svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" โมเดลพัฒนาคนในชุมชนท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลง

19 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยมีการพัฒนาในทุกด้านอย่างรวดเร็วและไม่ได้กระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองหลวงเหมือนก่อน แต่ปัจจุบันเริ่มขยายความเจริญไปสู่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อรองรับกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ทำให้ชาวบ้านในต่างจังหวัดหรือชุมชนใกล้เคียงต่างต้องเร่งปรับตัวให้ทันต่อการพัฒนา เหล่านั้นไป ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์เพื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพใหม่ ๆ





นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในเวลานี้ ได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ "New Normal" ทั้งในด้านการทำงาน การใช้ชีวิต ตลอดจนการเข้าสังคม ซึ่งหนึ่งในวิถี New Normal ที่เกิดขึ้นนั่นก็คือ การดูแลรักษาสุขภาพ ด้วยการให้ความสำคัญใส่ใจกับอาหารที่จะบริโภคว่ามีความปลอดภัยต่อสุขภาพยิ่งขึ้น


"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" โมเดลพัฒนาคนในชุมชนท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลง

พัฒนาเมือง พัฒนาคน


ชุมชนในตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่กำลังยกระดับมาตรฐานของการผลิตและการประกอบอาหารได้อย่างน่าสนใจ ด้วยความสนับสนุนจาก ปตท. ที่เข้าพัฒนาพื้นที่บริเวณ "วังจันทร์วัลเลย์" ให้เป็นเมืองต้นแบบนวัตกรรมใหม่ภายใต้เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่อย่างมากมาย ผ่านการส่งเสริมการจ้างงาน รวมถึงการขายสินค้าและอาหารการกินต่าง ๆ เนื่องจากมีผู้เข้ามาประกอบกิจการและทำงานในพื้นที่ดังกล่าวมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ


"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" โมเดลพัฒนาคนในชุมชนท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลง

ขณะที่การเติบโตของพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ โดย สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ได้เข้ามา ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อให้ชุมชนมีผักปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน หากผลผลิตเหลือจึงแบ่งปันให้แก่เพื่อนบ้าน รวมถึงผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อส่งต่อขยายผลภายในชุมชน ผ่าน "โครงการวังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน"



นอกจากนั้น ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ และผู้นำชุมชน ตำบลป่ายุบใน ยังได้ริเริ่มโครงการพัฒนาทักษะให้ชุมชนประกอบอาชีพจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพให้กับคนทำงานที่นี่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง ผ่าน "โครงการอาหารปลอดภัย"




"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" โมเดลพัฒนาคนในชุมชนท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลง

ยกระดับทักษะให้ชุมชน



โครงการอาหารปลอดภัย เป็นโครงการที่ ปตท.โดยศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ได้เข้ามาช่วยพัฒนาทักษะและส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชมตำบลป่ายุบใน ในการจัดทำอาหาร เบเกอรี่และเครื่องดื่มที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ รวมถึงการตกแต่งสถานที่จัดเลี้ยง พร้อมต่อยอดกับโครงการวังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปันในการนำผักและผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนที่สะอาด ปลอดภัย มาเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารให้มีคุณภาพ รสชาติอร่อย และถูกหลักอนามัย เพื่อรองรับการดำเนินงานจัดเลี้ยงของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์และ EECi ได้ดียิ่งขึ้น


"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" โมเดลพัฒนาคนในชุมชนท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลง

คุณอังสนา ธนังกูล ผู้จัดการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการริเริ่มโครงการนี้ ในชุมชนต่างก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีชาวบ้านจากทั้ง 8 หมู่บ้านในตำบลป่ายุบในเข้ามาร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 69 คน โดยทางศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ได้ร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) เข้ามาจัดอบรมหลักสูตรการทำอาหารคาว หวาน และงานจัดเลี้ยง ยกระดับชาวบ้านในชุมชนจากคนที่ทำอาหารขายธรรมดา สู่การทำอาหารแบบ New Normal ที่ปลอดภัย สะอาด และรสชาติดี

"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" โมเดลพัฒนาคนในชุมชนท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลง





จากนั้น ก็สนับสนุนให้ชาวบ้านรวมกลุ่มตั้งเป็นธุรกิจรับจัดเลี้ยง "ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" บริหารและดำเนินงานด้วยตนเอง โดยมี ปตท. เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำด้านการตลาด เนื่องจากธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่หรือธุรกิจแคทเทอริ่งเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นช่องทางการตลาดสมัยใหม่ของบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหาร ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ตอบสนองความต้องการของตลาดที่เริ่มต้องการธุรกิจรับจัดเลี้ยงมากขึ้น


"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" โมเดลพัฒนาคนในชุมชนท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลง

มุ่งมั่นเติบโตอย่างยั่งยืน



นับถึงปัจจุบัน โครงการนี้ได้จัดการอบรมให้ชาวบ้านในชุมชนไปแล้วหลายหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรอาหารไทย ขนมไทย งานใบตอง รวมถึงงานผูกผ้าและตกแต่งสถานที่ ทำให้ชาวบ้านชุมชนป่ายุบในสามารถเริ่มทำธุรกิจงานรับจัดเลี้ยง รวมถึงงานตกแต่งสถานที่ เพื่อพัฒนาทักษะเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้ชาวบ้านรวมเป็นเงินกว่า 2 แสนบาทในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. 62-ก.ค. 63)



อย่างไรก็ดี "ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" จะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ โดย ปตท. ยังจะร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงแรมดุสิตเพลส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการอบรมส่งเสริมความรู้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรอาหารจานเดียว เบเกอรี่ งานจัดดอกไม้ และการจัดงานเลี้ยงแบบสากล เป็นต้น เพื่อให้ธุรกิจรับจัดเลี้ยงของชุมชนแห่งนี้สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน



"ป่ายุบใน แคทเทอริ่ง" ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดจากความตั้งใจและพยายามของชุมชนท้องถิ่นในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะความสามารถของตน โดย ปตท. ขอเป็นอีกหนึ่งพลังสนับสนุนการสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับคนไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม เพื่อให้เราทุกคนสามารถข้ามผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน สำหรับชุมชนที่สนใจ สามารถติดต่อขอเข้าไปศึกษาดูงาน หรือขอคำแนะนำด้านต่าง ๆ ได้ที่ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ โดย สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. โทร. 025372000 ต่อ 19006 หรือ https://www.facebook.com/Wangchanforest

logoline