svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

นักวิชาการหวั่น 'คดีบอส'ล่าช้าอาจจะก่อม็อบ

01 สิงหาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายการ "ถามสุดซอย" ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.20 น. ทางช่องเนชั่น ช่อง 22 ดำเนินรายการโดย "ธัญญ่า ธัญญาเรศ เองตระกูล" เปิดใจสัมภาษณ์ "รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล" ผู้ช่วยอธิการบดี ประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา ม. รังสิต และ "รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก" นักวิชาการทางกฎหมาย เกาะติดดคี "นายวรยุทธ อยู่วิทยา" หรือ "บอส" ซิ่งเฟอร์รารีชนตร. เสียชีวิต ตอนนี้มีเรื่อง "โคเคน" ที่ใช้รักษาฟัน และกำลังกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม

นักวิชาการหวั่น 'คดีบอส'ล่าช้าอาจจะก่อม็อบ

เรื่องสารโคเคนเกี่ยวกับการทำฟัน มีทันตแพทย์ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้กันมาก อาจารย์มีความคิดเห็นยังไง?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "ผมคิดว่าเรื่องที่เป็นรายละเอียดในทางวิชาการเป็นที่ถกเถียงกันได้หมดแหละ แต่ถ้าหากเราไม่ไปลึกในรายละเอียดว่ามีอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง เช่นเสพสุราหรือไม่ เสพสารเสพติดหรือไม่ ความเร็วเท่าไหร่ และก่อนเกิดเหตุมีใครตัดหน้าใครมั้ย ใครเปลี่ยนเลนไม่เปลี่ยนเลน หลังเกิดเหตุเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้าเราไม่พูดในสิ่งเหล่านั้น เอาง่ายๆ ขับรถมาไม่ว่าความเร็วเท่าไหร่ ชนวัตถุที่อยู่ข้างหน้า ถ้าวัตถุนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตเราควรลงไปดูมั้ย ผมว่าคิดง่ายๆ แบบนี้ ไม่ต้องคิดไปถึงว่าสารนั้นมาจากไหน ไม่ต้องไปพูดอะไรให้มันมากความ ถ้ามีการขับรถแล้วไปชนวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นเป็นสิ่งมีชีวิต มันควรลงไปดูตั้งแต่แรกแล้ว"

การที่คุณบอสไม่ได้ลงไปมีความคิดเห็นยังไง?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "เราให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายนะ พอไม่ลงไปเพราะตกใจ ถ้าหากว่านายดาบตร.วิเชียร ขี่มอเตอร์ไซค์ตัดหน้าจริง บุคคลทั่วไป มีคนมาตัดหน้า และเราชนคนมาตัดหน้า เราสู้มั้ย ถ้าเราไม่ผิดเขาตัดหน้าเรา เราก็ต้องบอกว่าเขาตัดหน้าเรา ถูกมั้ย พอขับรถกลับไปบ้านแล้วตามพยานหลักฐานเดิม เปลี่ยนเอาบุคคลอื่นขับรถ แต่พอไปดูกล้องมันไม่ใช่ ก็ไม่สามารถดันไปแบบนั้นได้ ความเร็วผู้เชี่ยวชาญมาดูทีแรก บอก 170 กว่า ทำไปทำมา เหลือ 70 กว่า ร้อยนึงมันหายไปไหน"

"การดำเนินกระบวนการพิจารณาในส่วนเจ้าพนักงานมีสองส่วน คือพนักงานสอบสวนก็ทำสำนวนมาเรียบร้อย แต่มี 5 ข้อหาที่จะสามารถพิสูจน์ได้ง่ายๆ เช่น ถ้าเมาจริงแล้วขับรถยังไงก็ผิดอยู่แล้ว ไม่ผิดไปชนใคร ก็ต้องผิดข้อหาเมาแล้วขับ ข้อที่สอง ในรายละเอียดอื่นๆ ที่ไล่เรียงมา ทำไมปล่อยให้ขาดอายุหมดเลย เหลือข้อหาสุดท้าย ตร.อาจไม่รู้จะทำยังไง ก็มีความเห็นสั่งฟ้อง พอส่งมาที่อัยการ ท่านพิจารณายังไงก็ไม่รู้ ต่อมามีสองท่านมาบอก คนนึงเห็นเหตุการณ์ อีกคนก็บอกว่าอยู่ในละแวกนั้นเห็นเหตุการณ์เหมือนกัน แต่ทั้งคู่เห็นว่านายดาบวิเชียรมาปาดหน้ารถเฟอร์รารี่ ก็เลยเกิดอุบัติเหตุ คุณคนขับรถเฟอร์รารี่ เลยกลายเป็นว่าเหตุสุดวิสัย ใครก็แล้วแต่ในภาวะการณ์นั้นไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ต้องขับรถชนอย่างเดียว คนที่มาปาดหน้านั่นแหละผิด เลยสั่งไม่ฟ้อง เรื่องเลยไปไม่ถึงศาล"

