svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"ปชป."ชง6ข้อใช้เงินกู้อย่างคุ้มค่า

01 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ทีมเศรษฐกิจทันสมัยประชาธิปัตย์"เสนอ 6 แนวทางหลักใช้งบพ.ร.ก. 1.9 ล้านล้านบาท ให้คุ้มค่า พร้อมเน้นใช้เทคโนโลยีมาช่วยเสริม โดยเฉพาะวงเงิน 4 แสนล้านบาท ย้ำ ต้องโปร่งใส-มีธรรมาภิบาล-ตรวจสอบได้

(1 มิถุนายน 2563) ทีมเศรษฐกิจทันสมัยพรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย ร่วมกับนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคฯ แถลงข่าวข้อเสนอในการใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้ 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท
2.พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท และ 3.พ.ร.ก.รักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาท เพื่อนำมาเยียวยาผลกระทบโควิด-19 อย่างคุ้มค่า เน้นนำเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับใช้ ที่สำคัญต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้
โดยนางดรุณวรรณ กล่าวว่า ทีมเศรษฐกิจทันสมัย ได้เคยมีข้อเสนอต่อภาครัฐเรื่องการใช้งบบาซูก้า 2 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยแก้วิกฤตจากสถานการณ์โควิด-19 มาก่อนหน้านี้แล้ว และเป็นที่น่ายินดีว่าวันนี้ (1มิ.ย.) การพิจารณาร่าง พ.ร.ก.กู้เงินเยียวยาโควิด-19 ของรัฐบาล ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวงเงินตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน แต่ทีมเศรษฐกิจทันสมัย มีข้อเสนอหลัก 6 ประกา รเพื่อให้การใช้งบประมาณแผ่นดิน เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

"ปชป."ชง6ข้อใช้เงินกู้อย่างคุ้มค่า

ขณะเดียวกัน เป็นที่น่ายินดีว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยืนยันจะบริหารด้วยโปร่งใส ทำตามกฎหมาย โดยการใช้เงินกู้ดังกล่าว จะต้องเบิกจ่ายเช่นเดียวกับเงินงบประมาณแผ่นดินปกติ มีระบบรายงานความก้าวหน้า และมีเว็บไซต์แสดงความก้าวหน้า แสดงประโยชน์ผลลัพธ์แต่ละโครงการด้วย ซึ่งในส่วนของทีมเศรษฐกิจเห็นว่า นอกจากความคุ้มค่าในการใช้เงินงบประมาณแผ่นดินแล้ว มาตรการในการใช้เงินให้มีความโปร่งใส ก็ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
"พรรคประชาธิปัตย์มีจุดยืนเรื่องการต้านการทุจริตเพื่อให้การใช้เงินภายใต้ พ.ร.ก.ดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ต้องมีกลไกตรวจสอบการใช้เงิน ที่ไม่ใช่แค่ในส่วนของภาครัฐเท่านั้น แต่ยังต้องมีการดึงภาคประชาสังคมและภาคประชาชนชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย ตั้งแต่แรกเริ่มโครงการที่เสี่ยงในการทุจริตได้ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ TOR เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งบประมาณแผ่นดินทุกบาท ทุกสตางค์ จะเกิดความคุ้มค่าและสร้างประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน เช่น องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยในการตรวจสอบความโปร่งใส ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการทุจริตได้เช่นกัน"นางดรุณวรรณ กล่าว



ด้านนายปริญญ์ กล่าวว่า ข้อเสนอต่อภาครัฐในการนำงบประมาณภายใต้วงเงิน 4 แสนล้านบาท มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้1.การจ้างงาน โดยนำงบประมาณมาช่วยเหลือเรื่องการว่างงาน ตกงานเพราะแรงงานไร้ฝีมือ ตั้งแต่ก่อนโควิด-19เพราะโควิด-19 สร้างข้อจูงใจ มาตรการจูงใจ ให้เอกชนเก็บคนไว้ ไม่ปลดออก มีการจ้างงานเพิ่ม ซึ่งทีมเศรษฐกิจทันสมัยได้มีการจัดทำโครงการเรียนจบพบงาน เพื่อช่วยนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ และฝึกงานในองค์กรที่มีความพร้อมในการรองรับหลายแห่ง2.สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้แนวคิด เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด ให้มีระบบสหกรณ์หรือ CO-op ที่มีศักยภาพ มีแนวทางช่วยเหลือ SMEs Startup วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการในภาคเกษตร (Smart Farmer course)3.นำเศรษฐกิจทันสมัย สร้างสรรค์มาใช้ เช่น IP GI เพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตทั้งสินค้าและบริการ มีการลงทุนกับ Infrastructure ต่างๆ รองรับ Digital Transformation เช่นการทำ Big Data ในภาคเกษตร มีอาสาสมัครด้านดิจิตอลชุมชน รูปแบบคล้ายกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กระจายอยู่ทั่วประเทศ ช่วยแนะนำองค์ความรู้ในการใช้ดิจิตอลเพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
4.มีการปรับห่วงโซ่อุปทานโลกและต่างประเทศ ต้องรู้ว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนในปัจจุบันและจะไปต่ออย่างไร เพื่อให้แข่งขันได้ภายใต้กติกาโลก หลังโควิด-195.การจัดการทางการเงิน ให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกและเป็นธรรม พักดอก พักต้นจริงๆ มี Soft Loans ที่เข้าถึงได้สำหรับ SMEs และ6.ปรับโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม Social Infrastructure ต่าง ๆ ได้แก่สาธารณสุข พัฒนาประเทศให้รองรับกับสังคมสูงอายุ หรือ Aging Society และการเป็น Medical hub มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา เร่งทำ R&D กับทุกภาคส่วน

logoline