svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

จ่อยื่น หนังสือต่อ ปธ.สภา เพื่อถอดถอน "ธรรมนัส พรหมเผ่า"

26 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก้าวไกล จ่อยื่น หนังสือ ต่อปธ.สภา เพื่อถอดถอน รมช.เกษตรฯ เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม มีคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและเคยจำคุกในประเทศออสเตรเลีย เผย เจ้าตัวไม่สามารถนำหลักฐานที่พิสูจน์ว่าเป็นบุคคลบริสุทธ์มาชี้แจงต่อที่ประชุมสภารวมถึงชี้แจงต่อหน้าสื่อมวลชนได้

นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกพรรคก้าวไกล เปิดเผยว่าในวันพรุ่งนี้(27 พฤษภาคม 2563 ) เวลา 13:00 น. สส. พรรคก้าวไกลจะยื่นหนังสื่อต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ประธานสภาฯ ส่งหนังสือดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ พ้นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม มีคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและเคยจำคุกในประเทศออสเตรเลียและสืบเนื่องจากการการอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนปิดประชุมสภาในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน รายละเอียดหลักฐานที่ ตนเองและนายธีรัจชัย พันธุมาศ ได้อภิปรายเรื่องคุณสมบัติของร้อยเอกธรรมนัสไป ชัดเจนว่า ร้อยเอกธรรมนัส มีคุณสมบัติต้องห้ามและเจ้าตัวไม่สามารถนำหลักฐานที่พิสูจน์ว่าเป็นบุคคลบริสุทธ์มาชี้แจงต่อที่ประชุมสภารวมถึงชี้แจงต่อหน้าสื่อมวลชนได้แต่กลับเบี่ยงเบนประเด็น รวมถึงแจ้งความหมิ่นประมาทตนและนายธีรัจชัยที่ทำหน้าที่อภิปรายไม่ไว้วางใจอีกด้วยดังนั้นในวันพรุ่งนี้เปิดสมัยประชุม พรรคก้าวไกลจึงขอดำเนินการตามกลไกสภาฯ เพื่อถอดถอนบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมพ้นจากสมาชิกภาพผู้แทนราษฎร ส่วนกรณีที่ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า" กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 ขณะนั้น ใช้ชื่อว่า "นายมนัส โบพรหม" ได้ต้องคํา พิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออกหรือผู้ค้า ตามคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์แห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ เลขที่ 60449/94 และ 60434/64 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยศาลพิพากษาว่า ผู้ร้องแต่ละคน รับสารภาพว่ามีเจตนาเกี่ยวข้องกับการนําเข้าเฮโรอีนในปริมาณที่ถือว่าสําหรับเพื่อการค้า" โดยในการกระทําดังกล่าวศาลอุทธรณ์แห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ได้มีพิพากษาลงโทษ จําคุก "ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า" หรือ "นายมนัส โบพรหม" เป็นระยะเวลาหกปี โดยกําหนดโทษเป็น ระยะเวลาขั้นต่ำสี่ปี และระยะเวลาห้ามปล่อยตัวอีกสองปี และจากความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง หารือบุคคล ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ตามมาตรา 96 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย) ระบุไว้ว่า " บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คือ เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จําคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไปโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง ห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท" ซึ่งบุคคลใด เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จําคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีใน วันเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการถูกจําคุกในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ก็ต้องถือว่าเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามเจตนารมณ์แห่งมาตรา 96 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

โดยการกระทำของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดตามกฎหมายว่าด้วยด้วยยา เสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า นั้น เป็นลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 98 (10) จึงส่งผลให้เป็นผู้มีลักษณะ ต้องห้ามในการดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ตามมาตรา 170 (4) ประกอบมาตรา 160 (6) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ส่งผลให้ ความเป็น รัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 โดยมาตรา 160 (6) บัญญัติว่า "รัฐมนตรีต้อง ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98"ในส่วนประเด็นที่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ชี้แจงเป็นหนังสือขอชี้แจงข้อเท็จจริงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานคณะกรรมาธิการปปช. ว่า การถูกออกจากราชการของตนได้รับการล้างมลทินแล้วตาม พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 คุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีของตนจึงไม่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ" นั้น ย่อมไม่เป็นเหตุให้การที่เคยต้องคําพิพากษาด้วยฐานความผิดดังกล่าวถูกลบล้างไป ข้ออ้างดังกล่าวฟังไม่ขึ้น "นายณัฐชา กล่าว "

ทั้งนี้ ตนเเละสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ขอให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้โปรดส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกสภาพของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ เเละขอให้เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมลงรายชื่อ เพื่อกู้ภาพลักษณ์ ศักดิ์ศรีของสภาผู้แทนราษฎรสร้างความเชื่อถือของรัฐสภา เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชน

logoline