"ทีนี้ถ้าเราลองเปรียบเทียบเรื่องลักษณะนี้ ลองไปถามอัยการทุกท่านดู เรื่องแบบนี้มีมั้ยที่ไม่ไปศาล เท่าที่สำรวจดูใน 100 เปอร์เซ็นต์ มี 99.99 เปอร์เซ็นต์ที่ไปศาล ส่วนที่ไม่ไปศาล เพราะผู้ต้องหาเสียชีวิตก่อน ก็เลยไม่ต้องไปศาล เพราะคนขับรถไปชนเขาตายก่อนขึ้นสู่ศาล"

ทำไมเรื่องนี้ถึงไม่ได้ไปศาล?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "หลายคนก็ประหลาดใจ ท่านที่มีนามสกุล มีตัวอักษรใกล้เคียงกัน มีคำว่าอยู่เนี่ย เขาบอกว่าอย่าเอามาเกี่ยวกับผมนะ เพราะครอบครัวผมไปศาล สู้กันในศาล เราไม่รู้มีนอกมีในหรือเปล่า แต่ไปสู้ในศาล แล้วก็จบออกมาจากศาล หลายๆ กรณีพอไปเทียบกับเสี่ยเบนซ์ และอีกหลายกรณี การขับรถชนในลักษณะนี้ ไม่มีหรอกที่ไม่ไปศาล ถ้าเสียหายเฉพาะทรัพย์สินพอคุยกันได้ แต่ถ้าร่างกายบาดเจ็บ มือขาด แขนหัก ขาหัก ไม่ไปศาลก็ประหลาดแล้วนะ แต่นี่มันคือชีวิต ขับรถชนคนตายยังไงก็โดนข้อหาขับรถประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย และต้องไปสู้กันในศาล"


ศาลมีอะไร ทำไมคุณบอสไม่ได้ไป?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "ผมไม่ทราบว่าคนที่ดำเนินเรื่องให้คุณบอส ศาลมีอะไรถึงไม่ไป แต่ถ้าสำหรับประชาชนทั่วไป การไปศาลอาจน่ากล้ว ทำให้รู้สึกว่าอาจมีเรื่องติดคุกติดตะราง แต่ถ้าเราไปทำอะไรที่เข้าข่ายเป็นความผิดทางกฎหมาย ศาลนี่แหละจะเป็นที่ที่พิสูจน์ที่ดีที่สุด สมมติไปศาล ถ้าทางตร. อัยการบอกมาว่า 177 แต่ทนายคุณบอสมีผู้เชี่ยวชาญมาบอกว่า 70 ดูกล้องวงจรปิด แล้วก็สู้กันไปสิครับ ตัวคุณบอสเองจะได้เข้ามาอธิบายในศาล ในกระบวนการพิจารณาของศาล ถ้าไม่ใช่กระบวนการพิจารณาลับ ผู้คนก็เข้าไปนั่งฟังได้ สื่อก็อาจเข้าไปนั่งฟังได้ ศาลก็อาจกำหนดให้รายงานแบบที่เกิดขึ้นในศาล อย่าไปบวกความคิดเห็น อย่าไปส่อเสียดอะไรเขา ทุกฝ่ายมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการนี้ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่เข้ามา"

