svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

รู้จัก "แอมโมเนียมไนเตรท" จากการทำปุ๋ยสู่การผลิตระเบิดทั่วโลก

05 สิงหาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทำความรู้จัก "แอมโมเนียมไนเตรท" สารสำคัญที่ใช้ทำปุ๋ย ซึ่งเป็นตัวการของเหตุระเบิดครั้งใหญ่ในเลบานอนเมื่อวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา สารชนิดนี้สำคัญแค่ไหน มีความจำเป็นต่อชีวิตในปัจจุบันนี้อย่างไร วันนี้มีคำตอบ

จากเหตุ ระเบิดเลบานอน บริเวณท่าเรือในเมืองเบรุต ประเทศเลบานอน วันที่ 4 สิงหาคม 2563 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 78 คน และบาดเจ็บกว่า 4,000 คน ซึ่งพบว่าต้นตอของความรุนแรงนั้นมาจากระเบิดของสารแอมโมเนียมไนเตรต ขนาดกว่า 2,750 ตัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
แอมโมเนียมไนเตรต 2,750 ตันต้นเหตุระเบิด
วินาทีระเบิดสนั่นกลางกรุงเบรุต เมืองหลวงเลบานอน คร่าชีวิตกว่า 70 ศพ บาดเจ็บเกือบ 3 พันราย
กรุงเบรุตระเบิด พังทั้งเมือง

รู้จัก "แอมโมเนียมไนเตรท" จากการทำปุ๋ยสู่การผลิตระเบิดทั่วโลก



สำหรับ สารแอมโมเนียมไนเตรต (Ammonium nitrate) ลักษณะเป็นผงสีขาวเหมือนน้ำตาลทราย มีสูตรทางเคมีว่า NH4NO3 มีไนโตรเจนร้อยละ 34 คุณสมบัติคือ ละลายน้ำได้ดีมาก ดูดความชื้นง่ายมาก ด้วยความที่มีธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในธาตุอาหารหลักของพืช สารนี้จึงนำมาใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืชเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตาม แอมโมเนียมไนเตรท ยังเป็นสาเหตุให้เกิดระเบิดใหญ่หลายครั้ง เช่น ที่โรงงานปุ๋ยรัฐเท็กซัสของสหรัฐ เมื่อปี 2556 คร่าชีวิตประชาชน 15 คน ซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นการกระทำโดยเจตนา
ขณะที่เมื่อปี 2544 เกิดเหตุที่โรงงานเคมีเมืองตูลูส ฝรั่งเศส คร่าชีวิตประชาชน 31 คน แต่ครั้งนั้นเป็นอุบัติเหตุ โดยมีต้นตอมาจากสารแอมโมเนียมไนเตรท

เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง แอมโมเนียมไนเตรทจะกลายเป็นระเบิดกำลังแรง ใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แต่กลุ่มติดอาวุธอย่าง "ตาลีบัน" ก็เอาไปทำระเบิดแสวงเครื่องด้วย ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของสารประกอบระเบิดโจมตีเมืองโอกลาโฮมา เมื่อปี 2538

รู้จัก "แอมโมเนียมไนเตรท" จากการทำปุ๋ยสู่การผลิตระเบิดทั่วโลก


ทั้งนี้การระเบิดของแอมโมเนียมไนเตรท ต้องอาศัย 2 ปัจจัย คือ เชื้อเพลิง และออกซิเจน หรือสารออกซิไดเซอร์ (Oxidizer) ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งก๊าซออกซิเจน ด้วยเหตุผลนี้ การเก็บรักษาแอมโมเนียมไนเตรท จึงต้องดูแลเข้มงวด เช่น เก็บให้ห่างจากเชื้อเพลิงและแหล่งความร้อน
กลไกของระเบิดแอมโมเนียมไนเตรทนั้น เริ่มต้นจากการระเบิดของเชื้อปะทุ และปลดปล่อยคลื่นระเบิด (Detonation Wave) ซึ่งมีความเร็วประมาณ 3.2-4.8 กิโลเมตรต่อวินาที ออกมา ส่งผลให้สารแอมโมเนียมไนเตรทในเม็ดปุ๋ยระเหิด (เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซ) และจุดเชื้อเพลิงให้ลุกไหม้ พลังงานจากคลื่นระเบิดที่ทะลุผ่านสารแอมโมเนียมไนเตรท ทำให้โมเลกุลสลายตัว อะตอมออกซิเจนถูกปลดปล่อยออกมา และรวมตัวเป็นก๊าซออกซิเจน เร่งปฏิกิริยาหรือกระบวนการเผาไหม้ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้ผลิตผลต่อเนื่องเป็นก๊าซร้อนต่าง ๆ

ก๊าซร้อนที่เกิดในเวลาสั้นเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นความดัน (Pressure Wave) ซึ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าอัตราเร็วเสียง (330 เมตร หรือ 1,100 ฟุตต่อวินาที) คลื่นนี้อาจทำอันตรายต่อชีวิต วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ โดยรอบ นอกจากนี้ความร้อนสูงซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ ยังทำให้วัตถุโดยรอบไหม้ไฟได้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดระบุว่า อำนาจการทำลายส่วนใหญ่มาจากคลื่นความดันนี้เอง

รู้จัก "แอมโมเนียมไนเตรท" จากการทำปุ๋ยสู่การผลิตระเบิดทั่วโลก


อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการระบุว่า ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท รวมถึงปุ๋ยบางชนิดสามารถนำมาผลิตเป็นระเบิดได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดระบุว่า ส่วนผสมของปุ๋ยเคมีและเชื้อเพลิงที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้มีสัดส่วนค่อนข้างจำเพาะ หากผสมคลาดเคลื่อน จะมีผลให้ส่วนผสมทั้งหมดเกิดปฏิกิริยาติดไฟลุกไหม้ และไม่ระเบิด
ปัจจุบันแอมโมเนียมในเตรท ถูกควบคุมโดยกระทรวงกลาโหม และกรมวิชาการเกษตร ไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมี ตามประกาศ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ยกเลิกการควบคุมแอมโมเนียมไนเตรทเป็นปุ๋ยเคมีและปุ๋ยยูเรีย สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการระเบิดได้ เช่น การระเบิดหินในเหมืองแร่ต่างๆ
ซึ่งการนำยูเรียไปใช้เพื่อเป็นวัตถุระเบิดมีการควบคุมอยู่แล้ว เว้นแต่นำไปใช้เป็นปุ๋ยเท่านั้น จึงอยู่ในการควบคุมของกรมวิชาการเกษตร สำหรับกระทรวงพาณิชย์กฎหมายฉบับนี้ สามารถเป็นผู้กำกับดูแลเส้นทางเดินของปุ๋ยยูเรีย มิให้นำไปใช้เป็นวัตถุระเบิดได้เช่นเดียวกับกระทรวงกลาโหม

รู้จัก "แอมโมเนียมไนเตรท" จากการทำปุ๋ยสู่การผลิตระเบิดทั่วโลก

.

logoline