svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง

29 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจากกระแสข่าวร้อนๆ บนโลกทวิตเตอร์พร้อมใจติดป้าย "Fact-check" หรือ การแสดงข้อความแจ้งเตือน ให้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง ในกรณีข้อความสุดปังส์ของท่านประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ทวีตโจมตีไว้ว่า อาจมีการทุจริตขณะที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งผ่านทางไปรษณีย์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พร้อมกับขู่ทบทวนกฎหมายความเหมาะสมด้านการสื่อสาร

ทรัมป์ขู่ปิด Twitter หลังจากโดนตรวจสอบข้อเท็จจริงของทวิต (ตามนโยบายของทวิตเตอร์)
จากเหตุการณ์สนั่นโลกออนไลน์ดังกล่าวนี้เอง ทำให้เจ้าพ่อสื่ออย่าง "มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก" ซีอีโอ ของบริษัท เฟซบุ๊ก ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นร้อนขนาดนี้ โดยเขาชี้แจงว่า "โซเชียลมีเดียไม่ควรทำหน้าที่ตรวจสอบความจริงในสิ่งที่นักการเมืองโพสต์"

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง

.

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง



มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ได้กล่าวในประเด็นนี้ไว้ว่า "ผมไม่คิดว่าเฟซบุ๊กหรือแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ ควรทำหน้าที่ตัดสินความจริง การแสดงออกทางการเมืองเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากที่สุดในระบอบประชาธิปไตย และผู้คนควรได้เห็นสิ่งที่นักการเมืองโพสต์"
แม้ว่า "เฟซบุ๊ก" จะมีการผู้ตรวจสอบความจริง ที่คอยตรวจดูเนื้อหาต่าง ๆ บนเฟซบุ๊ก แต่เป้าหมายของผู้ตรวจสอบ คือ "การจับผิดเนื้อหาที่แย่มาก" ไม่ให้ปรากฏอยู่บนแพลตฟอร์ม และ ซัคเคอร์เบิร์ก ยังแจ้วอีกว่า "จุดประสงค์ของการตรวจสอบเนื้อหา ไม่ใช่การชี้ว่าอะไรคือความจริงหรือความเท็จ ทั้งนี้ เฟซบุ๊กยังประกาศเมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว ว่าอนุญาตให้นักการเมืองลงโฆษณาหาเสียงบนโซเชียลมีเดียได้ แม้จะมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็ตาม อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กจะไม่อนุญาตให้เผยแพร่เนื้อหา ที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง หรือโพสต์ข้อความเท็จที่นำไปสู่การกดทับผู้ลงคะแนนได้"

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง


โดยที่มาที่ไปของข่าวร้อนโลกในขณะนี้ เกิดจาก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้ประกาศที่ห้องทำงาน ณ ทำเนียบขาวว่า เขาจะ "ปิด" ทวิตเตอร์ ถ้าทำได้ ในขณะลงนามในคำสั่งบริหาร เพื่อตีความใหม่กฎหมายว่าด้วยการสื่อสารที่เหมาะสม (Communications Decency Act) ที่ให้ความคุ้มครองกับบรรดาแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ และยูทู้บ ในบางสถานการณ์ ซึ่ง ทาง ประธานธิบดีทรัมป์ แจ้งว่า ในการลงนามครั้งนี้ เพื่อที่จะจัดการกับแนวคิด "อคติต่อต้านอนุรักษ์นิยม" บนสื่อสังคมออนไลน์

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง

การเคลื่อนไหวของ ทรัมป์ เกิดขึ้นหลังจากโพสต์ของเขาถูกทวิตเตอร์ด้วยประโยคเด็ดที่ว่า "ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อความ" (fact-checking) ถึง 2 โพสต์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี่เอง เป็นกรณีที่เขาโจมตีการลงคะแนนเลือกตั้ง ผ่านทางไปรษณีย์ว่า อาจจะมีการทุจริตในการเลือกตั้ง

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง

ซึ่งทาง ทรัมป์ ได้ตอบโต้ว่า เขาจะวางกฎ หรือแม้กระทั่งสั่งปิดบรรดายักษ์ใหญ่แห่งซิลิคอน แวลลีย์ ถ้ายังแสดงความอคติกันอยู่ เขายังกล่าวหาสื่อ "ทวิตเตอร์" ด้วยว่า ทำตัวเป็น "บรรณาธิการที่ใช้ทรรศนะของตัวเองเป็นที่ตั้ง (editor with a point of view) กับ "แพล็ตฟอร์มที่ไม่เป็นกลาง" ด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อความที่เขาโพสต์และเมื่อทางบรรดานักข่าวได้ทวงถามเขาว่า เขามีความต้องการจะปิดทวิตเตอร์หรือไม่? เขาตอบอย่างชัดเจนว่า "ถ้ามีกฎหมาย แล้วการปิดทำได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย เขาก็จะทำ" ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวอย่างตรงไปตรงมา

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ย้ำชัดโซเชียลมีเดียไม่มีหน้าที่ "ตรวจสอบความจริง" นักการเมือง




ประเด็นนี้ จะเป็นอย่างไร คงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป สื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่ ผู้ใช้สื่ออย่างเราๆ ก็ต้องตามติดกระแสข่าวนี้กันต่อไป
ข้อมูล :CNBC

logoline