อนไขของส่วนแบ่งรายได้จะมีการเจรจากันอีกครั้งหลังจากที่ครม.อนุมัติต่อสัญญาสัมปทานและมีลงนามสัญญาแล้ว










 

"เงื่อนไขที่กล่าวมานี้กทม.ได้บีบบีทีเอสจนยอมตกลง แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือกทม.มองว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากอัตราค่าโดยสารที่ลดลงถึง 70%และกทม.ยังไม่ต้องแบกรับหนี้แสนล้านด้วย"

 







สำหรับการเจรจาต่อสัมปทานทางด่วนสายสีเขียวยืนยันว่ามีความโปร่งใส และถูกระเบียบ เพราะกทม.ไม่ได้ทำโดยพละการแต่มีกระทรวงมหาดไทยประสานกระทรวงคมนาคมตรวจสอบและร่างสัญญาที่จะมีการลงนามกับบีทีเอสยังได้ส่งไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแลวจึงมีความโปร่งใส ไม่ขัดระเบียบใดๆ











 

ส่วนประเด็นที่มีการชี้แจงในสภาฯถึงสาเหตุที่นายปรีดีดาวฉาย ลาออกจากรมว.คลัง เพราะต้องต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า ไม่มีหรอก ไม่มีเรื่องเช่นนั้นหรอกขณะที่การเสนอวาระต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าครม.นั้น เป็นเรื่องของกระทรวงการคลังที่จะดำเนินการ

logoline