svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

PODCAST สรุปให้ฟัง EP13 - #Saveสีน้ำเงินพลังของนักเรียน กับอำนาจเสียงของคุณครู

10 กรกฎาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สวัสดีค่ะคุณผู้ฟัง ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ PODCAST สรุปให้ฟังค่ะ วันนี้ต้องบอกว่า ประเด็นที่เราจะหยิบมาสรุปให้ท่านผู้ฟังๆกัน อาจเป็นเรื่องที่ไกลตัวไปซะหน่อย แต่ นี่คือสิ่งที่คนในสังคมกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ที่ในอนาคตจะเติบโตขึ้นมาพัฒนาชาติเราพวกเราต่อจากผู้ใหญ่อย่างเราๆ ตอนนี้พวกเขากำลังเรียกร้อง ทวงถามสิทธิความเท่าเทียมของนักเรียนอย่างที่ควรจะเป็นกันอยู่ค่ะ

เรื่องนี้ กลับขึ้นมาน่าจับตามองอีกครั้ง เมื่อแฮชแท็ก saveสีน้ำเงิน กำลังขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังจากที่เคยเปนกระแสมาแล้ว1 ครั้ง เมื่อต้นปี ในวันนี้ค่ะ #saveสีน้ำเงิน ได้กลับมาขึ้นเทรนอีกครั้งและดูเหมือนว่าจะร้อนแรงกว่าที่เคย หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า #saveสีน้ำเงิน คืออะไร วันนี้เราจะมาสรุปให้ฟังค่ะ


แล้ว #saveสีน้ำเงิน คืออะไรล่ะมันคือเรื่องราวระหว่างนักเรียนและครู ที่มีการเรียกร้องสิทธิของนักเรียนและความเท่าเทียม เมื่อครูคนหนึ่งพิมพ์รายชื่อนักเรียนม.ปลายในโรงเรียนพร้อมคณะที่นักเรียนแต่ละคนได้เรียน ซึ่งครูใช้ฟอนต์สีแดงเขียวกับคณะที่โด่งดัง และสีน้ำเงินบนคณะที่ไม่ดัง ไม่เป็นที่ชื่นชมของครูจึงเป็นที่มาของ #saveสีน้้ำเงิน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความไม่เหมาะสมของครู


แต่โดยคราวนี้ที่แฮชแท็กกลับมาขึ้นเทรนด์อีกครั้งเป็นเพราะว่าครูใช้คำไม่สุภาพ ว่านักเรียนที่ไม่ตัดผมลงโซเชียล แม้ทรงผมของนร. ถูกตามกฎระเบียบของโรงเรียนแล้วก็ตาม


กฏระเบียบที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียนพ.ศ. ๒๕๖๓ ออกมาอย่างชัดเจนแล้ว ว่า นักเรียนหญิงและนักเรียนชายจะไว้ผมยาวหรือสั้นก็ได้ แต่จะต้องไม่ ดัด ตัดทรงลวดลาย หรือทำสีผมที่ผิดไปจากเดิมแต่กระนั้น โรงเรียน กลับไม่ยึด


ตามกฎที่ทางกระทรวงได้ออกกฎมาใหม่ ยังคงยึดกฎเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515ซึ่งก็นานมากจริงๆ คุณผู้ฟังหลายท่านอาจจะยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ กฏเมื่อปี2515ได้ระบุว่าให้นักเรียนชายจะต้องตัดผมเกรียนติดหนังศีรษะ ส่วนนักเรียนหญิงก็ต้องตัดผมสั้นเสมอติ่งหูของตนเอง หรือหากทางโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้น ก็ต้องให้รวบผมให้เรียบร้อยมิหนำซ้ำบางโรงเรียนก็ได้มีการเพิ่มเติมกฎเกี่ยวกับทรงผม การแต่งกาย โดยอ้างว่านี่คือกฎระเบียบข้อบังคับของทางโรงเรียนที่มีมาอย่างยาวนาน


กฎระเบียบใหม่ก็ออกมาแล้ว ทำไมไม่ใช้ บางทีก็สงสัย จดหมายจากกระทรวงศึกษาธิการส่งไม่ถึง หรือ รู้แต่ไม่ทำ ยึดแต่สิ่งเดิมแถมตั้งข้อบังคับเพิ่มขึ้นมาตามดุลยพินิจความพอใจของแต่ละโรงเรียนไปอีก


