svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ท่องเที่ยว

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

30 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ใกล้วันออกพรรษาหลายท้องถิ่นจะมีงานประเพณีที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นงานแห่ปราสาทผึ้ง ของจังหวัดสกลนคร รับบัวหรือการโยนดอกบัวของจังหวัดสมุทรปรากร งานไหลเรือไฟ ของจังหวัดนครพนม การลากพระหรือชักพระ ทางภาคใต้ทางภาคกลางก็จะมีการตักบาตรเทโว วันนี้ผมมีงานบุญทางภาคเหนืออีกงานหนึ่งที่น่าจะไปลองสัมผัสในช่วงวันออกพรรษานี้ งานประเพณีออกหว่าของชาวอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

"ออกหว่า" หมายถึง การออกจากฤดูฝน เป็นงานประเพณีออกพรรษาตามความเชื่อของชาวอำเภอแม่สะเรียงโดยงานประเพณีออกหว่า ชาวอำเภอแม่สะเรียงที่อยู่ต่างถิ่นจะเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อร่วมทำบุญและร่วมงานประเพณีออกหว่ากับครอบครัว

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก


กิจกรรมของงานประเพณี ออกหว่า จะมีการจัดทำซุ้มราชวัติ ( ปราสาทรับเสด็จพระพุทธจ้า) ชาวไตมักเรียกว่า "กยองเข่งปุด" เพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า ชาวอำเภอแม่สะเรียง เชื่อว่าในวันออกพรรษา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันนี้เองที่พุทธศาสนิกชนจะตกแต่งหน้าบ้านของตนเอง เป็นซุ้มราชวัติประดับประดาด้วยโคมไฟ "โคมหูกระต่าย" ตกแต่ง ด้วยดอกไม้ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ช่อตุง ประทีบโคมไฟ ประซุ้มประตูบ้านเป็นรูปปราสาทอย่างสวยงาม เปรียบเหมือนการต้อนรับพระพุทธเจ้าที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมา ประชาชนจะจัดทำซุ้มราชวัตรก่อนงานออกหว่า อย่างน้อย 3-5 วัน โดยในแต่ละบ้านจะทำ ซุ้มราชวัติเล็กๆ บริเวณหน้าบ้านของตนตามแต่ ฐานะ แต่ในหนึ่งหมู่บ้าน หรือ ชุมชน จะมีศูนย์กลางซุ้มราชวัตรที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้น การจัดทำราชวัติ จะจัดกันล่วงหน้างาน อย่างน้อย สองวัน คือก่อน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี

การทำบุญตักบาตร เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาวอำเภอแม่สะเรียง ซึงเป็นการตักบาตรที่เช้าที่สุดในประเทศไทยโดยจะมีการตักบาตรพระสงฆ์ที่หน้าบ้านของตนเองในตอนเช้าตรู่ ตลอดทั้ง 3 วัน การตักบาตรอาหารสดในวันแรก เนื่องจากชาวอำเภอแม่สะเรียงเชื่อว่า การตักบาตรที่หน้าบ้านของตนเองจะเป็นสิริมงคลต่อบ้านและคนในครอบครัว ซึ่งจะแตกต่างจากงานประเพณีออกพรรษาในท้องถิ่นอื่น การตักบาตรทั้ง 3 วัน มีพระสงฆ์ออกบิณฑบาตจากวัดต่าง ๆ ไปตามเส้นทางปกติที่ทำเป็นกิจวัติ มิได้เป็นลักษณะของการเกณฑ์พระสงฆ์มาบิณฑบาต แต่จะเป็นลักษณะวิถีชีวิต และพุทธศาสนิกชนในอำเภอแม่สะเรียงจะตักบาตรบริเวณหน้าบ้านของตนเอง สอดรับกับซุ้มราชวัตรที่ได้จัดทำไว้ ก่อนและหลังจากเสร็จกิจกรรมตักบาตรแล้ว บรรดาหนุ่มสาว จะเดินเที่ยวชมราชวัตรที่ได้ประดับประดาไว้ เป็นโอกาสที่จะได้พบปะ และทำความรู้จักกันอีกด้วย

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

ยังมีกิจกรรมแห่เทียนเหง ในวันแรม 1-14 ค่ำเดือน 11 โดยประเพณีการแห่เทียนเหงที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นประเพณีหนึ่งที่สืบทอดมาจากไทยใหญ่ เทียนเหงเป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า เทียนพันเล่ม ไทยใหญ่เรียกว่า "หลู่เตนเหง" คำว่า หลู่ แปลว่า ถวายหรือทาน คำว่า "เตน" แปลว่า เทียน และคำว่า "เหง" แปลว่า หนึ่งพัน ชาวพื้นเมืองพูดกันว่า "ตานเตนเหง" หรือ แห่เทียนเหง ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ยังแสดงออกให้เห็นถึงการอนุรักษ์สืบสานประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ภายในขบวนก็จะจัดสิ่งของเครื่องไทยธรรม มีเทียนจำนวน 1 พันเล่ม โคมหูกระต่าย โคมกระบอก ตุงและตุงจ่องกรวยดอกไม้จำนวนอย่างละ 1 พัน ในวันคืนแห่เทียนเหง จะมีขบวนสตรีที่ แต่งกายแบบหญิงไทยใหญ่ นำเครื่องไทยธรรมดังกล่าวร่วมขบวน และในวันนี้สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ ต้นโคมหูกระต่าย ที่ทำเป็นชั้น ๆ เหมือนฉัตรหรือรูปปิรามิด จำนวน 1 ต้น และต้นเกี๊ยะที่นำเอาไม้สนสามใบมาจักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2.5 เมตร แล้วนำมามัดรวมกันเป็นต้นเกี๊ยะ เพื่อจุดบูชาพระพุทธเจ้าหลังจากเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ในขบวนก็จะมีการละเล่นที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชน มีการแต่งตัวที่สมมุติเป็นเทพบุตร เทพธิดา และสัตว์ป่าหิมพาน นานาชนิด เช่น การฟ้อนโต การฟ้อนกิ่งกะหล่า การฟ้อนก๋ำเบ้อคง การฟ้อนเขียดแลว การฟ้อนผีโขน
ประเพณีออกหว่าจัดขึ้นมาเพื่อร่วมเฉลิมฉลองการกลับจากสวรรค์ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งงานประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีแห่งเดียวในโลก

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

ประเพณีออกหว่า ของอำเภอแม่สะเรียง วัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลก

logoline