svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

โควิดทุบตลาดที่อยู่อาศัยเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลชะลอตัว

15 กรกฎาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปีนี้มีแนวโน้มหดตัว 27% เหลือเพียง 4.2 แสนล้านบาท จากโควิด-19 คาดมียูนิตเปิดใหม่เพียง 72,000 ยูนิต ลดลงเกือบ 40% โดยต้องใช้เวลา 4-5 ปี ที่ตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสศูนย์วิจัย KrungthaiCOMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้ถูกบั่นทอนอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผู้บริโภคไทยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะหดตัวอย่างรุนแรงถึง8.8% ส่วนผู้บริโภคต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ทำให้ไม่สามารถซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในไทยได้ส่งผลให้ยอดจองเปิดใหม่ (Pre-sale)ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจาก 20%ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มาอยู่ที่ 15% ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563และมีโอกาสลดต่ำลงเหลือ 12% ในไตรมาสที่ 2ปี 2563









ทั้งนี้ ประเมินว่าตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลในปีนี้ มูลค่าลดลง 27% จาก 5.7แสนล้านบาทในปีที่ผ่านมา เหลือ 4.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์บ้านจัดสรร 2.4 แสนล้านบาท ติดลบ 24% คอนโดมิเนียม 1.8แสนล้านบาท ติดลบ 30% ส่งผลให้สต็อกเหลือขายในภาพรวม มีโอกาสขยายตัว 5% ขึ้นไปแตะ185,000 ยูนิต แม้ผู้พัฒนาอสังหาฯ จะปรับลดการเปิดโครงการใหม่ลงเกือบ 40%จากปีที่ผ่านมาก็ตาม












"โควิด-19 ทำให้ความตั้งใจซื้อที่อยู่อาศัยหายไปราว 1 ใน 3 โดย 80%ของผู้บริโภคเลื่อนการซื้อออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากต้องให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการลงทุนในอสังหาฯขณะนี้ให้ผลตอบแทนไม่ดีนักซึ่งทางออกของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ฯที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือการเลื่อนการก่อสร้างออกไป รอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและคาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปีถึงจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19"

logoline