svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

'วิษณุ' สั่งสคร. หั่นสิทธิประโยชน์การบินไทย

05 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

'วิษณุ' สั่ง สคร.สรุปตัดสิทธิประโยชน์การบินไทยหลังพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนมิถุนายนนี้ ด้านการบินไทยเสนอขอความช่วยเหลือ 4 เรื่องหลัก

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบมจ.การบินไทย บอกว่า ได้ประชุมคณะกรรมการฯ นัดแรกแล้ว เพื่อหารือความคืบหน้าหลังการยื่นขอฟื้นฟูกิจการการบินไทย และศาลล้มละลายกลางนัดไต่สวนวันที่ 17 สิงหาคมนี้ ที่ประชุมได้ยกประเด็นสิทธิประโยชน์ของการบินไทยที่เคยได้รับในฐานะรัฐวิสาหกิจ และมอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สรุปเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะออกมาอย่างไรขึ้นกับ ครม.จะทบทวน เพราะที่ผ่านมาการบินไทยได้สิทธิไปตามมติ ครม. ซึ่งหากยังมีสิทธิประโยชน์อยู่จะไม่เป็นธรรมกับเอกชนรายอื่น โดยจะเสนอ ครม.ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพราะการบินไทยยังไม่ทำการบินจนกว่าจะสิ้นเดือนมิถุนายน ตามคำสั่งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ที่ห้ามเครื่องบินจากภายนอกเข้าประเทศไทย ในระหว่างนี้จึงไม่พูดถึงสล็อตการบินเพียงแต่ให้ทำรายละเอียดความเป็นรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์เสนอ ครม.
ขณะนี้ไม่บินกันอยู่แล้ว สล็อตต่างๆไม่มีอยู่แล้ว ที่สำคัญสล็อตไม่สำคัญเหมือนอดีต เมื่อก่อนให้การบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ พอเป็นสายการบินแห่งชาติจะได้สล็อตการบินที่ดีมา แต่เมื่อเปิดเสรีการบินแล้วมันก็ไม่ได้ยุ่งกับสล็อตและไม่ได้ยุ่งกับสายการบินแห่งชาติ เพราะอะไรที่เราบินได้คนอื่นเขาก็บินได้ เราเองที่ได้สล็อตมาแล้วไม่บินเอง
ที่ประชุมยังได้หารือกันถึงประเด็นสภาพคล่องของการบินไทย รายงานถึงประเด็นว่ามีเจ้าหนี้กี่คน ลูกหนี้กี่คน และช่วง 3 เดือนนี้ก่อนศาลนัดไต่สวนเขาจะต้องดำเนินการอะไรบ้าง โดยคณะกรรมการติดตามฯ จะประชุมร่วมกับคณะกรรมการการบินไทยสัปดาห์ละครั้ง

การบินไทยชงรัฐช่วย 4 ประเด็นหลัก
ขณะที่ประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร.ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการติดตามการดำเนินการฟื้นฟูบมจ.การบินไทย บอกว่า คณะกรรมการได้เชิญผู้บริหารและทีมที่ปรึกษากฎหมายและที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อให้คณะกรรมการฯได้รับทราบสถานะคดีปัจจุบันของการบินไทย และมีแนวทางใดที่ต้องการให้คณะกรรมการฯให้ความช่วยเหลือด้านใดบ้าง
เบื้องต้นมี 4 เรื่องหลักที่การบินไทยต้องการให้คณะกรรมการฯช่วยเหลือ คือ 1.การจัดไทม์สล็อตเที่ยวบินเพื่อเพิ่มศักยภาพความเป็นเน็ตเวิร์คแอร์ไลน์ ซึ่งคณะกรรมการฯก็มีตัวแทนของคมนาคมอยู่ 2 ท่านอยู่แล้ว ซึ่งจะพิจารณาในส่วนของคมนาคมว่าทำได้หรือไม่เพียงใด
2.เมื่อศาลสั่งรับคำร้องแล้ว จะมีสภาวะการคุ้มครองเฉพาะภายใต้อำนาจศาลไทย แต่จะมีปัญหาเรื่องเครื่องบินที่มีสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อ ถ้าเกิดว่า จะต้องบินไทยต่างประเทศ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้ จะทำให้เจ้าหนี้จะยึดเครื่องบินได้ ฉะนั้น จะต้องไปยื่น เพื่อให้ประเทศนั้นรับรู้ว่า ขณะนี้ มีการยื่นคำร้องฟื้นฟูแล้ว จึงอยากให้เราประสานให้เกิดความสะดวกในส่วนนี้
3.ขอให้ทางคณะกรรมการประสานคู่ค้าการบินไทย โดยเฉพาะคู่ค้ารัฐวิสาหกิจ เชน เอโอที และ ปตท. เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายในระหว่างฟื้นฟู และ 4.สัญญาต่างๆที่การบินไทยทำไว้กับภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งก่อนหน้าสถานะเขาเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนต้องแก้ไขสัญญาให้สอดคล้องกัน โดยดูว่าสิทธิจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร หรือบางสัญญาเป็นเรื่องรัฐวิสาหกิจทำกับรัฐวิสาหกิจเมื่อเปลี่ยนเป็นบริษัทจะเข้ากฎหมายร่วมลงทุนหรือไม่ ซึ่งหากมีกรณีดังกล่าวจะต้องแก้ไข เพื่อจะได้ไม่เป็นประเด็นโต้แย้งในศาล
คณะกรรมการฯชุดดังกล่าว จะไม่มีหน้าที่ไปก้าวล่วงการเจรจาใดๆของการบินไทย แต่ถ้ามีปัญหาอะไร ติดขัดข้อกฎหมาย จะเชิญมาสอบถามว่า ติดขัดอะไร และจะให้ภาครัฐใช้นโยบายลงไป ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะขณะนี้ การบินไทยถือเป็นบริษัทเอกชนแล้ว กรณีที่ต้องเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯนั้น เราจะหาจุดที่เชื่อมต่อ ไม่ต้องเริ่มใหม่ โดยให้ทีมกฎหมายการบินไทยไปดูว่า จะต้องดำเนินการในสัญญาใดๆหรือไม่
สำหรับสิทธิพิเศษที่ต้องหั่นทิ้งนั้น ก็ต้องไปดู ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระทรวงคมนาคม เช่น สิทธิการบิน ต้องไปดูรายละเอียดกฎหมายทำได้แค่ไหน หรือต้องเปลี่ยนแปลงไป แต่ต้องหาช่องทางที่ทำให้การบินไทยฟื้นฟูสำเร็จ อะไรที่ผ่อนผันได้ตามกฎหมาย ก็ควรทำ
บทบาทคณะกรรมการฯชุดนี้ จะเป็นโซ่ข้อกลางไม่ใช่ฝาชีคลอบ เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ การบินไทยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ฉะนั้น จะมีหน่วยงานหลักในการกำกับดุแล คือ กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม เมื่อพ้นสภาพ จะไม่มีหน่วยงานทำหน้าที่ นั่นคือปัญหาที่ตั้งคณะกรรมการเพื่อประสารหน่วยบงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการบินไทยเพื่อหนุนการฟื้นฟูให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

logoline