svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาหาร

ไขคำตอบ "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความเชื่อของหลายๆคนที่คิดว่า "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ วันนี้มีคำตอบ สำหรับคนชอบกินปลาดิบอาจต้องระวังให้มากขึ้น

 เมื่อศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (PDRC) ได้เผยแพร่บทความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ระบุถึงการพบพยาธิมากมายในปลาซาบะ รวมถึงปลาทะเลชนิดอื่นๆ ซึ่งสามารถลบล้างความเชื่อของหลายๆคนที่คิดว่า "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" ไปได้อย่างชัดเจน โดยเพจดังกล่าวระบุข้อความดังนี้...
พยาธิตัวกลมทั้งหมดนี้พบในปลาซาบะสดที่ซื้อมาจากห้างแห่งหนึ่งในบ้านเรา ตัวเล็กๆเป็นเส้นๆ จำนวน 30 กว่าตัวจากปลาซาบะตัวเดียว
พยาธิระยะตัวอ่อนจะอยู่ในอวัยวะภายในช่องท้องและกล้ามเนื้อของปลา มองเห็นด้วยตาเปล่าขนาดประมาณ 1-2 ซม. X 0.3-0.5 มม.
ปกติแล้ว ปลาทะเลเมื่อนำมาจากทะเล จะแช่แข็ง -20 ถึง -35 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 1-2 วัน เพื่อกำจัดพยาธิ เวลาท่านชำแหละเนื้อปลาหากพบพยาธินิ่งสนิทแสดงว่าตาย แต่หากพบเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งอาจจะพบได้เช่นกัน ก็ควรงดการรับประทานดิบ
หลายท่านอาจจะมีความเชื่อว่า ปลาทะเลไม่มีพยาธิ ความจริงแล้วมีเยอะมากเช่นกัน มีการสำรวจชนิดพยาธิในปลาซาบะ หลายงานวิจัย พบพยาธิ Kudoa sp., didymozoid sp., Anisakis sp., Rhadinorhynchus sp., Pseudokuhnia sp. เป็นต้น
ที่เห็นในภาพนี้ จำแนกด้วยสายตาระบุได้ยากว่าคือชนิดใด จำเป็นต้องตรวจทางชีวโมเลกุล แต่เทียบเคียงคร่าวๆได้ใกล้เคียงกับพยาธิ Anisakis ที่พบได้บ่อยในปลาทะเล อาทิ ปลาเซลม่อน ปลาเทร้าท์ ปลาคอด ปลาเฮอริ่ง ปลาซาบะ เป็นต้น

อาการที่พบเมื่อติดพยาธิ จะเริ่มเกิดหลังรับประทานอาหารที่มีพยาธินี้ เป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน มีอาการ ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด คล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร อาจมีอาการท้องเสีย หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อาการเหล่านี้จะเกิดจากการเคลื่อนที่ไชในกระเพาะอาหาร และลำไส้

ไขคำตอบ "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" จริงหรือ?

logoline