svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)

07 กรกฎาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมและถ่ายภาพดาวศุกร์ที่จะ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี ช่วงเช้ามืดวันที่ 8 ก.ค. 63 ตั้งแต่เวลา 03.25 น. เป็นต้นไป พร้อมแนะนำเทคนิคง่ายๆสำหรับการถ่ายภาพดาวศุกร์ครั้งนี้

โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในช่วงเช้ามืดวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุดอีกครั้งและเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้ จึงอยากชวนมาลุ้นถ่ายภาพดาวศุกร์สว่างที่สุดกัน โดยดาวศุกร์จะสว่างเด่นเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออกบริเวณกลุ่มดาววัว ตั้งแต่เวลาประมาณ 03:25 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า
ปรากฏการณ์ดาวศุกร์สว่างมากที่สุดในรอบปีนั้น มาสาเหตุเนื่องจากเป็นช่วงที่ดาวศุกร์มีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่ และโคจรห่างจากโลกในระยะทางที่เหมาะสม สำหรับในช่วงวันอื่น ๆ แม้ดาวศุกร์จะมีเสี้ยวที่หนากว่า แต่ด้วยตำแหน่งอยู่ห่างจากโลกมาก ความสว่างจึงลดลงตามไปด้วย

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)


(ภาพจำลองตำแหน่งดาวศุกร์ ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เวลา 05.00 น. ทางทิศตะวันออก โดยจะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้กับดาวอัลดิบาแรน และกระจุกดาวลูกไก่ บริเวณกลุ่มดาววัว)

การสังเกตดาวศุกร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)


การสังเกตการณ์ดาวศุกร์ด้วยตาเปล่านั้น เราจะมองเห็นเป็นดาวสว่างที่สุดบนท้องฟ้าไม่กระพริบแสง ซึ่งแสงสว่างจากดาวศุกร์นั้นเกิดจากการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ หากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป จะสามารถมองเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวอยู่เสมอ ความหนาบางของเสี้ยวแตกต่างกันไปในแต่ละตำแหน่งของวงโคจร และปรากฏอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ได้มากที่สุดไม่เกิน 47 องศา จึงสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นหรือหลังดวงอาทิตย์ตกเท่านั้น ไม่เคยปรากฏอยู่กลางท้องฟ้าหรือในช่วงเวลาดึก
ทั้งนี้ หากเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำ คนไทยมักเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" หากเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันออกในช่วงเช้ามืด คนไทยมักเรียกว่า "ดาวประกายพรึก"
การถ่ายภาพดาวศุกร์ในช่วงสว่างที่สุดในรอบปี
สำหรับการถ่ายภาพดาวศุกร์ในช่วงสว่างที่สุดในรอบปีนั้น สามารถถ่ายภาพด้วยเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้
1. เลือกใช้กล้องและเลนส์ที่เหมาะสมกับมุมรับภาพ โดยสามารถจำลองมุมรับภาพได้จากโปรแกรม Stellarium ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง เป็นการเลือกใช้กล้องดิจิตอลแบบ Full Frame กับเลนส์ทางยาวโฟกัส 70 mm. ที่จัดองค์ประกอบภาพโดยให้ดาวศุกร์กับกลุ่มดาววัวและกระจุกดาวลูกไก่ไว่ในเฟรมเดียวกัน (อ่านต่อ เทคนิคการหามุมรับภาพจากโปรแกรม Stellarium ตามลิงก์ : https://bit.ly/2Dcismp)

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)


2. คำนวณเวลาถ่ายภาพโดยใช้สูตร Rule of 400/600 เพื่อป้องกันไม่ให้ดาวยืดเป็นเส้น (รายละเอียดตามลิงค์ https://bit.ly/2VIaIPt)

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)

.

3. ใช้ Star Filter เพื่อให้ได้ดาวเป็นแฉกที่โดดเด่นสวยงาม ทั้งนี้นอกจากการเพิ่มแฉกดาวด้วย Star Filter แล้ว เรายังสามารถสร้างแฉกดาวด้วยวิธีง่ายๆ ด้วยการขึงเอ็นเป็นรูปกากบาทไว้ที่ด้านหน้าเลนส์ ก็สามารถสร้างให้จุดดาวสว่างกลมๆ เป็นแฉกขึ้นมาได้006

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)


(ตัวอย่าง Star Filter ที่ช่วยให้ภาพจุดสว่าง เช่น แสงดาวเป็นแฉกที่โดดเด่นสวยงาม)

ชวนชมดาวศุกร์ "สว่างที่สุด" ครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืดพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 63)


(ตัวอย่างการใช้เส้นด้าย/เส้นเอ็น เล็กๆ มาขึงที่หน้าเลนส์ ก็สามารถสร้างแฉกให้กับภาพดวงดาวได้เช่นกัน)
4. ใช้ค่ารูรับแสงกว้าง เพื่อให้กล้องมีความไวแสงมากที่สุด เช่น f/1.4 หรือค่ารูรับแสงที่กว้างสุดของเลนส์ที่เรามี
5. ใช้ค่าความไวแสงสูง (ISO) เพื่อให้ภาพไม่มืดมากเกินไป ทั้งนี้ค่าความไวแสงนั้นจะขึ้นกับหลายปัจจัย ทั้งรูรับแสงและเวลาการเปิดรับแสงที่คำนวณจากสูตร Rule of 400/600
ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

logoline