ตอนนี้มีการตั้งคณะกรรมการเยอะมาก จนประชาชนงง มี่กี่ชุด อะไรบ้าง?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "เท่าที่ทราบมี 3 ชุด ชุดนึงชุดตร. ชุดนึงชุดอัยการ อีกชุดเป็นชุดนายกฯ เข้าใจว่าชุดตร.ทำงานไปแล้ว สรุปเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว เขาทำได้เท่านี้ แล้วถ้าให้ความเป็นธรรมกับตร. ตร.สั่งฟ้องแล้ว ควรไปศาล มาที่อัยการ ที่สั่งไม่ฟ้อง ไม่ต้องไปศาล ชุดอัยการคงไปสอบว่ามีเงื่อนงำอะไรบ้าง ชุดสุดท้ายคือชุดนายกฯ ชุดนี้คนที่เป็นประธานคือศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ ชื่นชั้นในเรื่องการทำหน้าที่เป็นที่ประจักษ์ เพราะท่านเป็นอดีตกรรมการ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และหลายคนที่เป็นกรรมการ ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่ประชาชนไว้ใจได้ ชุดนี้ประชาชนหวังมาก ว่าจะก่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม แต่ข้อที่น่ากังวลที่สุดของชุดนี้ มีสองสามอย่าง หนึ่งคำมันกว้าง เช่นการพูดว่าให้ไปหาหนทางปฏิรูป ซึ่งตอนรัฐบาลคสช. 4-5 ปี ก็พูดเรื่องปฏิรูป ก็ไม่เห็นปฏิรูปอะไรได้ แต่ให้เวลาอาจารย์วิชา 30 วัน ข้อน่ากังวลคือปฏิรูป 4-5 ปีไม่ได้ แล้วให้ปฏิรูปใน 30 วันจะทำได้ยังไง"

"สองคือให้แก้ปัญหากระบวนการยุติธรรม หรือแก้ปัญหาในเรื่องการดำเนินคดีในลักษณะแบบเดียวกันกับคดีคุณบอส อัยการ ตร. ก็ช่วยกันมาไม่รู้กี่ปี ก็ยังแก้ปัญหาการดำเนินคดีแบบนี้ ยังแก้ไม่ได้เลย ให้เวลาอาจารย์วิชา 30 วัน จะทำได้มั้ย"

นักวิชาการหวั่น 'คดีบอส'ล่าช้าอาจจะก่อม็อบ

นักวิชาการหวั่น 'คดีบอส'ล่าช้าอาจจะก่อม็อบ

ต้องแก้ยังไง?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "นี่ไง ผ่านมาหลาย 10 ปียังไม่รู้จะแก้ยังไงเลย แล้วอันสุดท้ายที่น่ากังวลที่สุด บอกว่าไม่ให้ก้าวล่วงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ สมมติชุดท่านอาจารย์วิชาพิจารณามาแล้ว อัยการทำมิชอบ ก็พูดอะไรไม่ได้ เพราะมันคือการก้าวล่วงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ถูกมั้ย คือตัวคำสั่งเป็นเรื่องน่าห่วง แต่ตัวอาจารย์วิชา ผมเชื่อว่าท่านต้องหาทางจัดการกับปัญหานี้ให้ได้ และท่านต้องบอกมาแน่ว่าปฏิรูปต้องทำยังไง แม้จะบอกว่าไม่ให้ก้าวล่วงเจ้าหน้าที่ ผมเชื่อว่าคณะกรรมการชุดนี้ต้องบอก มิชอบก็ต้องบอกว่ามิชอบ สมมติอาจารย์วิชาบอกว่ามีเงื่อนงำ มีความผิด แต่รัฐบาลไม่ดำเนินการ หรือใครก็แล้วแต่ที่รับผิดชอบก็เฉยๆ หรือหาทางออกหลีกเลี่ยงไป สุดท้ายอันนั้นคือปัญหาที่แท้จริง แล้วที่สำคัญ น้องๆ นิสิตนักศึกษา เขาก็มีความคลางแคลงในการทำหน้าที่ของรัฐบาลอยู่ ถ้าไม่จัดการเรื่องนี้ให้ดี ปล่อยให้เรื่องต่างๆ ถูกผูกโยงมาด้วยกัน ท้ายที่สุดจะเอาไม่อยู่"

คิดว่าจะมีม็อบเกิดขึ้นมั้ย?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "ท้ายที่สุดถ้าคณะอาจารย์วิชาบอกว่ามันมีเงื่อนงำ มีเรื่องมิชอบ ต้องดำเนินการ แต่ปรากฎว่าฝ่ายบ้านเมืองไม่ทำอะไร ม็อบก็จะมาและเอาเรื่องนี้ขึ้นมาอีก ม็อบก็จะจุดติด เวลามีม็อบถ้าไม่มีอะไรมาต่อเติมเชื้อไฟ มันก็จะแผ่ว แต่ถ้ามีเรื่องเรื่อยๆ มันก็เหมือนการเติมฟืนตลอดเวลา มันจะลุกลาม ถ้าไม่จัดการเรื่องนี้ให้ดี ผมคิดว่าเรื่องนี้จะถูกผนวกเข้ากับเรื่องอื่นๆ และลุกลามขึ้นมา"