ถ้าบอกว่า การที่นักเรียนไว้ผมยาวคือไม่ทำตามกฎ งั้น โรงเรียน ก็ไม่ทำตามกฎกระทรวงด้วยรึป่าว


ด้วยเหตุดังกล่าวนี่คะ จึงเป็นที่มาการเรียกร้องสิทธิของนักเรียน ทวงถามความยุติธรรมของนักเรียนที่โดนกระทำล้ำเส้นสิทธิมนุษยชน


กฎมีไว้แหก คำนี้เหมือนว่าจะใช้ได้ กฎมีไว้ก็เท่านั้น ขนาด ครู ยังไม่เชื่อฟังกฏระเบียบของกระทรวงเลย ไม่สิ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเลย กฎเปลี่ยนแล้ว ทำไมครูไม่ยอมเปลี่ยน


จากกรณีที่มีข่าวครูตัดผมนักเรียน หรือกล้อนผมนักเรียน ในช่วงเปิดเทอมนั้น ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี หลายคนอาจมองเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่หากคนที่รู้ด้วยกฎระเบียบนี้แล้วออกมาเรียกร้องสิทธิ์ แต่กลับโดนกระแสวิพากษ์วิจารณ์หนักมาก เรื่องนี้ คนที่จะเจ็บที่สุดอาจจะเป็นคนที่เรียกร้องสิทธิที่ควรจะได้ให้กับตัวเอง อย่างกรณีน้อง ที่โดนตัดผม แล้วโดนเพื่อนทั้งโรงเรียน คนทั้งจังหวัด รุมกระหนำทั้งโซเซียล บ้างก็มองว่า ทำให้โรงเรียนเสียหาย ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่


ล่าสุดปลัดศธ.ก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่า ทุกโรงเรียนต้องออกกฎทรงผมใหม่ตามระเบียบกระทรวงฯ ปี63ห้ามใช้กฎเดิม ย้ำ ห้ามใช้กฎเดิม!! โดยกระทรวงฯ จะส่งหนังสือถึงทุกโรงเรียนเพื่อยืนยันให้ปฏิบัติตามนี้อีกครั้ง


ซึ่งก็ดูเหมือนว่าเรื่องนี้ไฟจะมอดลงแบบสวยๆละ แต่แล้วค่ะคุณผู้ฟัง ก็มีประเด็นคุณครูท่านนึง ในจังหวัดพิจิตร ได้โพสต์แคปชั่นว่า


"เปิดเทอมก็ต้องปรับตัวนิดนึง เพราะนอกจากต้องเจอเด็กเห่อxมอย(วัยรุ่น)แล้วต้องเจอเด็กเห่อผมอีก ขอเวลานิดเดี๋ยวก็ชิน"


หลังจากที่โพสต์นี้ออกไป ชาวเน็ตก็ได้ต่างออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย พร้อมกับติด#Saveสีน้ำเงิน จนติดเทรนทวิตเตอร์ไทยแลนด์อีกครั้งค่ะ


จริงอยู่ ที่นักเรียนทุกคนจะต้องปฏิบัติตน ตามกฏข้อบังคับของทางโรงเรียน เพื่อเป็นการสอนและเป็นการเตรียม นร.ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่การที่โรงเรียน ยังไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบของทางกระทรวง แบบนี้..เราควรจะเชื่อฟังใครดี?


นักเรียนไว้ผมยาว เป็นความผิด โดนทำโทษ ตัดผมประจาน แต่ครูตัดผมนักเรียน กลับไม่ผิด แม้กฏกระทรวงจะออกมาใหม่แล้วก็ตาม ว่าครูตัดผมนักเรียนไม่ได้ แล้วอย่างงี้ ความเท่าเทียมอยู่ตรงไหน


พลังเสียงของนักเรียนตัวเล็กๆ กับ อำนาจเสียงของครูท่านใหญ่ๆ สรุปนักเรียนมีสิทธิเป็นของตัวเองไหม สังคมมีความคิดเห็นเป็นเช่นไร ฝากไว้ให้คิดค่ะ


>> รับฟัง PODCAST ได้ที่นี้ <<

logoline