svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม

15 กรกฎาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทั่วโลกแห่อวดภาพดาวหางนีโอไวส์ ที่โคจรใกล้โลกสุด ในรอบ 7,125 ปี พร้อมลุ้นชมความสวยงาม ในวันที่ 23 กรกฎาคม นี้ ซึ่งจะเป็นวันที่โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ "ดาวหางนีโอไวส์" ขึ้นแท่นวัตถุท้องฟ้าที่นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้าจับตามองในขณะนี้ เนื่องจากมีความสว่างจนสามารถมองเห็นด้วยได้ตาเปล่า ขณะนี้มีผู้ถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ได้จากทั่วทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทยก็สามารถสังเกตได้เช่นกัน แต่เนื่องจากตรงกับช่วงฤดูฝน อาจจะต้องลุ้นเมฆกันเสียหน่อย NARIT จึงรวบรวมภาพดาวหางนีโอไวส์จากที่ต่าง ๆ มาให้ชมกัน

ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 7,125 ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 และเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีค่าอันดับความสว่างปรากฏ 1.9 (ค่าอันดับความสว่างปรากฏของวัตถุท้องฟ้าที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าประมาณ 6 ส่วนค่าอันดับความสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงประมาณ -12.6)

ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม



ขณะนี้เราสามารถเฝ้าดูดาวหางดวงนี้ได้ในช่วงรุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตำแหน่งปัจจุบันของดาวหางนีโอไวส์อยู่ในกลุ่มดาวสารถี (Auriga) หลังจากนี้ดาวหางจะเคลื่อนที่ขยับไปทางทิศเหนือผ่านกลุ่มดาวแมวป่า (Lynx)
โดยในช่วงวันที่ 1 - 16 กรกฎาคม 2563 สามารถสังเกตได้ในช่วงเช้ามืด ใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะไม่สามารถมองเห็นได้ หลังจากวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป จะสามารถสังเกตดาวหางนีโอไวส์ได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ

ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม




สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด คือช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 3.6 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า
ทั้งนี้ยังมีลุ้นว่าในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 จะเป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์ เข้าใกล้โลกที่สุด หลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หวังว่าทั่วโลกจะได้ชมความสวยงามกันอย่างถ้วนหน้า และดาวหางนีโอไวส์จะไม่แตกไปเสียก่อน

ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม



ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม



ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม




ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม


.

ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม


.

ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม


.

ดาวหางนีโอไวส์โคจรใกล้โลกสุดในรอบ7พันปี ทั่วโลกแห่ชมความงาม



ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

logoline