svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"บิ๊กช้าง"ยันซื้อเรือดำน้ำเป็นไปตามระเบียบทุกขั้นตอน

09 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ชัยชาญ ช้างมงคล" ชี้แจงการจัดหาเรือดำน้ำ ไม่จำเป็นต้องใช้หนังสือมอบอำนาจเต็ม เพราะเป็นสัญญาซื้อขายเชิงพาณิชย์ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ย้ำทุกขั้นตอนเป็นไปตามระเบียบทุกประการ

(9 กันยายน 2563) พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม ชี้แจงกรณีการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ โดยเฉพาะลำที่ 1 ที่เป็นการจัดหาในปี 2560 นั้น เป็นการจัดหายุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารจากมิตรประเทศ ในลักษณะของรัฐต่อรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2530 ให้ส่วนราชการในสังกัดหนักหน่วยกำลังพล ดำเนินการได้โดยยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ ที่ครม.มีมติอนุมัติใช้และแก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งมติครม.ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้ข้อตกลงที่กำหนดขึ้น โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างกันแทนการทำสัญญาได้

ส่วนการดำเนินการนี้เป็นไปตามการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐหรือไม่นั้น ในการจัดหาเรือดำน้ำระยะที่หนึ่ง กองทัพเรือเป็นการดำเนินการโดยรัฐบาลต่อรัฐบาล และได้มีการดำเนินการตามกฏหมายตามระเบียบ ตามข้อบังคับของทางราชการทุกขั้นตอน เป็นไปตามมติครม. และได้ผ่านการพิจารณาด้านกฎหมายจากหน่วยที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานงบประมาณ 

ส่วนที่มีข้อสงสัยว่าหากเป็นการดำเนินการแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล เหตุใดจึงไม่นำร่างข้อตกลงเสนอความเห็นชอบต่อรัฐสภา และไม่มีการขอหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ซึ่งในขั้นตอนของการร่างข้อตกลงนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข้อพิจารณาว่าข้อตกลงดังกล่าวนั้ นกำหนดอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายไทย จึงไม่ได้เป็นสนธิสัญญาตามกฏหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 แต่เป็นสัญญาเชิงพาณิชย์ เป็นสัญญาซื้อขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล 

ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อตกลงนั้น อยู่ในช่วงของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ฉบับชั่วคราวอยู่ แต่วันที่กองทัพเรือไปลงนามนั้น รัฐธรรมมนูญฉบับ 2560 ได้มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในขั้นตอนการเสนอเรื่องให้ครม.พิจารณานั้นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาการดำเนินการจัดหาเรือดำน้ำประกอบมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักเกณฑ์การพิจารณาความหมายและองค์ประกอบของคำว่าหนังสือสัญญาตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 6-7/ 2551 แล้วเห็นว่าร่างข้อตกลงดังกล่าวนั้น มีลักษณะเป็นการทำสัญญาซื้อขายในเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ ในทำนองเดียวกันกับการทำสัญญาระหว่างเอกชนกับเอกชน จึงไม่ได้อยู่ในสายตาบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศและไม่ได้เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ดังนั้น เมื่อข้อตกลงฉบับนี้ไม่ได้ลักษณะของหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 แต่เป็นสัญญาเชิงพาณิชย์ ที่เป็นสัญญาซื้อขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา และไม่ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจเต็ม ในการลงนามในข้อตกลงซึ่งเป็นไปตามมติครม.เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2556 เรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม 

ที่กำหนดไว้ว่าการจัดทำความตกลงในน้ำหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของรัฐต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฏหมายของหน่วยงานนั้น โดยไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเต็ม และผู้มีอำนาจลงนามของหน่วยงานนั้นหรือผู้ได้รับมอบหมายสามารถลงนามได้ ดังนั้นกองทัพเรือสามารถลงนามในข้อตกลงนี้ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเต็มเนื่องจากไม่ได้เป็นสนธิสัญญาและไม่ได้เกิดพันธะทางกฎหมายระหว่างประเทศ

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมผู้ลงนามในข้อตกลงฝ่ายไทยจึงเป็นเสนาธิการทหารเรือ ขณะที่ฝ่ายจีนผู้แทนจาก CSOC แล้วทำไมข้อตกลงเดิมได้จ่ายเงินให้กับบริษัทเอกชนในเมื่อทำข้อตกลงในนามรัฐบาลจีน ขอชี้แจงว่าในส่วนของรัฐบาลไทยนั้นและครม.ได้อนุมัติให้ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลง ตามมติครม. ซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือได้มอบให้กับประธานคณะกรรมการจัดหาเรือดำน้ำ หรือเสนาธิการทหารเรือในขนาดนั้นเป็นผู้ลงนามในข้อตกลง

สำหรับทางฝ่ายจีนนั้น ได้มอบหมายให้องค์การบริหารงานของรัฐด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (SASTIND) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลจีนรับผิดชอบในการดำเนินการโครงการ เป็นหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของอุตาสาหกรรมป้องกันประเทศของจีน และได้มอบอำนาจให้กับ CSOC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ เป็นผู้แทนรัฐบาลจีน ซึ่งบริษัทนี้รับผิดชอบในฐานะผู้แทนรัฐบาลจีน ในเรื่องของการหาเรื่องเทคนิคราคา ตลอดจนการเจรจาและลงนามในข้อตกลง

ส่วนที่ว่าทำไมข้อตกลงในการจ่ายเงินให้กับบริษัทเอกชน ในเมื่อทำข้อตกลงกับรัฐบาลจีน ซึ่งการดำเนินการต่อเรือในครั้งนี้ SASTIND ได้ให้กลับในการยื่นข้อเสนอและเทคนิคต่างๆให้กับ CSOC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐมาในนามของรัฐบาลจีนในการใช้จ่ายค่าก่อสร้าง จึงได้โอนไปในบัญชีของ CSOC ตามงวดการชำระเงินที่อยู่ในข้อตกลง ดังนั้น ต้องแยกกันว่าเรือดับเพลิงไม่เหมือนกันกับการต่อเรือดำน้ำ ซึ่งการดำเนินการของเรือดำน้ำ เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนการดำเนินการตามมติครม.ที่เกี่ยวข้อง และได้รับการพิจารณาจากทุกหน่วย โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ได้ให้ความเห็นทุกครั้งในแต่ละขั้นตอน

logoline