svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

กรีซประกาศขยายน่านน้ำ ตุรกีเดือด

26 สิงหาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทวีความตึงเครียดมากขึ้น เมื่อ 2 ประเทศสมาชิกกลุ่มนาโต้ อย่างกรีซและตุรกี ต่างก็เดินหน้าผลักดันเรื่องการเผชิญหน้าซึ่งกันและกัน จากกรณีการแย่งชิงพื้นที่ทางทะเลที่อยู่ระหว่างเกาะครีตกับไซปรัส

นายกรัฐมนตรีคีเรียกอส มิตโซตากิส ของกรีซ ได้ประกาศเมื่อวานว่า ประเทศของเขาจะขยายน่านน้ำในทะเลไอโอเนียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนออกไปอีก ซึ่งการกระทำตามสิทธิ์ทางด้านอธิปไตยเช่นนี้ ตุุรกี คู่ขัดแย้งของกรีซมาอย่างยาวนาน ก็เคยบอกมานานแล้วว่า เรื่องนี้ จะเป็นตัวสร้างความชอบธรรมให้กับตุรกีในการเปิดสงคราม
ตามแผนของกรีซ พรมแดนทางทะเลในทะเลไอโอเนียนของกรีซ จะถูกขยายออกไป 6-12 ไมล์ทะเล ทำให้พรมแดนทางทะเลของกรีซทางด้านตะวันตก ขยับเข้าไปทางแนวชายฝั่งตะวันออกของอิตาลี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าประหลาดใจ แต่นายกรัฐมนตรีก็บอกว่า กฏหมายที่จะดูแลในส่วนนี้ จะถูกนำเสนอต่อรัฐสภากรีซ
เขาบอกว่าเรื่องนี้สอดคล้องกับ " สิทธิทางอธิปไตยที่แบ่งแยกไม่ได้ " และ อนุสัญญาว่าด้วยกฏหมายทะเลเมื่อเร็ว ๆ นี้กรีซ ได้ทำข้อตกลง 2 ฉบับเกี่ยวกับแสวงหาแหล่งพลังงานในทะเล และเรื่องนี้เป็นตัวกำหนดพรมแดนทางทะเลของกรีซ โดยฉบับหนึ่งทำกับอิตาลี และอีกฉบับทำกับอียิปต์ ซึ่งทั้งสองฉบับที่นายกรัฐมนตรีกรีซบอกว่ามีความสำคัญในทางการเมืองและทางประวัติศาสตร์ขนานใหญ่ จะเข้าสู่การลงมติรับรองของรัฐสภากรีซในวันนี้
ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ แน่นอนว่าจะะทำให้ตุรกีโกรธ โดยรัฐสภาตุรกีได้ระะบุเอาไว้ตั้งแต่ปี 2538 ว่าหากกรีซขยายพื้นที่ทางทะเลแต่เพียงฝ่ายเดียว ตุรกีจะถือว่าเป็นการยั่งยุให้เกิดสงคราม โดยก่อนหน้านี้ ทั้งสองฝ่ายต่างก็ส่งเรือรบเข้าไปป้วนเปี้ยนในพื้นที่ รวมถึงการจัดการซ้อมรบ ขณะที่ผู้นำทั้งสองประเทศ ต่างก็พูดจาตอบโต้กันไปมา ส่วนมากก็พูดถึงเรื่องสิทธิ์ที่พวกเขาสามารถถทำได้ และพวกเขาจะยอมทำสงครามเพื่อปกป้องผลประโยชน์ ตุรกีเองก็ยั่วยุฝ่ายกรีซ โดยการส่งเรือสำรวจ ไปสำรวจแหล่งพลังงานในพื้นที่พิพาทด้วย
อย่างเมื่อวาน ด้านประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอดวน ของตุรกี ก็ออกมาเตือนกรีซว่าอย่าได้มาทดสอบความอดทน หรือความกล้าหาญของตุรกี เขาบอกว่า ใครก็ตามที่ต้องการเข้ามาขวางตุรกี และอยากเผชิญหน้ากับผลลัพธ์ ตุรกีก็ยินดีจะจัดให้

เรื่องนี้ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศต้องมาประชุมกันอย่างไม่เป็นทางการที่กรุุงเบอร์ลิน เพื่อเรียกร้องให้ทั้งฝ่ายกรีซ และตุรกียอมถอยออกจากความขัดแย้ง ที่ทางอียูมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดและซับซ้อนที่สุด
เยอรมนีพยายามเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยเรื่องนี้เพราะว่าเป็นประธานกลุ่มอียูในปัจจุบัน โดยมีการเตือนทั้งสองประเทศว่า สงครามที่เกิดขึ้น แม้จะเล็กน้อยเพียงใด ก็อาจจะเป็นความวิบัติได้ แต่ก็ดูเหมือนว่า การเกลี้ยกล่อมจะยังไม่ได้ผล

ทางอียูบอกว่าการคุยกับฝ่ายกรีซนั้นราบรื่นมากกว่า ส่วนการคุยกับฝ่ายตุรกีนั้นยากสุด ๆ เพราะตุรกีรู้สึกผิดหวังที่กรีซเป็นพวกที่เชื่อถือไม่ได้แต่อียูก็บอกว่าตอนนี้ ทางเลือกทุกอย่างถูกนำมากองอยู่บนโต๊ะเจรจาแล้ว ซึ่งก็รวมถึงการลงโทษตุรกี การใช้แรงจููงใจทั้งทางการเมืองและการทูต และการถอนใบสมัครขอเข้าเป็นสมาชิกอียูของตุรกี

logoline