จะมีตร. หรืออัยการเข้าคุกเพราะคดีนี้มั้ย?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "ถ้าถูกพบว่าทุจริตหรือทำมิชอบเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหาย ก็เข้าข่ายทำความผิดทางอาญา มีโอกาสเข้าคุก"

เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น เราจะหาความเป็นธรรมได้จากไหน?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "ตอนนี้คนมาหวังคณะกรรมการของนายกฯ ว่าจะให้ความเป็นธรรมได้ ซึ่งจริงๆ ท้ายที่สุดถ้าเข้าไปในศาล ถ้าคุณบอสไม่ผิดจริงตามพยานหลักฐาน คุณบอสก็ต้องหลุด ไม่สามารถเอาเขาเข้าคุกได้ และไม่ต้องไปใช้อารมณ์ความรู้สึก ถ้ารู้สึกว่าเหลื่อมล้ำคนรวยไม่ติดคุก มีคนพูดว่าคุกมีไว้ขังคนจนกับคนโง่ อันนี้แสดงความคิดเห็นกันได้ แต่อย่าเอาสิ่งนี้มาเป็นตัวตัดสิน ว่าเพราะคุณบอสรวย เพราะมีความเหลื่อมล้ำในสังคม ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างที่เรียน ศาลเป็นที่ที่จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย"

อยากให้คุณบอสขึ้นศาลมั้ย?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "ถ้าตามระบบกฎหมาย คุณบอสต้องไปศาลสู้คดีในศาล สิ่งหนึ่งที่คุกคามคนคือความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคม การเลือกปฏิบัติระหว่างผู้คนที่แตกต่างกัน อันนี้แหละถ้าจุดไปเรื่อยๆ ติดแน่นอน เพราะพี่น้องประชาชนมีความรู้สึก สมมติใครก็ไม่รู้ขี่มอเตอร์ไซค์ไปแล้วโดนรถซูเปอร์คาร์ชน คนนั้นเตรียมตัวผิด ไม่ใช่ซูเปอร์คาร์ผิดนะ ถ้าอยู่ดีๆ เรื่องนี้มันจบไปเลย"

ปัญหาอย่างนี้จะแก้ได้ยังไงในประเทศไทย?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "เบื้องต้นต้องแก้ให้เห็นเลยว่าคดีนี้ต้องไปศาล พอไปศาล ศาลก็ต้องพิจารณา และต้องให้สาธารณชนได้รับรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการนี้บ้างและอย่างที่บอกไปแก้ปัญหาจะปฏิรูปหรืออะไร ให้อัยการ ให้ตร. ทำอะไร ก็ทำได้"

ถ้าเรื่องนี้ไม่เคลียร์คิดว่าจะเกิดม็อบมั้ย?

รศ.ดร.เจษฎ์ : "ผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะไปผสานกับม็อบ เพราะม็อบเกิดอยู่แล้ว แล้วจะมีม็อบขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าม็อบเฉพาะเรื่องนี้อาจจะไม่เป็น แต่จะเป็นม็อบที่ไปรวมกันและเอาเรื่องนี้กลายมาเป็นอีกเรื่องที่กลายเป็นเรื่องเคลื่อนไหว"


เรื่องความเร็วสามารถเปลี่ยนจาก 170 กว่ามาเป็น 70 กว่าได้เหรอ?

ดร.กฤษณพงค์ : "เท่าที่ทราบผู้เชี่ยวชาญเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งให้การกับพนักงานสอบสวนไว้ในขณะนั้น ในปี 2555 และมีการหักล้างโดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากอีกมหาวิทยาลัย คนละท่านมาให้ความเห็น ว่าความเร็วแตกต่างกัน โดยอาจารย์ท่านแรกที่ให้ความเห็นสอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นตร.จากกองพิสูจน์หลักฐาน ให้ไว้ว่าความเร็วของรถน่าจะ 177 กิโลเมตรต่อชม. อาจารย์ท่านแรกที่มีการคำนวณใช้หลักฟิสิกส์ทั่วๆ ไป อาจารย์อีกท่านอาจใช้หลักที่แตกต่างจากท่านแรก"

