svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ปิยบุตร ชำแหละ มรดกอาชญากรรมรัฐ!!!

19 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปิยบุตร ชำแหละ ผลพวงอาชญากรรมรัฐ พฤษภาคม 2535 ลั่น เป็นมรดกกลับมาทำลายระบอบประชาธิปไตย ชี้ วัฒนธรรมลอยนวลคนผิดผ่านกฏหมายนิรโทษกรรม ทำให้ผู้มีเอี่ยวรัฐประหาร-ล้อมปราบประชาชนไม่ต้องรับโทษ

แกนนำคณะก้าวหน้า นายปิยบุตร แสงกนกกุล ถอดบทเรียนเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ได้ทิ้งมรดกอะไรไว้สังคมไทยบ้าง??? 1.นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้ง2.สามารถนำเอากองทัพออกจากการเมืองได้3.การปฏิรูปการเมือง4.ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นผลสืบเนื่องของเหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 ที่ไม่ได้ทำเพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยมีประชาธิปไตยที่ลงหลักปักฐาน อีกทั้งยังกลับมาทำลายระบอบประชาธิปไตยในภายหลังคือ

ประการแรก ยังไม่ได้มีการปฏิรูปกองทัพ กล่าวคือ หน่วยงานอย่าง กอ.รมน.ที่ได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายการเมืองของกองทัพไทย ยังคงเป็นรัฐซ้อนรัฐ และถูกกล่าวหาว่าเคยมีส่วนรู้เห็นการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้การไม่ได้ปฏิรูปกองทัพให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ทำให้การที่กองทัพออกจากการเมืองเป็นแค่การถอยล่นเพื่อรอเวลา เป็นยักษ์ที่พร้อมจะตื่นจากการหลับไหลออกมาอาละวาดให้ระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยปั่นป่วนและพังลงได้ โดยรากเหง้าที่สำคัญที่ทำให้กองทัพมีอานุภาพคือการมีขนาดกองทัพที่ใหญ่เกินไป มีนายพลจำนวนมาก และยังมีการเกณฑ์ทหาร นอกจากทำให้กองทัพมีขนาดที่ใหญ่และนำทหารไปรับใช้ตามบ้านพักนายทหารสัญญาบัตรแล้ว ยังทำให้ชายไทยวัย 20 ปีบริบูรณ์สูญเสียโอกาสในช่วงวัยที่มีพลังในการก่อร่างสร้างตัวในชีวิตไปเป็นระยะเวลานานถึง 2 ปี อีกสาเหตุที่สำคัญคือระบบการศึกษาของกองทัพ เช่นการที่นักเรียนเตรียมทหาร หรือโรงเรียนของเหล่าทัพต่างๆ มาเรียนรวมกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้เกิดการกล่อมเกลาอุดมการณ์ความคิด การนิยาม "ความมั่นคง" ที่ไม่เป็นคุณต่อระบอบประชาธิปไตย และการปลูกฝังวัฒนธรรมพวกพ้อง รุ่นพี่ เพื่อน รุ่นน้อง ส่งผลทำให้มีความเป็นกลุ่มเป็นก้อน เมื่อเติบโตทางราชการ ทำให้เครือข่ายสังคมเหล่านี้มีส่วนในการร่วมมือเป็นพลังการรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือน

ประการสุดท้าย วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด (Impunity) กล่าวคือ วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้มีอำนาจจำนวนมากที่มีส่วนในการทำผิดทั้งการรัฐประหาร หรือการล้อมปราบประชาชน ไม่ต้องรับโทษ โดยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม และการที่ประชาชนถูกทำให้เชื่อว่า ให้ลืมๆเหตุการณ์ในอดีตไป ให้เลิกแล้วต่อกันคือการส่งเสริมให้วัฒธรรมลอยนวลพ้นผิดยังอยู่ได้และทรงอานุภาพในสังคมไทย ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากการนิรโทษกรรมหลังการรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง คือรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งการรัฐประหารเป็นข้อหาร้ายแรงการเป็นกบฎเป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย ล้มรัฐธรรมนูญ แต่การนิรโทษกรรม ทำให้คณะรัฐประหารลอยนวลพ้นผิด ไม่ต้องรับโทษ นอกจากนี้การสลายการชุมนุม โดยทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องเสียชีวิต เช่น ปี 2552 และ 2553 ไม่ต้องรับโทษใดๆ.#ตามหาความจริง #3553พฤษภาความจริงต้องปรากฏ

logoline