svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ระดมสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนม้าแข่ง หวั่นกาฬโรคแอฟริการะบาดทั่ว

29 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปศุสัตว์โคราช พร้อมทีมสัตวแพทย์จิตอาสาเร่งฉีดวัคซีนม้าแข่ง ในพื้นที่ตัวเมืองโคราชกว่า 400 ตัว หลังพบกาฬโรคแอฟริกาม้าระบาดถึงตัวเมือง ขณะที่ปากช่องฉีดวัคซีนม้าครบ 100% แล้ว

นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยทีมสัตวแพทย์จิตอาสา ลงพื้นที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าและเก็บตัวอย่างเลือดม้า ตามคอกม้าในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าหลังพบมีม้าตายด้วยกาฬโรคแอฟริกาในม้า 1 ตัว ในพื้นที่ ต.บ้านใหม่ อ.เมืองจ.นครราชสีมา เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


ระดมสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนม้าแข่ง หวั่นกาฬโรคแอฟริการะบาดทั่ว


ซึ่งก่อนหน้านั้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนมีม้าเป็นกาฬโรคแอฟริกาในม้า ในพื้นที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตายรวมกว่า400 ตัว ดังนั้นวันนี้ทางปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมาจึงได้แบ่งทีมสัตวแพทย์ปูพรมเก็บตัวอย่างเลือดในม้า-ฉีดวัคซีนป้องกันกาฬโรคแอฟริกาในม้า และฝังไมโครชิพม้าซึ่งในพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา มีจำนวนคอกม้าทั้งหมด 48 แห่งจำนวนม้า 485 ตัว เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค


ขณะที่ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ระบุว่าได้ทำการฉีดวัคซีนม้าในพื้นที่อำเภอปากช่องครบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้วล่าสุดไม่พบม้าตายเพิ่ม ขณะเดียวกันได้ให้คำแนะนำเจ้าของคอกม้าต้องกางมุ้งให้ม้าเพื่อป้องกัน แมลงกัด เช่น ตัวริ้น-ยุง และแมลงวันดูดเลือดซึ่งเป็นปัจจัยหลักทำให้ม้าตายจากโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าสำหรับวัคซีนจะทำให้ม้ามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค ซึ่งต้องใช้เวลา 21-28 วัน จึงทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในตัวม้าได้ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างการสอบสวนเชื่อมโยงการเกิดการแพร่ระบาดของโรคเนื่องจากไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อนเลย


ระดมสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนม้าแข่ง หวั่นกาฬโรคแอฟริการะบาดทั่ว


ทั้งนี้ หลังจากมีข่าวเรื่องการล้มตายของม้าเป็นจำนวนมากในพื้นที่อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา เมื่อราวเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมาซึ่งผลการตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการยืนยันว่าสถานการณดังกล่าวคือการแพร่ระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness ; AHS) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทยโดยคาดว่าน่าจะมีการแพร่ระบาดจาการนำเข้าม้าลายในประเทศแถบแอฟริกาใต้เข้ามาในประเทศไทยและมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะในการแพร่ระบาดอย่างหนัก หรือที่เรียกว่า ห่าลงในม้า

logoline