svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ทางรอดจาก "ตุลามหาวิกฤต" เศรษฐกิจไทยในยุคโควิด-19

29 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กลุ่มแคร์ คิด เคลื่อนไทย จัดเสวนา "150 วันอันตราย" น่ากลัวกว่าที่คิด! ถึงประเด็นปัญหาเศรษฐกิจของบ้านเราในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 ซึ่งแม้ว่าตอนนี้จะมีพบผู้ติดเชื้อเพิ่มแล้ว แต่สิ่งสำคัญอยากให้รัฐบาลรีบดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยทางกลุ่มเสนอให้ทุ่มงบประมาณ 2 ล้านล้านบาทช่วยเหลือกลุ่ม SME

กลุ่มแคร์ คิด เคลื่อนไทย จัดเวทีเสวนา ทางรอดจาก "ตุลามหาวิกฤติ" ซึ่งเป็นการจัดเสวนาทางออกปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่จะวิกฤตที่สุดในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากมีการแพร่ระบาดของโควิด -19
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงค์ลี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขมองว่า จากสถานการณ์ขณะนี้ที่ไม่พบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมานานกว่า 30 วัน รัฐบาลไม่จำเป็นต้องต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้ว แต่ให้ใช้ พ.ร.บ.อื่นในในการควบคุมสถานการณ์แทน เช่น พ.ร.บ.โรคติดต่อ เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยมีระบบการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดมาอย่างดี และยังได้รับการยอมรับจากทั่วโลก แต่สิ่งที่น่ากังวลไม่แพ้กัน คือระบบเศรษฐกิจของไทย หรือ 150 วันอันตราย ในตุลาคมนี้ หากรัฐบาลยังนิ่งนอนใจก็อาจทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่านี้
โดยเฉพาะ Travel Bubble หรือ "ระเบียงท่องเที่ยว" ซึ่งหมายถึงการจับคู่ด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศที่มีความมั่นใจในความปลอดภัยของโรค COVID-19 ที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ประเทศของเรามีรายได้หมุนเวียนในประเทศ

นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ยังประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน ที่พบว่ามีความผลกระทบ 100% แต่เมื่อมีการช่วยเหลือเงิน 5,000 บาท การช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอี รวมถึงการพักชำระหนี้ก็ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นบ้าน แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีกลุ่มเอสเอ็มอีที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบเงินกู้ได้ 1 ใน 3 ของจำนวนเอสเอ็มอี กว่า 16 ล้านราย
ทางรอดจากวิกฤตนี้ ดร.ศุภวุฒิ เสนอให้รัฐบาลเปิดทราเวลบับเบิล เพื่อได้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากถึง 18-20% หรือราว 2 แสน 5 หมื่นล้านบาทต่อเดือน โดยที่รัฐบาลจ่ายเงินกระตุ้นการท่องเที่ยวเพียงแค่ 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ยังเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอี จำนวน 2 ล้านล้านบาท โดยสร้างเงื่อนไขให้เม็ดเงินลงไปให้ถึงเอสเอ็มอีจริง ๆ และให้เอสเอ็มอีสามารถทำธุรกิจได้ 1 ปี สามารถคืนเงินต้นได้อีก 4 ปีข้างหน้า หากสามารถช่วยกลุ่มเอสเอ็มอีได้ ก็สามารถช่วยเหลือกลุ่มแรงงานได้อีก 15 ล้านคน

แนวคิดนี้ ดร.ศุภวุฒิ ดัดแปลงมากจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ให้กลุ่มเอสเอ็มอีได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐให้เพียงพอกับการจ้างงานระยะเวลา 24 สัปดาห์ แต่หากธุรกิจยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ รัฐบาลก็ยินดีให้เงินก้อนนั้นโดยเอสเอ็มอีไม่เป็นหนี้ แนวคิดนี้ยึดหลักการช่วยเหลือทั้งเอสเอ็มอี และกลุ่มแรงงานหรือพนักงานในองค์กร ที่พนักงานที่มีศักยภาพ มีทักษะที่คุ้นเคยอยู่แล้ว หากปิดบริษัทลง ทรัพยากรแรงงานจะกระจายออก หากมารวบรวมใหม่ก็อาจสามารถดำเนินการได้ช้า ยาก และยังทำให้ลดศักยภาพแรงงานลงไปด้วย
คำถามคือเงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท เอามาจากที่ไหน นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ยังเสนอว่าให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยเงินให้กับธนาคารในอัตราดอกเบี้ย 0.01% จากนั้นก็ให้ธนาคารปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอี 2% โดยให้รัฐบาลออกพันธบัตร 100 ปี ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อ

logoline