svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ณัฏฐพล"ยันใช้ฟรีทีวีเป็นสื่อหลักการสอนช่วงโควิด-19

18 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ"ย้ำใช้ระบบฟรีทีวี 17 ช่อง เป็นสื่อหลักเรียนและสอนท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ยอมรับยังติดขัดเรื่องความพร้อมในส่วนของอุปกรณ์ ย้ำเรียนออนไลน์ใช้กับเด็กโตเท่านั้น

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียนโรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง หลังกระทรวงศึกษาฯ และมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการเรียนการสอนผ่านโทรทัศน์ ออกอากาศทางช่องฟรีทีวี จำนวน 17 ช่อง
โดยนายณัฏฐพล กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกในการเตรียมความพร้อมวันที่ 1 ก.ค. โดยยืนยันมาตรการที่ 1 คือ ทำการเรียนการสอนในโรงเรียน แต่หากมีข้อจำกัดหรือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ต้องเรียนที่บ้าน ดังนั้น การใช้สื่อโทรทัศน์ จะเป็นมาตรการที่ 2 ส่วนความเข้าใจผิดในเรื่องการใช้ระบบออนไลน์เพื่อทำการสอนนั้น ยืนยันว่าไม่ใช่ ยังคงใช้โทรทัศน์เป็นหลัก
ทั้งนี้ ระบบออนไลน์จะใช้เฉพาะเด็กโต ซึ่งมีอุปกรณ์และความสามารถเข้าสู่โปรแกรมต่างๆ โดยเป็นเด็กมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับชั้น 4,5,6 ที่ต้องมีการเรียนการสอน 2 ทาง ส่วนเด็ก ม. 4,5,6 กลุ่มไหน ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอน 2 ทางได้ ก็ต้องหาทางออกให้ ซึ่งโรงเรียนก็เป็นทางอีกทางออกหนึ่ง หรือจัดให้เป็นกลุ่มเล็กๆมาโรงเรียนก็ได้

"ณัฏฐพล"ยันใช้ฟรีทีวีเป็นสื่อหลักการสอนช่วงโควิด-19

"วันนี้เป็นวันเบื้องต้น นับจากนี้ไปอีก 40 กว่าวัน เรามีปัญหาอะไร มีความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมด้านต่างๆ เราก็ทำ เพื่อให้เด็กทุกคนมีความพร้อมในการเรียนการสอน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันที่ 1 ก.ค.นี้"รมว.ศึกษาฯ กล่าว
นายณัฏฐพล กล่าวย้ำว่า การเรียนออนไลน์วันนี้ (18พ.ค.) เป็นเพียงการส่งสัญญาณ ซึ่งยอมรับว่าพบปัญหาอยู่บ้าง ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความพร้อม หรือตรงกับการปล่อยสัญญาณออกมา บางทีแค่ปรับจูนช่อง แต่ต้องยอมรับผู้ปกครองอาจไม่มีความคล่องตัวตรงนั้น โดยทางกระทรวงฯได้ดึงนักเรียนอาชีวะเข้ามาช่วยเหลือ โดยเฉพาะเด็กเล็ก
อย่างไรก็ตาม วันนี้พบว่าการปล่อยสัญญาณทางโทรทัศน์ อาจไม่สามารถสร้างสมรรถนะได้อย่างเต็มที่ อาจต้องดูการเรียนการสอนที่โรงเรียน แต่ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งสัดส่วนอาจต้องลดลงจากตัวเลข 1 ต่อ 20 เป็น 1 ต่อ 7 หรือ 1 ต่อ 8 และจำเป็นต้องมีบุคลากรเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งรัฐบาลก็ได้เตรียมงบประมาณไว้ เพื่อดูปัญหาต่างๆและแก้ไปทีละจุด โดยยังมีเวลาแก้ไขเพื่อเตรียมความพร้อมวันที่ 1 ก.ค.นี้

logoline