svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

แกะรอยออนไลน์ 15 ชื่อรับโอนเงินคณะก้าวหน้า

07 กรกฎาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนจากคณะก้าวหน้าว่าได้โอนเงินบริจาคจำนวน 3,000 บาท เข้าบัญชี 15 รายชื่อที่ หมอวรงค์ เดชกิจวิกรม ออกมาอ้างข้อมูลว่าเป็น "อวตาร" จริงหรือไม่ โดย "คุณช่อ" พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า เตรียมเปิดข้อมูลเพิ่มเติมในวันพรุ่งนี้ แต่ตัว "คุณช่อ" ไม่ได้มาแถลง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทีมทนาย

เรื่องนี้ทำท่าจะเป็นหนังม้วนยาว เพราะแกนนำคณะก้าวหน้ารายหนึ่งบอกว่า"เนชั่นทีวี" ว่า จะไม่มีการเปิดเผยสเตทเมนท์พร้อมเลขบัญชีที่รับโอนอย่างแน่นอน โดยข้อมูลจะนำไปเปิดในศาลเท่านั้นเหตุนี้เองในวันพรุ่งนี้ก็คงต้องรอดูข้อมูลของ หมอวรงค์ ว่าทำไมจึงเชื่อว่าทั้ง 15 รายชื่อไม่มีตัวตนจริง




"เนชั่นทีวี"ตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 15รายชื่อที่หมอวรงค์นำมาเปิดเผย พบว่ามี 3ชื่อเท่านั้นที่พบร่องรอยปรากฏอยู่บ้างในโลกออนไลน์

 


เริ่มที่คนแรก คุณกมลพร ปัตคาเคนัง ซึ่งจากการตรวจสอบ ไม่พบว่ามีชื่อ กมลพร ปัตคาเคนัง มีแต่ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า "กมลพร ปัตตาเคนัง"เมื่อทีมข่าวเข้าไปตรวจดูรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวเจ้าของบัญชีพบภาพผู้หญิงอายุประมาณ 40 ปีเศษๆแต่ไม่มีรายละเอียดอื่นๆ ที่ระบุตัวตนเลย นอกจากข้อมูลที่บอกว่าอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และการโพสต์ภาพโปร์ไฟล์ โพสต์ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปี 2017



ชื่อต่อมา คุณพยนต์ ภาสดา จากการตรวจสอบพบว่ามีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อเดียวกันนี้ / ดูจากภาพในเฟซบุ๊ก น่าจะเป็นคุณพ่อลูกสามเพราะมีการนำภาพของเด็กๆ มาใช้เป็นภาพโปรไฟล์และมีข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับคุณพยนต์ว่าทำงานด้านการนำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ / อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครที่สำคัญคือไม่มีการโพสต์ข้อความหรือแชร์ข้อมูลอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลย

 

อีกชื่อหนึ่งที่พบร่องรอยในโลกออนไลน์ คือ คุณเทพวรรณ สุขสุสินธุ์แม้ไม่พบข้อมูลในเฟซบุ๊กแบบ 2 คนแรกแต่พบว่า คุณเทพวรรณได้เคยสร้างแคมเปญรณรงค์ร้องเรียนผู้ประกันสังคมผ่านเว็บไซต์ของ Change.org ในหัวข้อ"อยากให้สำนักงานประกันสังคมให้สิทธิ์ผู้ประกันตนว่าจะเลือกรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพได้"

 


ทั้งหมดนี้เป็นการเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นไม่ได้ฟันธงว่าใครเป็นอวตารหรือไม่ได้เป็นเพราะการที่บัญชีเฟซบุ๊กมีภาพหรือมีโพสต์น้อย อาจเป็นไปได้ว่าเจ้าของบัญชีปิดกั้นบุคคลอื่นแต่อนุญาตให้เฉพาะผู้ที่เป็นเพื่อนในเฟซบุ๊กเข้าไปดูได้เท่านั้น


แต่ก็มีข้อสังเกตเช่นกันว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่คนทั่วไปที่เปิดเฟซบุ๊ก จะไม่ตั้งค่าเป็น"สาธารณะ" ยกเว้นมีกลุ่มที่ต้องการสื่อสารเฉพาะจริงๆเพราะโดยปกติการใช้โซเชียลมีเดียก็เพื่อเปิดเผยตัวตนและรับรู้ข้อมูลข่าวสารของบุคคลอื่นในโลกอินเทอร์เน้ต


ขณะเดียวกันที่ผ่านมาก็มีคนหัวใสใช้ช่องทางการเปิดบัญชีเฟซบุ๊กโดยไม่ระบุตัวตนจริงที่เรียกว่า "อวตาร" ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือสวมชื่อบุคคลอื่นมาเปิดเฟซบุ๊ก โดยไม่ได้โพสต์ภาพหรือข้อความของตนแต่ใช้เพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง สร้างกระแส ปั่นกระแสวิจารณ์โจมตีคนที่เห็นต่าง ซึ่งวิธีการเหล่านี้ก็มีให้เห็นอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

logoline