svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?

25 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. ย้ำอีกรอบ อย่าหลงเชื่อลิงก์ปลอม หลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ไทยชนะ ยัน เป็นเว็บไซต์ ไม่ใช่ตัวแอปฯ ของจริงต้องลงท้ายด้วย .com เท่านั้น มิเช่นนั้นอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

จากกรณีที่วานนี้ (24 พ.ค.63) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ SMS ให้โหลดแอปพลิเคชั่น "ไทยชนะ" ให้สังเกตเว็บจริงจะใช้ .com เท่านั้น

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?


ล่าสุด วันนี้ (25 พ.ค.63) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. ย้ำถึงกรณีดังกล่าวว่า จากกรณีชายวัย 72 ปีไปใช้บริการร้านตัดผมย่านประชาชื่น กทม. หากมีแพลตฟอร์มไทยชนะ จะตรวจสอบได้่ง่ายขึ้น โดยยอดร้านที่ลงทะเบียนไทยชนะ มีกว่า 106,235 ราย โดยแนะจุดสังเกตระหว่างเว็บไซต์ "ไทยชนะ" ของจริงกับของปลอม

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?

เว็บไซต์จริงwww.ไทยชนะ.comwww.thaichana.comเว็บไซต์ปลอมthaichana.prothai-chana.asiathaichana.asia

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?

นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลมาตรการการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้กล่าวถึงการใช้แพลตฟอร์ม ไทยชนะ ว่า เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานเกือบ 3 ล้านราย โดยจำนวนกว่า 11 ล้านครั้ง นับเป็นสิ่งที่น่าพอใจในการปกป้องตนเองและปกป้องสังคม รวมทั้งให้การตอบรับแพลตฟอร์มนี้เป็นอย่างดี และขอบคุณร้านค้าและกิจการต่างๆที่ให้การตอบรับ สแกนคิวอาร์โค้ด โดยแนะนำว่าให้ติดกระจายสักนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิด Physicle Distancing แต่มีผู้มาเฝ้าทั้งทางเข้าเช็กอิน และเช็กเอาท์ออกจากร้าน ก็ขอบคุณที่ทำความเข้าใจกับระบบดังกล่าวเป็นอย่างดี แต่อาจต่างกันเล็กน้อย

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?

ส่วนคิวอาร์โค้ดที่ร้านค้าและกิจการได้ เตือนกิจการที่ยังไม่ผ่าน ประมาณ 2 หมื่นร้าน คิวอาร์โค้ดนี้จะใช้ได้ถึงวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ เพราะฉะนั้นต้องเข้าไปดูสถานะของร้านจะขึ้นข้อความว่า "ข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง ทำให้การลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ กรุณาแก้ไขข้อมูลผู้ติดต่อที่เมนูแก้ไขข้อมูล (หากไม่แก้ไข QR จะไม่สามารถใช้งานต่อได้)" ย้ำว่าไม่มีการส่ง SMS ให้เข้าไปดูในอีเมลเพื่อแก้ไขข้อมูลเลขบัตรประชาชนให้ถูกต้อง ถ้าแก้ไขแล้วสถานะจะเปลี่ยนเป็น "ลงทะเบียนสำเร็จ" และอีกหนึ่งช่องทางติดต่อโทรหาสายด่วน 1119

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?

นอกจากนี้นพ.พลวรรธน์ ยังกล่าวถึงเว็บไซต์ ไทยชนะ ปลอมด้วยว่า ให้ประชาชนค้นหาเว็บไซต์ ไทยชนะ ผ่านทางแถบค้นหาเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าไปสู่เว็บปลอม ซึ่งอาจเสี่ยงต่อมิจฉาชีพ แต่หากเข้าเว็บปลอมแล้วให้กดปิดไปโดยให้สังเกตว่าเว็บจริงจะขึ้น 3 แถบ แต่หากเว็บปลอมจะมีแถบเดียวที่ให้กดดาวน์โหลด ซึ่งเว็บปลอมมีการส่ง SMS จะดำเนินการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด ยืนยันว่าแพลตฟอร์มไทยชนะ ไม่มีการส่ง SMS ใดๆทั้งสิ้น

ศบค. แนะวิธีสังเกต "ไทยชนะ" จริงหรือปลอม ดูอย่างไร?


นพ.พลวรรธน์กล่าวถึงกรณีที่เช็กอินแล้วจะได้รับข้อความขยะด้วยว่า เป็นเฉพาะโทรศัพท์ระบบไอโอเอสเท่านั้น ซึ่งเว็บไซต์โฆษณาประเภทนี้ระบาดมาตั้งแต่ก่อนมีแพลตฟอร์มแล้ว และได้ดำเนินการแล้ว และรู้แล้วว่าอยู่แถวไหน อย่างไร ถ้าใครที่กำลังทำอยู่ขอให้หยุด
"อย่างไรก็ตาม คิดระบบมาหลายรูปแบบอาจจะลำบากในช่วงแรก แต่พอทำแล้วจะเกิดความคุ้นชิน เหมือนกับการสวมหน้ากากอนามัย ขอรบกวนทำไปเรื่อยๆ ถ้าทำไปเรื่อยๆ จะชินไปกับมันเอง ท่านบอกว่าถือของยุ่งยาก ทีมงานกำลังพัฒนาระบบ เพื่อให้ท่านใช้อย่างราบรื่น ย้ำว่าเอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้ เพื่อคุ้มครองโรคเท่านั้น" รองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลมาตรการการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อโควิด-19 กล่าว

logoline