svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เกมลึก เบื้องหลัง ซาอุฯ สหรัฐฯ รัสเซีย ไม่ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมัน

12 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากสถานการณ์ตลาดน้ำมันโลก ที่กำลังระอุอยู่ขณะนี้ ส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ ระหว่างสหรัฐฯ กับ ซาอุดิอาระเบีย จนถึงขนาดที่ทำให้สหรัฐฯ สั่งถอนทหาร และ อุปกรณ์ป้องกันขีปนาวุธ รอบโรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอารามโก พ้นประเทศกันไปแล้ว

สาเหตุหลักมาจาก เมื่อช่วงเดือนมีนาคม การประชุมระหว่าง องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ โอเปก กับประเทศที่ไม่เป็นสมาชิกโอเปก หรือ กลุ่มนอกโอเปก สมาชิกกลุ่มโอเปกลงความเห็นว่าจะลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มราว 1-1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากรัสเซียยอมตกลงลดการผลิตในครั้งนี้ด้วย และยังเสนอให้คงข้อตกลงลดกำลังการผลิตเดิม 2.1 ล้านบาร์เรลไปจนถึงปลายปีนี้ แต่ในการประชุมครั้งนี้ รัสเซีย ไม่ยอมลดการผลิตตามที่กลุ่มโอเปกขอ
หลังจากที่รัสเซียไม่ยอมลดกำลังการผลิตตามกลุ่ม ซาอุดีอาระเบีย ผู้ผลิตน้ำมันอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ จากเดิมที่เป็นตัวตั้งตัวตีชงเรื่องให้กลุ่มโอเปก และนอกโอเปกลดกำลังการผลิตลงเพื่อเพิ่มราคาน้ำมันในตลาดกลับประกาศลดราคาขายน้ำมันดิบลงราว 6-8 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับลูกค้าในเอเชีย อเมริกา และยุโรป พร้อมกันนั้นยังประกาศเพิ่มกำลังการผลิตที่คาดว่าจะขึ้นไปสูงกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมคงกำลังการผลิตอยู่ที่ 9.7 ล้านบาร์เรล ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ซาอุดีอาระเบีย ยังเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศไปได้สูงสุดอยุ่ที่ 12.5 ล้านบาร์เรล

เกมลึก เบื้องหลัง ซาอุฯ สหรัฐฯ รัสเซีย ไม่ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมัน


การที่ซาอุดีอาระเบียหั่นราคาขาย การที่ซาอุดีอาระเบียหั่นราคาขาย และประกาศเพิ่มกำลังการผลิตนั้นเท่ากับเป็นการประกาศสงครามราคาน้ำมันกับรัสเซีย และที่สำคัญคือ เป็นการเปิดสงครามราคากับสหรัฐฯ

เรื่องของราคาน้ำมันโลก ถือเป็นเกมการเมืองระหว่างประเทศที่มีเบื้องลึก เบื้องหลัง ระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งในและนอกโอเปก โดยเฉพาะชาติในตะวันออกกลางที่มีปัญหาความขัดแย้งกันมายาวนาน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ และยังคงมีรัสเซียอีกชาติ ที่ก็็คอยหนุนหลังอยู่แบบลับ ๆ สร้างสงครามตัวแทนในภูมิภาคอยู่ตลอดเวลา

เกมลึก เบื้องหลัง ซาอุฯ สหรัฐฯ รัสเซีย ไม่ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมัน

สำหรับอิทธิพลในตะวันออกกลางนั้น ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ และรัสเซีย ต่างก็เข้ามาแผ่ขยายอิทธิพลอย่างต่อเนื่อง ก็เพื่อจะตักตวงผลประโยชน์ ในภูมิภาค นั่นก็คือน้ำมันที่มีอยู่อย่างมากมหาศาล โดยทั้งสองชาติเอง ก็จะเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามกันเสมอ เช่นสหรัฐฯ สนับสนุนซาอุดิอาระเบีย ทางด้านรัสเซียก็จะเข้าไปสนับสนุนอิหร่าน เป็นต้น
ดังนั้นความสัมพันธ์ของซาอุดิอาระเบีย กับ สหรัฐฯ ก็มีความสัมพันธ์มายาวนาน ซาอุฯ ถูกใช้เป็นฐานในการปฎิบัติการทางทหารในภูมิภาคของสหรัฐฯ อย่างเช่นสมัยที่สหรัฐฯ บุกโจมตีอิรักก็ใช้ฐานปฎิบัติการจากซาอุฯ เป็นสำคัญ

เกมลึก เบื้องหลัง ซาอุฯ สหรัฐฯ รัสเซีย ไม่ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมัน


จนกระทั่งช่วงหลังที่อำนาจการบริหารงาน จะตกอยู่ภายใต้มกุฏราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ก็เริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่น เดือนพฤษภาคม 2560 ทางด้าน พระองค์ ได้เสด็จเยือนกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เพื่อทรงนำเสนอนโยบาย "วิสัยทัศน์ 2030" เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียจากการพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันดิบเพียงอย่างเดียว

หลังจากนั้น วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ทางด้าน สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน ของซาอุดิอาระเบีย ได้เสด็จเยือนรัสเซีย เป็นเวลา 4 วัน ทรงพบกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ที่ทำเนียบเครมลิน ซึ่งพระองค์เป็นกษัตริย์ ซาอุฯ พระองค์แรก ที่เสด็จเยือนรัสเซีย
การเสด็จเยือน ครั้งแรก นั้น กษัตริย์ซัลมาน ยังได้ เจรจาขอซื้อยุทโธปกรณ์ จากรัสเซีย โดยเฉพาะ ระบบป้องกันขีปนาวุธ S-400 มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 100,000 ล้านบาท

เกมลึก เบื้องหลัง ซาอุฯ สหรัฐฯ รัสเซีย ไม่ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมัน


----------------------------
ความเห็นส่วนตัวผู้เขียน (สถาพร เกื้อสกุล)
แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีมุมมองต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางอยู่คนละขั้วแต่ แน่นอนว่า การเสด็จเยือนรัสเซียของสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน จะนำไปสู่การเกิดความเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญ ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และ การถอนกำลังทหาร และการเคลื่อนย้าย ระบบป้องกันขีปนาวุธแพทริออต ออกจากซาอุดิอาระเบีย ของสหรัฐฯ อาจจะมีอะไรมากกว่า การขนย้ายออกไป เพื่อซ่อมบำรุง อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ หรือเป็นเพราะ รัสเซีย กำลังจะส่งมอบระบบป้องกันขีปนาวุธ S-400 มาติดตั้งในซาอุดิอาระเบียหรือไม่
ทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องถอนระบบของตัวเอง ออก เรื่องราวในตะวันออกกลาง น่าติดตาม .... ห้ามกระพริบตา
----------------------

logoline