svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ปภ.เตือน "เฝ้าระวัง-ป้องกัน" ดินถล่ม!

11 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะข้อควรรู้เกี่ยวกับดินถล่ม การเตรียมพร้อมรับมือ และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดดินถล่ม โดยหมั่นสังเกตความผิดปกติทางธรรมชาติ สำรวจสภาพความเสี่ยงของพื้นที่ ติดตามข้อมูลสภาพอากาศและประกาศเตือนภัย หากเกิดดินถล่มให้อพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย อยู่ให้ห่างจากลำน้ำ เลี่ยงเส้นทางที่เป็นแนวการไหลของดินหรือกระแสน้ำไหลเชี่ยว และหากพลัดตกน้ำให้ยึดเกาะต้นไม้ ห้ามว่ายน้ำหนี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากดินโคลนถล่ม

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ดินถล่มเกิดจากการเคลื่อนตัวของดินหรือหินลงมาตามที่ลาดเชิงเขา ซึ่งมีน้ำเป็นปัจจัยเสริมให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการเตรียมพร้อมรับมือและเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดดินถล่ม ดังนี้ หมั่นสังเกตความผิดปกติทางธรรมชาติ อาทิ เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน หรือนานกว่า 6 ชั่วโมง ระดับน้ำในแม่น้ำและลำห้วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ปภ.เตือน "เฝ้าระวัง-ป้องกัน" ดินถล่ม!




"โดยน้ำมีสีขุ่นมากกว่าปกติหรือเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับดินภูเขา มีกิ่งไม้หรือท่อนไม้ไหลมากับกระแสน้ำ มีเสียงดังผิดปกติจากภูเขาหรือลำห้วย อาทิ เสียงหักของต้นไม้ เสียงแตกของหิน สัตว์ป่าแตกตื่น รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งก่อสร้างบนพื้นดิน ดินบริเวณฐานรากของตึกหรือสิ่งก่อสร้างเกิดการเคลื่อนตัว โครงสร้างอาคารมีรอยแตกร้าว พื้นดินหรือถนนยุบตัว เป็นหลุมหรือมีรอยแตก ประกอบกับต้นไม้ เสาไฟ รั้ว หรือกำแพงเคลื่อนตัวในลักษณะดันตัวขึ้น เอียงตัวหรือล้มลง เกิดรอยแยกระหว่างวงกบกับประตูหรือหน้าต่างกว้างขึ้น" อธิบดีปภ. เผย

ปภ.เตือน "เฝ้าระวัง-ป้องกัน" ดินถล่ม!


นายชยพล กล่าวต่อว่า รวมถึงท่อน้ำใต้ดินแตกหรือหัก การเตรียมรับมือดินถล่ม โดยสำรวจสภาพความเสี่ยงภัยและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยในพื้นที่ หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม ให้เตรียมพร้อมรับมือ โดยติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศ ประกาศเตือนภัย ตรวจวัดปริมาณน้ำฝน รวมถึงสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งก่อสร้างบนพื้นดิน จะได้แจ้งเตือนคนในชุมชนอพยพหนีภัยได้อย่างทันท่วงที การปฏิบัติตนเมื่อเกิดดินถล่ม โดยอพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย พ้นจากแนวการไหลของดิน โดยขึ้นที่สูงหรือไปยังสถานที่ปลอดภัย ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ประสบภัยดินถล่มอย่างน้อย 2 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากลำน้ำให้มากที่สุด 







"เนื่องจากน้ำจะพัดพาดิน หิน และต้นไม้มาตามลำน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายได้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เป็นแนวการไหลของดิน หรือมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว หากจำเป็นให้ใช้เชือกผูกลำตัว พร้อมยึดเชือกไว้กับต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกระแสน้ำพัดจมน้ำ กรณีพลัดตกน้ำ ให้หาต้นไม้ใหญ่ยึดเกาะและปีนให้พ้นน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนีโดยเด็ดขาด เพราะอาจกระแทกกับซากต้นไม้หรือหินที่ไหลมาตามน้ำ ทำให้จมน้ำเสียชีวิต ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากดินโคลนถล่ม สำหรับประชนที่ประสบภัยสามารถแจ้งเหตุหรือขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะได้ประสานการให้ความช่วยเหลือต่อไป" นายชยพล กล่าว

logoline