"ต้องเรียนว่าต้องไปถามผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมยานยนต์ และสำคัญคืออาจารย์ท่านแรกที่วัดได้ 170 กิโลเมตรต่อชม. ท่านยืนยันว่าท่านไปตรวจตรงที่เกิดเหตุร่วมกับพนักงานสอบสวน ตร. แต่ขณะที่อาจารย์ท่านหลังดูแค่จากมือถือที่มีการถ่ายจากคลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิดจากภาพในที่เกิดเหตุมา แต่ให้ข้อสังเกตว่าเราอาจให้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้อีกสักคนดีมั้ย และต้องขอคนเป็นกลาง ไม่รู้จักผู้เสียหาย ไม่รู้จักผู้ต้องหา ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง ให้ดูและวัดเลย ความเร็วสำคัญตรงที่ถ้าผู้ต้องหาขับรถที่ความเร็ว 177 จริง นั่นหมายความว่าผู้ต้องหาขับรถเร็วเกินกว่ากำหนดและขับรถประมาทตั้งแต่แรก ก็จะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย"

นักวิชาการหวั่น 'คดีบอส'ล่าช้าอาจจะก่อม็อบ

นักวิชาการหวั่น 'คดีบอส'ล่าช้าอาจจะก่อม็อบ

อาจารย์คิดว่า 170 กว่าหรือ 70 กว่า?

ดร.กฤษณพงค์ : "เท่าที่ดูจากภาพถ่าย รถเฟอร์รารี่ที่ชนท้ายรถจักรยานยนต์ และมีการจำลองเอารถเฟอร์รารี่มาต่อท้ายรถจักรยานยนต์ ดูร่องรอยเหมือนเข้ากันได้ แต่ขณะที่ข้อมูลหลักฐานที่ปรากฎเผยแพร่ออกมาอัยการสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากว่าผู้ขับรถรถจักรยานยนต์เปลี่ยนช่องทางจราจร ตามประจักษ์พยานซึ่งโผล่มาสองปาก ถึงแม้บางท่านบอกว่ามีการสอบปากคำไว้ก่อนก็ได้ แต่การชนท้าย สภาพรถที่ชนท้าย กับสภาพรถที่ชนจากด้านข้างปาดเข้ามามีความแตกต่างกัน การชันสูตรศพผู้เสียชีวิตก็จะพบกระดูกหักแตกด้านขวา ตรงขาต้องมีร่องรอยแผล"

"แต่เท่าที่ดูตามภาพ ก็น่าเชื่อว่าเป็นลักษณะชนท้าย ประการต่อมา ถ้าขับที่ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชม. โดยสัณชาตญาณตร. ทำไมต้องหนี ถ้าไม่ผิดไม่ประมาทจริง ยืนเลยมอบตัว ให้การกับตร. ประการต่อมาปัจจุบันนี้ผู้กระทำผิดยังไม่เข้าสู่กระบวนการในชั้นศาลเลย ที่นักกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุยกันตอนนี้ ทั้งตร. อัยการ ผู้พิพากษา เขาพูดกันโดยไม่มีปรากฎเผยแพร่ในสื่อ เขามีการพูดถึงดุลยพินิจในการสั่งฟ้องไม่ฟ้อง เขาบอกว่าต้องมีการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ อย่างประเทศญี่ปุ่นมีนักวิชาการภาคประชาชนมาตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจของอัยการในการสั่งไม่ฟ้อง งั้นหมายความว่าคนเราถ้ามีอำนาจ ปราศจากการตรวจสอบการใช้อำนาจ บางครั้งก็หมิ่นเหม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ต่อคนอื่น สุดท้ายไม่เกิดความเป็นธรรม สังคมก็ไม่สงบสุข"


เรื่องสารเสพติดคิดว่าคุณบอสเสพโคเคนหรือเปล่า?

ดร.กฤษณพงค์ : "ต้องเรียนว่าพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ตัวผมเองและท่านผู้ชม ไม่มีใครทราบว่านายบอสเสพหรือไม่เสพ แต่คุณหมอมีใบยืนยันจากผลตรวจของแพทย์ พบโคเคนอยู่ในเลือดของคุณบอส อันนี้คือสิ่งยืนยัน แล้วคุณหมอเป็นคุณหมอในโรงเรียนแพทย์ เครื่องมือการตรวจรพ.รามาฯ ชั้นนำของประเทศ คุณหมอไม่มีเอนเอียง ไม่จำเป็นต้องเข้าข้างซ้ายหรือขวา สำคัญคือผลการตรวจพิสูจน์เหล่านี้ไปถึงศาล ศาลรับฟังนะครับ มีน้ำหนัก"


นักวิชาการหวั่น 'คดีบอส'ล่าช้าอาจจะก่อม็อบ


logoline